หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สรรหา วิเคราะห์ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในวงการวิชาการ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-RDV-6-043ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สรรหา วิเคราะห์ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในวงการวิชาการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08) 


1 1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเข้าใจโจทย์วิจัยอย่างถ่องแท้โดยเข้าใจวิธีการและกระบวนการในการดำเนินการวิจัยและเชื่อมโยงกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์หรือผู้มีส่วนได้เสียจากงานวิจัย รวมถึงสามารถระบุผู้ได้รับประโยชน์ตรงกับงานวิจัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักการตลาด นักบริหารทั่วไป

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01131 เข้าใจโจทย์วิจัยอย่างถ่องแท้ 1.ศึกษาโจทย์วิจัยและวิธีในการดำเนินการวิจัยอย่างถ่องแท้ 01131.01 137259
01131 เข้าใจโจทย์วิจัยอย่างถ่องแท้ 2. เชื่อมโยงกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์กับงานวิจัยตามกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกับผลงานวิจัย 01131.02 137260
01132 ระบุผู้ได้รับประโยชน์ตรงกับงานวิจัยได้ถูกต้อง เหมาะสม 1. วิเคราะห์สังเคราะห์ผู้ได้รับผลประโยชน์จากงานวิจัยให้ตรงกับโจทย์งานวิจัย 01132.01 137261
01132 ระบุผู้ได้รับประโยชน์ตรงกับงานวิจัยได้ถูกต้อง เหมาะสม 2. ระบุผู้ได้รับประโยชน์จากงานวิจัยให้ตรงกับโจทย์วิจัยและครอบคลุมทั้งหมด 01132.02 137262

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ




- ความรู้เกี่ยวกับบริบทด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง




- ทักษะการคิดเชิงสังเคราะห์




- ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ความต้องการด้านทักษะ




- ทักษะในการอภิปรายผลการวิจัย




- ทักษะในการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้ประโยชน์




- ทักษะในการนำผลการวิจัยไปเชื่อมโยงกับสภาพปัญหา




- ทักษะในการพัฒนาข้อเสนอแนะ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความต้องการด้านความรู้




- ความรู้เกี่ยวกับการอภิปรายผลการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ประโยชน์




- ความรู้เกี่ยวกับการนำผลการวิจัยไปเชื่อมโยงกับสภาพปัญหา



- ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาข้อเสนอแนะ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ




- แฟ้มสะสมผลงาน




- รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ




- ข้อเสนอโครงการที่ผ่านการได้รับทุนมาแล้ว




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย




3. คำแนะนำในการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)


แนวคิด หลักการหรือทฤษฎี การทำวิจัยทุกเรื่อง ผู้ทำวิจัยจะต้องทราบว่าเมื่อทำเสร็จแล้วผลการวิจัยจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการวิจัยมีได้หลายลักษณะ เช่น การนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบาย ปรับปรุงการปฏิบัติงาน ใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจ ใช้ในการแก้ปัญหา หรือทำวิจัยต่อไป เป็นต้น ประโยชน์จึงเป็นการอธิบายถึงประโยชน์ของงานวิจัยนี้ โดยอาศัยความสำคัญของเรื่อง ควรพยายามให้เห็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ประชากร ฯลฯ
การเขียนประโยชน์ของงานวิจัยควรเขียนเป็นข้อๆ เพื่อระบุถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จะต้องเขียนด้วยภาษาที่อ่านง่ายและพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นประโยชน์ของงานวิจัยให้มากที่สุด แนวทางการเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้ คือ
1) เขียนประโยชน์ที่ได้รับโดยตรงมากที่สุด ไปหาประโยชน์น้อยที่สุดจากการวิจัย
2) ไม่ขยายความเกินความเป็นจริง ต้องอยู่ในขอบเขตของวัตถุประสงค์ที่ศึกษาเท่านั้น
3) ควรเขียนให้ครอบคลุมทั้งผลในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งผลทางตรงและทางอ้อม
4) ควรระบุในรายละเอียดว่าผลดังกล่าวจะตกกับใครเป็นสำคัญ และ
5) ไม่ควรเขียนในลักษณะที่ล้อจากวัตถุประสงค์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก



 


ยินดีต้อนรับ