หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบวิธีดำเนินการวิจัย

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-RDV-6-031ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบวิธีดำเนินการวิจัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา (1223) (ISCO-08) 


1 1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถออกแบบวิธีการดำเนินการวิจัยได้อย่างเหมาะสมกับประเภทงานวิจัย ทั้งในส่วนของการกำหนดประชากร ตัวอย่าง วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ต้องเป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการวิจัย สาขาการวิจัยและพัฒนา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ โดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2555)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00131 วิเคราะห์ประเภทการวิจัยได้ 1.จำแนกความแตกต่างระหว่างประเภทงานวิจัยแต่ละชนิดได้ 00131.01 137220
00131 วิเคราะห์ประเภทการวิจัยได้ 2. วิเคราะห์ได้ว่างานวิจัยเป็นงานวิจัยประเภทใด 00131.02 137221
00132 กำหนดประชากรในงานวิจัย หน่วยวิเคราะห์ ตัวอย่างที่ใช้ใน งานวิจัยได้ 1.จำแนกหน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ได้ 00132.01 137222
00132 กำหนดประชากรในงานวิจัย หน่วยวิเคราะห์ ตัวอย่างที่ใช้ใน งานวิจัยได้ 2. เลือกตัวอย่างได้ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย 00132.02 137223
00133 ออกแบบกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบวิธีวิจัยได้ 1.นำประเด็นปัญหาวิจัยมาสร้างกรอบแนวคิด หรือขอบเขตการวิจัย (ConceptualFramework) ได้ 00133.01 137224
00133 ออกแบบกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบวิธีวิจัยได้ 2. กำหนดตัวแปรที่เหมาะสมในการทำวิจัยแต่ละงานวิจัยได้ 00133.02 137225
00134 กำหนดเครื่องมือที่เหมาะสมกับงานวิจัย 1.เข้าใจความแตกต่างของเครื่องมือในงานวิจัยแต่ละประเภท 00134.01 137226
00134 กำหนดเครื่องมือที่เหมาะสมกับงานวิจัย 2. กำหนดเครื่องมือที่เหมาะสมกับงานวิจัยแต่ละประเภทได้ 00134.02 137227
00135 กำหนดการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม 1.จำแนกประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 00135.01 137228
00135 กำหนดการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม 2.กำหนดสถิติหรือวิธีวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้องและเหมาะสมตามประเภทงานวิจัย 00135.02 137229

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูล




- ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานจรรยาบรรณ ข้อกำหนดทางกฎหมาย ข้อกำหนดด้านการวิจัย และความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม/ประเทศ




- ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล




- ทักษะการประสานงาน




- ทักษะการวิเคราะห์/ประเมินความเสี่ยง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะการคิดวิเคราะห์




- ทักษะการประยุกต์ใช้ คือสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสมกับการดำเนินงานวิจัย




- ทักษะการสื่อสาร




- ทักษะการจัดการ




- ทักษะการอ่าน - เขียน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้พื้นฐาน/ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพที่จะดำเนินการวิจัย




- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย




- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


1. หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานจากหัวหน้างาน/ผู้ประกอบการ




- แฟ้มสะสมผลงาน




- รายงานการวิจัยที่ได้ดำเนินการ




2. หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของระดับที่เข้ารับการทดสอบ




- ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านการวิจัย




- เอกสารรับรองอื่นๆ ที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้




3. คำแนะนำในการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้




4. วิธีการประเมิน




- การประเมินความรู้ โดยใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก




- การประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


การออกแบบระเบียบวิธีวิจัย ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานวิจัย ประเภทงานวิจัย การกำหนดหน่วยวิเคราะห์ ประชากร และตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง สามารถเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย และสามารถกำหนดตัวแปรในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยได้ รวมถึง การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูล และการกำหนดวิธีวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามประเภทงานวิจัย ซึ่งประเภทงานวิจัยสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่นการแบ่งตามการใช้ประโยชน์ จะประกอบไปด้วย
1) การวิจัยพื้นฐาน (
Basic Research)
2) การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) และ
3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) หรือการแบ่งประเภทตามสาขาวิชา เป็นต้น

  หน่วยวิเคราะห์การวิจัย (Unit of Analysis) หรือการกำหนดหน่วยของประชากรที่ใช้ในการวิจัย ไม่จำเป็นจำต้องประกอบด้วยคนเสมอไป อาจจะเป็น บริษัท มูลค่าทรัพย์สิน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับประเด็นปัญหาการวิจัยเป็นสำคัญ ซึ่งในการกำหนดหน่วยวิเคราะห์จะส่งผลถึงการกำหนดตัวอย่าง

  กรอบแนวคิดการวิจัย (
Conceptual Framework) คือการเขียนภาพรวมความสัมพันธ์การเชื่อมโยงระหว่างประเด็นปัญหาการวิจัยกับแนวคิดในการค้นหาคำตอบวิจัย ซึ่งจะแสดงขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยและช่วยในการวางแผนการวิจัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบ มีขั้นตอน และยังช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยรูปแบบการเขียนจะแตกต่างกันออกไป เช่น แบบบรรยาย แบบฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ แบบแผนภูมิ เป็นต้น

  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างมากในการวิจัย การเลือกใช้เครื่องมือใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์และลักษณะพฤติกรรมที่ต้องการจะวัด ซึ่งหมายความว่าจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยด้วยเช่นกัน ในการวิจัยพบว่าเครื่องมือที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 5 ประเภท ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือแต่ละประเภทจะมีลักษณะที่สำคัญและความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การวิจัย จึงขอนาเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อการนาไปใช้ ดังนี้

  แบบทดสอบ (Test) คือ ชุดของคาถาม งานหรือสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นสิ่งเร้าให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้มีความหมายครอบคลุมทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย แบบทดสอบ (ข้อสอบ) เป็นเครื่องมือหลักที่ครูต้องใช้วัดผลการเรียนของผู้เรียนมาโดยตลอด

  แบบสังเกต (Observation Form) คือ เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสังเกตเป็นชุดของพฤติกรรมที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา แบบสังเกตมีหลายชนิด เช่น ระเบียนพฤติกรรม แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และแบบจัดอันดับคุณภาพ (Rating Scale) การสังเกตเป็นวิธีการซึ่งใช้ประสาทสัมผัสของผู้สังเกต โดยเฉพาะตา และหู เพื่อติดตามศึกษาพฤติกรรมที่บุคคลที่แสดงออกได้ทุกด้าน แบบสังเกตเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถใช้ได้ตลอดเวลา

  แบบสัมภาษณ์ (Interview Form) คือ เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสัมภาษณ์ จะเป็นแบบบันทึกคาให้สัมภาษณ์ซึ่งผู้สัมภาษณ์สร้างขึ้นมาเพื่ออานวยความสะดวกในการรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสัมภาษณ์อาจจะคล้ายกับ แบบสอบถาม นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ใช้ประกอบในการสัมภาษณ์เป็นสื่อประเภทเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งใช้อานวยความสะดวกในการบันทึกรายละเอียดของข้อมูล ช่วยให้ผู้สัมภาษณ์พิจารณาย้อนทวนข้อมูลได้ และสามารถสรุปข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน

  แบบสอบถาม (Questionnaire) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมภายในของบุคคลเกี่ยวกับความรู้สึก ความคิดเห็น เจตคติ ความสนใจ ฯลฯ ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นพฤติกรรมด้านจิตพิสัยนั่นเอง นอกจากนี้ยังเหมาะสาหรับศึกษาข้อมูลส่วนตัวของบุคคลด้วย แบบสอบถามมีลักษณะเป็นชุดของคาถามที่สร้างขึ้น เพื่อให้ศึกษาหาข้อมูลตามจุดประสงค์

  แบบประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment Form) คือ เครื่องมือที่ใช้ประกอบการประเมินการให้ปฏิบัติจริง มักเป็นแบบบันทึกผลการปฏิบัติตลอดกระบวนการโดยการให้ปฏิบัติเป็นรูปแบบ หรือวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อวัดความสามารถในการปฏิบัติงานหรือปฏิบัติกิจกรรมที่จัดเป็นพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย เช่น เริ่มวัดตั้งแต่ความสามารถในการเตรียมงาน วัดการลงมือปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน วัดผลงานและวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัยบางประการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบข้อเขียนแบบข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และวิธีการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ