หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามรูปแบบวิจัยเชิงวิชาการ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-RDV-6-041ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามรูปแบบวิจัยเชิงวิชาการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08) 


1 1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามรูปแบบวิจัยเชิงวิชาการได้ โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย และใช้ภาษาที่ชัดเจน รัดกุม หลีกเลี่ยงการตีความของตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01241 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1.สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย 01241.01 137253
01241 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล 2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ภาษาที่ชัดเจนและรัดกุมและหลีกเลี่ยงการตีความของตนเอง 01241.02 137254

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ




- ความรู้เกี่ยวกับบริบทด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง




- ทักษะการคิดเชิงสังเคราะห์




- ทักษะและความสามารถทางด้านภาษา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการสรุปผลการวิจัย




- ทักษะในการคิดรวบยอด




- ทักษะในการวิเคราะห์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลการวิจัย




- ความรู้เกี่ยวกับการคิดรวบยอด




- ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน




- เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ




- แฟ้มสะสมผลงาน




- รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย




3. คำแนะนำในการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)


การสรุปผลการวิจัยเป็นการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากบทที่ 4 มาเขียนสรุปย่อเพื่อให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจว่าผลการวิจัยเป็นอย่างไร และการเขียนสรุปผลการวิจัยที่ดีนั้นต้องแสดงถึงความสัมพันธ์ของภาพรวมของการวิจัยทั้งหมด การเขียนสรุปจะเขียนเฉพาะในส่วนที่สำคัญๆ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าได้ผลอย่างไรบ้าง พยายามสรุปให้ครอบคลุมครบถ้วนประเด็นปัญหาที่วิจัยทั้งหมด การสรุปผลการวิจัยมีหลักเกณฑ์ในการเขียน ดังนี้
  - การสรุปผลการวิจัยควรสรุปตามความมุ่งหมายของการวิจัยและสมมติฐานของการวิจัย ทั้งนี้เพราะสรุปผลการวิจัยจะสามารถเชื่อมโยงหรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งหมายของการวิจัย  สมมติฐานของการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

  - การสรุปผลการวิจัยควรใช้ภาษาเขียนที่เป็นกลาง หลีกเลี่ยงการใช้ความคิดเห็นส่วนตัวมาสรุปในการบรรยายและหลีกเลี่ยงการตีความเอาเองในสรุปผลการวิจัย




- การสรุปผลการวิจัยควรใช้ภาษาที่ชัดเจนและรัดกุม บ่งบอกถึงการตอบคำถามของการวิจัยที่ชัดเจนหรือสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้




- ควรสรุปภาพรวมของผลการวิจัย ไม่ควรยกผลการวิจัยทั้งหมดจากบทที่ 4 มาเขียนสรุปผลการวิจัยและอธิบายปลีกย่อยมากเกินไป




- กรณีที่ผลการวิจัยได้ผลเหมือนกัน สามารถรวมเป็นข้อเดียวกันได้ เพื่อความกระชับในการเขียนสรุปผลการวิจัย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ