หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสารอย่างมีทักษะ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-IED-3-089ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสารอย่างมีทักษะ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้สอนภาษาเวียดนาม


1 2353 ครูสอนภาษาอื่นๆ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่กำหนด มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และได้ลงมือฝึกปฏิบัติทักษะทางภาษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิดขั้นสูง และมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน สามารถสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้หรือแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสามารถนำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่หลากหลาย ตรงตามวัตถุประสงค์และเหมาะสมกับวัยและระดับภาษาของผู้เรียน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2353 ครูสอนภาษาอื่นๆ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2353 ครูสอนภาษาอื่นๆ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
V2201.01 จัดการเรียนรู้ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.1 จัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ V2201.01.01 136837
V2201.01 จัดการเรียนรู้ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.2 จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้เป็นส่วนใหญ่ V2201.01.02 136838
V2201.01 จัดการเรียนรู้ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.3 จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติทักษะทางภาษา V2201.01.03 136839
V2201.01 จัดการเรียนรู้ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.4 จัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิดขั้นสูง V2201.01.04 136840
V2201.01 จัดการเรียนรู้ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.5 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน V2201.01.05 136841
V2201.01 จัดการเรียนรู้ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.6 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน V2201.01.06 136842
V2201.02 สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 2.1 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ V2201.02.01 136843
V2201.02 สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 2.2 สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้ผ่อนคลาย V2201.02.02 136844
V2201.02 สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 2.3 จัดการชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ V2201.02.03 136845
V2201.02 สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 2.4 ชี้แนะหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม V2201.02.04 136846
V2201.03 ใช้สื่อการเรียนรู้ หรือแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 3.1 ใช้สื่อการเรียนรู้หรือแหล่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ V2201.03.01 136847
V2201.03 ใช้สื่อการเรียนรู้ หรือแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 3.2 ใช้สื่อการเรียนรู้หรือแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ภาษาสมจริง ตามวัยและระดับของผู้เรียน V2201.03.02 136848
V2201.03 ใช้สื่อการเรียนรู้ หรือแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ 3.3 ใช้สื่อการเรียนรู้หรือแหล่งการเรียนรู้ที่มีรูปแบบเหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียน V2201.03.03 136849
V2201.04 นำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรม มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ 4.1 ใช้ภาษาเวียดนามในการจัดการเรียนรู้ได้ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน V2201.04.01 136850
V2201.04 นำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรม มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ 4.2 ใช้ภาษาเวียดนามในการจัดการเรียนรู้ในปริมาณที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน V2201.04.02 136851
V2201.04 นำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรม มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ 4.3 จัดการเรียนรู้ที่สร้างความตระหนักรู้ถึงความแตกต่างด้านภาษาหรือวัฒนธรรม V2201.04.03 136852
V2201.05 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 5.1 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ V2201.05.01 136853
V2201.05 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 5.2 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัยและระดับภาษาของผู้เรียน V2201.05.02 136854
V2201.05 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 5.3 ตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนระหว่างการเรียนรู้ V2201.05.03 136855
V2201.06 คิดไตร่ตรองการจัดการเรียนรู้อย่างมีทักษะ

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1.  ทักษะการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ การอธิบายความ และการสื่อความ




2.  ทักษะการตั้งคำถาม และตอบคำถาม




3.  ทักษะการใช้หรือผลิตสื่อการเรียนรู้หรือแหล่งการเรียนรู้




4.  ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information literacy) และการรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital literacy)




5.  ทักษะการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1.  หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ




2.  หลักการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร




3.  การเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding)




4.  หลักการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง




5.  จิตวิทยาการเรียนรู้ เช่น การเสริมแรง การกระตุ้นความสนใจ




6.  เนื้อหาวิชาด้านภาษา หลักทางภาษาศาสตร์ และวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษาเวียดนาม




7.  เนื้อหาด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural diversity)




8.  หลักการ วิธี และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ภาษา และการแปรผลการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ภาษา




9.  หลักสถิติต่างๆ ที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




      1. บันทึกวิดีโอการจัดการเรียนรู้




      2. บันทึกการคิดไตร่ตรอง




(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



    ไม่มี



(ค)  คำแนะนำในการประเมิน



    -


15. ขอบเขต (Range Statement)


ไม่มี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1. การสังเกตและประเมินการจัดการเรียนรู้จากบันทึกวิดีโอการจัดการเรียนรู้




2. ประเมินจากบันทึกการคิดไตร่ตรอง (reflective journal) ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมสมรรถนะย่อยที่กำหนด



 


ยินดีต้อนรับ