หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพอย่างเชี่ยวชาญ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-IED-5-120ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพอย่างเชี่ยวชาญ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ


1 2353 ครูสอนภาษาอื่นๆ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ สามารถพัฒนาตนเองในด้านความรู้ การจัดการเรียนการสอน และภาษาไทยอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเข้าร่วมการอบรม การประชุมปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมเพื่อการพัฒนาความรู้ตามจำนวนขั้นต่ำที่กำหนด หรือนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยจัดทำสื่อการสอนหรือสื่อที่สืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ทางวิชาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2353 ครูสอนภาษาอื่นๆ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2353 ครูสอนภาษาอื่นๆ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
702511 พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพ PC70 เข้ารับการอบรมหรือร่วมการประชุมปฏิบัติการ หรือการประชุมสัมมนาหรือร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองด้านความรู้ภาษาไทยทักษะการสื่อสาร/ลักษณะภาษาไทย/สังคมวัฒนธรรมไทย หรือการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย/ภาษาที่สอง/ภาษาต่างประเทศเพื่อเชื่อมโยงการเรียนการสอน หรือจัดทำสื่อการสอนหรือสื่อที่สืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ภาษาไทยหรือได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ทางวิชาชีพ 702511.01 137145

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


 1. การเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับกับการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน




2. พัฒนาทักษะด้านการใช้ภาษาไทยของตน




3. พัฒนาทักษะการสอน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


 ไม่มี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. แบบฟอร์มบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์




2. ใบผ่านการอบรม หรือเอกสารจากการอบรม หรือร่วมการประชุมปฏิบัติการ หรือการประชุมสัมมนาหรือร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองด้าน




  ความรู้ภาษาไทยทักษะการสื่อสาร หรือลักษณะภาษาไทย หรือสังคม วัฒนธรรมไทย หรือการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย หรือภาษาที่




  สอง หรือภาษาต่างประเทศ




3. สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้




4. หนังสือเชิญให้เป็นวิทยากร




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 




 1. ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์




2. ใบผ่านการอบรม หรือเอกสารจากการอบรม หรือร่วมการประชุมปฏิบัติการ หรือการประชุมสัมมนา หรือร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองด้าน




ความรู้ภาษาไทยทักษะการสื่อสาร หรือลักษณะภาษาไทย หรือสังคมวัฒนธรรมไทย หรือการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย หรือภาษาที่




สอง หรือภาษาต่างประเทศ




3. สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้




4. หนังสือเชิญให้เป็นวิทยากร




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




 ไม่มี




(ง) วิธีการประเมิน




การประเมินผลความรู้และผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากการสัมภาษณ์ เอกสารการอบรมหรือสัมมนา ฯลฯ หรือสื่อการสอนหรือแหล่ง การเรียนรู้ หรือหนังสือเชิญให้เป็นวิทยากร


15. ขอบเขต (Range Statement)


คำอธิบายรายละเอียดของหน่วยสมรรถนะ มีดังนี้




1. เข้าร่วมการอบรม การประชุมปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอนภาษาไทย หรือภาษาที่สอง หรือภาษา




ต่างประเทศ โดยองค์กรหรือหน่วยงานที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของบุคคลในวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมงต่อปี และไม่เกิน 3 ปีก่อนวันสมัคร




เข้ารับการประเมิน




2. จัดทำสื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ภาษาไทย อย่างน้อย 10 ชิ้นงาน




2.1 สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับบทเรียน มีคุณภาพตามเกณฑ์ และใช้ได้จริง อาจเป็นสื่อการสอนสำเร็จรูปที่ได้คัดเลือก




อย่างมีหลักการ อาจมีการปรับปรุง ดัดแปลงหรือไม่ก็ได้ หรือเป็นสื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นเองโดยอิงหลักการผลิตสื่อการสอน




2.2 สื่อการสอนอาจเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ สื่อวัสดุ สื่อเทคโนโลยี ฯลฯ




 2.3 แหล่งการเรียนรู้ต้องมีความถูกต้องทางด้านเนื้อหา เหมาะสมกับบทเรียน และผู้เรียน หากมีการอ้างอิงต้องอ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องตามหลัก




สากล ไม่มีการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือไม่มีเนื้อหาที่ล่อแหลมหรือขัดต่อศีลธรรม




3. ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาชีพโดยการเป็นวิทยากร อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี และไม่เกิน 3 ปีก่อนวันสมัครเข้ารับการประเมิน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1. ประเมินจากการสัมภาษณ์ ด้วยแบบสัมภาษณ์ผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ คุณวุฒิวิชาชีพ ชั้น 5




2. ประเมินจากเอกสารการอบรมหรือสัมมนา ฯลฯ




3. ประเมินจากสื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ที่ผลิตเอง




4. ประเมินจากหนังสือเชิญให้เป็นวิทยากร






 


 



ยินดีต้อนรับ