หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพระดับกลาง

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-IED-4-065ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาตนเองเชิงวิชาชีพระดับกลาง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้สอนภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)


1 2353 ครูสอนภาษาอื่นๆ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้สามารถพัฒนาบทบาทและความรู้ทางวิชาชีพของตนเอง สามารถคิดไตร่ตรองเพื่อปรับปรุงตนเอง และกระบวนการจัดการเรียนรู้ได้ มีการวางแผนแนวทางการพัฒนาตนเองในทางวิชาชีพได้ พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพอยู่เป็นนิจด้วยการเข้าร่วมการอบรม การประชุมปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมเพื่อการพัฒนาภาษาอังกฤษหรือความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพตามจำนวนขั้นต่ำที่กำหนด แล้วนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และความสามารถทางด้านภาษาของตนได้ รวมทั้งมีการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องแก่บุคคลอื่นที่อยู่ในสาขาวิชาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้สอนภาษาต่างประเทศภาษาอังกฤษ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 2353 Other language teacher

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00091 พัฒนาบทบาทในวิชาชีพ วิเคราะห์จุดแข็งและจุดที่ควรปรับปรุงของตนเองเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้วางแผนแนวทางการพัฒนาตนเองในทางวิชาชีพ 00091.01 136527
00092 พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพ 2.1 เข้ารับการอบรม หรือร่วมการประชุมปฏิบัติการ หรือ การประชุมสัมมนาหรือร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมงต่อปี 00092.01 136528
00092 พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพ 2.2นำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตนเองในทางวิชาชีพมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และความสามารถทางด้านภาษาของตน 00092.02 136529
00092 พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพ 2.3บริการวิชาการ* ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 00092.03 136530
00092 พัฒนาความรู้ทางวิชาชีพ 10 ชม. ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา 00092.04 136531

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ไม่มี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ไม่มี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสารที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่



1.1 หลักฐานการเข้าร่วมการอบรม การประชุมปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมเพื่อการพัฒนาภาษาอังกฤษหรือความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมงต่อปี



1.2 หลักฐานการให้บริการวิชาการที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงต่อปี



2. เอกสารประกอบการประเมิน ได้แก่



2.1 เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการอบรมการประชุมปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมเพื่อการพัฒนาภาษาอังกฤษหรือความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพเช่น หลักสูตร กำหนดการ แผ่นพับ



2.2 เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้บริการวิชาการที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เช่น โครงการจัดการอบรม เอกสารประกอบการอบรม



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ไม่มี



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกหน่วยสมรรถนะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนหน่วยสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบหน่วยสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



1. ผู้ประเมินทำการประเมินหลักฐานการเข้าร่วมการอบรมการประชุมปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมเพื่อการพัฒนาภาษาอังกฤษหรือความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพ



2. ผู้ประเมินทำการประเมินหลักฐานการให้บริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



คำอธิบายรายละเอียดของหน่วยสมรรถนะ มีดังนี้



1. การอบรม การประชุมปฏิบัติการ การประชุมสัมมนา หรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพผู้สอนภาษาอังกฤษที่เข้าร่วม ต้องจัดโดยองค์กรหรือหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับสำหรับบุคคลในวิชาชีพ



2. การบริการวิชาการให้แก่ผู้ร่วมงานในองค์กรของตนเองหรือสาธารณชน



3. การพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับวิชาชีพรวมถึงการพัฒนาบุคลิกภาพและมีภาพลักษณ์ที่เหมาะสมกับวิชาชีพ



(ค) คำอธิบายศัพท์เฉพาะ



บริการวิชาการ หมายถึง การบริการทางวิชาการด้านภาษาและ/หรือจัดการเรียนการสอน แก่ ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและ ความเชี่ยวชาญ โดยอาจเป็นการบริการทางวิชาการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรืออาจคิดค่าใช้จ่าย รูปแบบการให้บริการทางวิชาการมีความหลากหลาย เช่น ให้คําปรึกษากับเพื่อนร่วมงาน อบรม จัดประชุมหรือ สัมมนาวิชา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการประเมินและวิธีการประเมินให้ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ