หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมเครื่องมือในการพิสูจน์อักษร

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-3-049ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมเครื่องมือในการพิสูจน์อักษร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ อาชีพนักพิสูจน์อักษร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถพิจารณาภาพรวมของประเภทเนื้อหาเพื่อคัดเลือกพจนานุกรมให้เหมาะสมกับเนื้อหาของงาน ศึกษาคู่มือวิธีใช้สัญลักษณ์ตรวจแก้ต้นฉบับ และคู่มือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ รวมทั้งเลือกใช้อุปกรณ์ในการพิสูจน์อักษรได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    ผู้จบการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาเลขานุการ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์อักษร, ผู้ประกอบอาชีพด้านวารสารศาสตร์และสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสาขาอักษรศาสตร์หรือศิลปศาสตร์, เจ้าหน้าที่ประจำกองบรรณาธิการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
60102.01 เตรียมพจนานุกรมฉบับต่างๆ ให้ตรงกับประเภทงาน 1.1 พิจารณาภาพรวมของประเภทเนื้อหาเพื่อคัดเลือกพจนานุกรมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นฉบับ 60102.01.01 17735
60102.01 เตรียมพจนานุกรมฉบับต่างๆ ให้ตรงกับประเภทงาน 1.2 เลือกใช้พจนานุกรมฉบับต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาของงาน 60102.01.02 17736
60102.02 เตรียมหนังสือคู่มือในการพิสูจน์อักษรให้ตรงกับประเภทงาน 2.1 ศึกษาคู่มือวิธีใช้สัญลักษณ์ในการตรวจแก้ต้นฉบับ (ของบรรณาธิการ) ได้ถูกต้องและครบถ้วน 60102.02.01 17737
60102.02 เตรียมหนังสือคู่มือในการพิสูจน์อักษรให้ตรงกับประเภทงาน 2.2 ศึกษาคู่มือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ ตามหลักภาษานั้นๆ ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน 60102.02.02 17738
60102.03 เลือกใช้อุปกรณ์ในการพิสูจน์อักษรให้ตรงกับประเภทงาน 3.1 เลือกใช้อุปกรณ์พื้นฐานในการพิสูจน์อักษรให้ถูกต้องสอดคล้องกับประเภทของต้นฉบับ 60102.03.01 17739
60102.03 เลือกใช้อุปกรณ์ในการพิสูจน์อักษรให้ตรงกับประเภทงาน 3.2 เลือกใช้อุปกรณ์พิเศษให้ถูกต้อง สอดคล้องกับต้นฉบับบางประเภท 60102.03.02 17740

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถพิจารณาภาพรวมของประเภทเนื้อหาเพื่อคัดเลือกพจนานุกรม

    2. สามารถเลือกใช้พจนานุกรม

    3. สามารถศึกษาคู่มือวิธีใช้สัญลักษณ์ในการตรวจแก้ต้นฉบับ

    4. สามารถศึกษาคู่มือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ ตามหลักภาษานั้น ๆ

    5. สามารถเลือกใช้อุปกรณ์พื้นฐานในการพิสูจน์อักษร

    6. สามารถเลือกใช้อุปกรณ์พิเศษในการพิสูจน์อักษร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้พจนานุกรมได้อย่างเหมาะสมกับต้นฉบับ

    2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้พจนานุกรม

    3. ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ในการตรวจแก้ต้นฉบับ

    4. ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ

    5. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือพื้นฐาน

    6. ความรู้เกี่ยวกับข้อควรระวังในการเลือกใช้อุปกรณ์พิเศษ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ต้นฉบับที่ใช้พิจารณาเนื้อหาให้สอดคล้องกับพจนานุกรม

    2. พจนานุกรมที่เลือกใช้ มีดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับมติชน (ใช้เฉพาะคำใหม่และคำที่ไม่ขัดแย้งกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) พจนานุกรมศัพท์เฉพาะทาง พจนานุกรมศัพท์วรรณคดี พจนานุกรมคำราชาศัพท์ พจนานุกรมภาษาต่างประเทศ-ภาษาไทย

    3. ความสามารถในการเลือกใช้พจนานุกรมให้สอดคล้องกับต้นฉบับ

    4. คู่มือสัญลักษณ์ในการตรวจแก้ต้นฉบับ คู่มือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และเครื่องหมายอื่นๆ

    5. ความสามารถในการเตรียมคู่มือในการพิสูจน์อักษรให้ตรงกับประเภทงาน 

    6. อุปกรณ์พื้นฐานในการพิสูจน์อักษร

    7. อุปกรณ์พิเศษสำหรับต้นฉบับบางประเภท

    8. ความสามารถในการเลือกใช้อุปกรณ์ในการพิสูจน์อักษรให้ตรงกับต้นฉบับ



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์

    2. การทดสอบภาคปฏิบัติ ใช้แฟ้มสะสมผลงาน ผลงานที่ได้จัดทำ การประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงาน ใบบันทึกความคิดเห็นจากบุคคลที่ 3


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ จะระบุถึงข้อกำหนดการปฏิบัติงาน และข้อมูล/เอกสาร 

    1. ข้อพิจารณาในการเลือกพจนานุกรม มีดังนี้ ภาษา เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศ ภาษาโบราณ ศัพท์บัญญัติเฉพาะทาง เช่น ศัพท์คณิตศาสตร์ ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ศัพท์นิติศาสตร์ ศัพท์จิตวิทยา คำทับศัพท์ (ซึ่งหมายถึงการถอดเสียงภาษาต่างประเทศโดยใช้ตัวอักษรภาษาไทย เช่น Internet ทับศัพท์เป็น อินเทอร์เน็ต)

    2. พจนานุกรมที่เลือกใช้ มีดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับมติชน (ใช้เฉพาะคำใหม่และคำที่ไม่ขัดแย้งกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) พจนานุกรมศัพท์เฉพาะทาง พจนานุกรมศัพท์วรรณคดี พจนานุกรมคำราชาศัพท์ พจนานุกรมภาษาต่างประเทศ-ภาษาไทย

    3. ใช้สัญลักษณ์ในการตรวจแก้ต้นฉบับให้เป็นไปตามคู่มือสัญลักษณ์ในการตรวจแก้ต้นฉบับตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์เพื่อการแก้ไข ได้แก่ ย่อหน้า เว้นวรรค แทรกคำ ตัดคำ ต่อคำ สลับคำ เปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร และเว้นระยะห่างระหว่างบรรทัด

    4. ใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ ให้เป็นไปตามคู่มือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ ตัวอย่างการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ได้แก่ปรัศนี อัศเจรีย์ ไม้ยมก อัญประกาศคู่ อัญประกาศเดี่ยว วงเล็บ จุลภาค

    5. อุปกรณ์พื้นฐานในการพิสูจน์อักษร เช่น ดินสอ ปากกา ยางลบ น้ำยาลบคำผิด ไม้บรรทัด โพสต์อิท

    6. อุปกรณ์พิเศษสำหรับต้นฉบับบางประเภท เช่น เครื่องคิดเลข


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

        1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบประเมินการสัมภาษณ์

        2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน  

        3) ใบบันทึกความคิดเห็นจากบุคคลที่ 3

        4) แฟ้มสะสมผลงาน และผลงานที่ได้จัดทำ



ยินดีต้อนรับ