หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำผลงานวิจัยในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการเผยแพร่

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-RDV-7-046ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำผลงานวิจัยในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการเผยแพร่

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08)


1 1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเขียนผลงานวิจัยตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยจัดทำผลงานวิจัยให้อยู่ในรูปแบบที่ได้มาตรฐานสากลและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย อภิปรายผลการวิจัยกับแนวคิดทฤษฎีหรือผลงานวิจัยในอดีต และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาบทความวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยพัฒนารายงานวิจัยให้อยู่ในรูปแบบบทความวิชาการได้ และเขียนบทความวิชาการให้อยู่ในรูปแบบที่ได้มาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00411 เขียนผลงานวิจัยตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ 1.จัดทำผลงานวิจัยให้อยู่ในรูปแบบที่ได้มาตรฐานสากลและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย 00411.01 137151
00411 เขียนผลงานวิจัยตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ 2. อภิปรายผลการวิจัยกับแนวคิดทฤษฎีหรือผลงานวิจัยในอดีต 00411.02 137152
00411 เขียนผลงานวิจัยตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ 3. นำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ 00411.03 137153
00412 พัฒนาบทความวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ 1.พัฒนารายงานวิจัยให้อยู่ในรูปแบบบทความวิชาการได้ 00412.01 137154
00412 พัฒนาบทความวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ 2. เขียนบทความวิชาการให้อยู่ในรูปแบบที่ได้มาตรฐาน 00412.02 137155

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ




- ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา โดยเฉพาะการเขียน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการจัดทำรายงานวิจัย




- ทักษะในการนำเสนอผลการวิจัย




- ทักษะในการนำเสนอข้อเสนอและจากการวิจัย




- ทักษะในการพัฒนารายงานวิจัยเป็นบทความวิชาการ




- ทักษะในการเขียนบทความวิชาการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงานวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอผลการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอข้อเสนอแนะจากการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนารายงานวิจัยเป็นบทความวิชาการ



- ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทความวิชาการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน




- เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ




- แฟ้มสะสมผลงาน




- รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย




3. คำแนะนำในการประเมิน




-เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก




- การประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


การเขียนรายงานวิจัยนั้นเป็นการเขียนอย่างมีแบบแผนที่เป็นสากลนิยม ซึ่งผู้เขียนจะต้องใช้เวลาศึกษาให้เข้าใจเป็นอย่างดี และทำได้ถูกต้อง มีรายละเอียดปลีกย่อยที่เป็นกฎเกณฑ์ของการทำวิจัย เช่น การกำหนดบท การย่อหน้า การเว้นขอบ การเขียนตาราง การอ้างอิง การเขียนเชิงอรรถ และการใช้การอ้างอิงอย่างมีเหตุผล และเป็นระบบ มีการวิจารณ์ วิเคราะห์ เสนอแนะ และนำเสนอผลการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าจะเขียนรายงานและนำเสนอผลในรูปแบบใดที่จะทำให้งานวิจัยนั้นน่าสนใจมากที่สุด และทำให้ผู้อื่นหรือผู้สนใจอ่านเข้าใจได้ง่าย ถึงแม้ว่ารูปแบบและโครงสร้างของการเขียนในแต่ละบุคคล และแต่ละสถาบันจะแตกต่างกันตามความนิยม แต่ส่วนใหญ่แล้วการเขียนรายงานวิจัยจะต้องมีมาตรฐานร่วมกันอยู่บ้าง ซึ่งผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่าจะเขียนรายงานและนำเสนอผลในรูปแบบใดที่จะทำให้งานวิจัยนั้นน่าสนใจมากที่สุด และทำให้ผู้อื่น หรือผู้สนใจอ่านเข้าใจได้ง่าย
 
การเขียนรายงานให้มีประสิทธิภาพนั้น มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนแรก คือ การเตรียมเนื้อหาของรายงาน ในการเขียนรายงานจะต้องมีเนื้อหาครบถ้วนตามเนื้อหาของการวิจัย ซึ่งจะต้องครอบคลุม
1) ปัญหาของงานวิจัยที่ศึกษา
2) กระบวนการวิจัย การออกแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล
3) ผลที่ได้รับ
4) ความหมายของการวิจัย




ขั้นตอนที่สอง คือการกำหนดประเภทของผู้อ่าน ในขั้นตอนนี้จะช่วยให้ผู้เขียนรายงานกำหนดแนวทางของการใช้สื่อได้ และจะทราบว่าจะต้องใช้คำและภาษาอย่างไร ซึ่งผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
  1) การเสนอผลการวิจัยควรมีข้อมูลต่างๆ อย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้อ่านได้หาข้อสรุปและเลือกนำไปใช้ประโยชน์
  2) ให้คำที่สามารถเข้าใจง่าย

  ขั้นตอนที่สาม ได้แก่ การวางเค้าโครงของรายงาน ซึ่งการวางโครงเรื่องนั้นจะช่วยให้
  1) ตอบปัญหาของงานวิจัยได้ครบถ้วน
  2) ไม่ออกนอกเรื่อง และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
  3) ช่วยทำให้งานเป็นระบบ สอดคล้อง และต่อเนื่อง
  4) ช่วยทำให้การเขียนรายงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น
5) ทำให้สามารถกำหนดความยาวของงานได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และวิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ