หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-RDV-7-099ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดแหล่งข้อมูล และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)


1 1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถค้นคว้าข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ และสามารถกำหนดแหล่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามงานวิจัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักการตลาด นักบริหารทั่วไป

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00121 แสวงหาความรู้/ข้อมูลได้ 1.สืบค้น/ค้นคว้าข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ 00121.01 137177
00121 แสวงหาความรู้/ข้อมูลได้ 2. สืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 00121.02 137178
00121 แสวงหาความรู้/ข้อมูลได้ 3.คัดกรอง/เลือกสรรและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายข้อมูลอย่างถูกต้องและเหมาะสม 00121.03 137179
00122 กำหนดแหล่งข้อมูลได้ถูกตามงานวิจัย 1.จำแนกข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิออกจากกันได้ 00122.01 137180
00122 กำหนดแหล่งข้อมูลได้ถูกตามงานวิจัย 2. เข้าใจเหตุผลในการกำหนดแหล่งข้อมูล 00122.02 137181

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ




- ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการเข้าใจต่อกลุ่มบุคคลและกลุ่มเป้าหมาย




- ทักษะในการกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไข




- ทักษะการสร้างความคิดและแนวคิด




- ทักษะการสร้างแบบจำลอง (Prototype)




- ทักษะการทดสอบแบบจำลอง





 

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล




- ความรู้พื้นฐาน/ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพที่จะดำเนินการวิจัย




- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย




- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- แฟ้มสะสมผลงาน




- ใบรับรองการผ่านเข้าร่วมงานวิจัย




- ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ หรือเอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ




- รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน




- เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม




- หรือเอกสารรับรองอื่นๆ ที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้




3. คำแนะนำในการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก




- การประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์





15. ขอบเขต (Range Statement)


แหล่งที่มาของข้อมูล ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ บุคคล เช่น ผู้ให้สัมภาษณ์ ผู้กรอกแบบสอบถาม บุคคลที่ถูกสังเกต เอกสารทุกประเภท และข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน รวมไปถึง ภาพถ่าย แผนที่ แผนภูมิ หรือแม้แต่วัตถุและสิ่งของก็ถือเป็นแหล่งข้อมูลได้ทั้งสิ้น โดยทั่วไปสามารถจัดประเภทข้อมูลตามแหล่งที่มาได้ 2 ประเภท คือ
  ข้อมูลปฐมภูมิ (
Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัยในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะการเลือกใช้ข้อมูลแบบปฐมภูมิ ผู้วิจัยจะสามารถเลือกเก็บข้อมูลได้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์ แต่มีข้อเสียตรงที่สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และอาจมีคุณภาพไม่ดีพอ หากเกิดความผิดพลาดในการเก็บข้อมูลภาคสนาม

  ข้อมูลทุติยภูมิ (
Secondary Data) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่มีผู้เก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่นักวิจัยนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาใหม่ เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร สถิติจากหน่วยงาน และเอกสารทุกประเภท ช่วยให้ผู้วิจัยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียเวลากับการเก็บข้อมูลใหม่ และสามารถศึกษาย้อนหลังได้ ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่ศึกษา แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องความครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ผู้วิจัยศึกษา และปัญหาเรื่องความ น่าเชื่อถือของข้อมูล ก่อนจะนำไปใช้จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นในบางส่วนที่ไม่สมบูรณ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และวิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ