หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-7-060ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสาร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดประเด็นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร กำหนดโจทย์ และวัตถุประสงค์การสื่อสารขององค์กรได้ สามารถวิเคราะห์ และตีความ เพื่อมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติวางแผนกระบวนการการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการและกลยุทธ์ของผู้บริหารและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01105.01 การกำหนดทิศทางการรับรู้ข่าวสารของคนในสังคม 1. กำหนดประเด็นการสื่อสารตามกลุ่มผู้รับสารและสื่อ 01105.01.01 136473
01105.01 การกำหนดทิศทางการรับรู้ข่าวสารของคนในสังคม 2. สร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคมกับประเด็นการสื่อสาร 01105.01.02 136474
01105.01 การกำหนดทิศทางการรับรู้ข่าวสารของคนในสังคม 3. กำหนดทิศทางและเป้าหมายของการรับรู้ข่าวสารของผู้คนในสังคม 01105.01.03 136475
01105.02 การสร้างและปลุกกระแสประเด็นการสื่อสาร 1. กำหนดวาระของข่าวสาร 01105.02.01 136476
01105.02 การสร้างและปลุกกระแสประเด็นการสื่อสาร 2. นำวาระข่าวสารที่ถูกกำหนดมาสร้างกระแสในสังคม 01105.02.02 136477
01105.02 การสร้างและปลุกกระแสประเด็นการสื่อสาร 3. จัดลำดับช่วงเวลาของการปล่อยข่าวสารให้เกิดเป็นกระแส 01105.02.03 136478
01105.02 การสร้างและปลุกกระแสประเด็นการสื่อสาร 4. ขยายประเด็นการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมในวงกว้าง 01105.02.04 136479
01105.03 การนำเสนอประเด็นการสื่อสารในภาพรวมให้เป็นเชิงนโยบายที่มีผลต่อสังคม 1. สร้างความสมดุลของการนำเสนอข่าวสาร 01105.03.01 136480
01105.03 การนำเสนอประเด็นการสื่อสารในภาพรวมให้เป็นเชิงนโยบายที่มีผลต่อสังคม 2. นำเสนอรอบด้านและอธิบายข้อมูลเพื่อให้สังคมได้รับรู้เรื่องราวจากทุกมุมมอง 01105.03.02 136481
01105.03 การนำเสนอประเด็นการสื่อสารในภาพรวมให้เป็นเชิงนโยบายที่มีผลต่อสังคม 3. พัฒนาการมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารระหว่างคนในสังคม สื่อมวลชนและองค์กร 01105.03.03 136482

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์

  2. ทักษะการคิดกลยุทธ์ข่าวสาร

  3. ทักษะการสื่อสาร

  4. ทักษะด้านสื่อมวลชนสัมพันธ์และสื่อสังคม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์

  2. ความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การสื่อสารและการสร้างกระแสข่าวสาร

  3. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมวลชนสัมพันธ

  4. ความรู้เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดประเด็นด้านการสื่อสาร โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



1)  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และทักษะในการศึกษาปัญหาของการสื่อสารและสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน การกำหนดคุณค่าและความสำคัญของเป้าหมายในการกำหนดประเด็นการสื่อสาร รวมถึงการแสวงหาทางเลือกและการตัดสินใจ เพื่อการกำหนดประเด็นการสื่อสาร ที่จำเป็นและสำคัญต่อการสื่อสารขององค์กร



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          Issues Management หมายถึงการระบุและตรวจสอบแนวโน้มแห่งกระแสประชามติ (includes the identification and monitoring of trends in public opinion) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ (public policy) ของบริษัท และรวมทั้งการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอก ผนวกกับความพยายามที่จะบอกกล่าวเรียกร้องให้ประชาชนสนับสนุนองค์กรหรือบริษัทตนและการใช้ข้อมูลข่าวสารในเชิงกลยุทธ์หรือยุทธวิถีข้อมูลข่าวสาร (informational strategies) ตลอดจนการแสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีจริยธรรมของบริษัท (ethical corporate behavior) การบริหารประเด็น (Issues Management) ความสามารถที่จะเข้าใจ (the capacity to understand) การระดมพลัง การประสานงาน และการชี้นำถึงการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ทั้งหมดในการวางแผนนโยบาย (all strategic and policy planning) ตลอดจนการใช้ทักษะการประชาสัมพันธ์ต่างๆ (public relations skills) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว



กระบวนการและขั้นตอนของการบริหารประเด็น




  1. ระบุถึงประเด็นต่างๆ (identification of issues) คือ การระบุถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ให้ชัดเจนว่าประเด็นปัญหาคืออะไรจะดำเนินการแก้ไขอย่างไร

  2. วิเคราะห์อย่างมีระบบ (systematic analysis) คือ การศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบและลำดับขั้นตอน

  3. ทางเลือกยุทธวิถี (strategies options) คือ การพิจารณาทางเลือกยุทธวิถีที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลที่สุด

  4. วางแผนปฏิบัติการ (action plan) คือ การปฏิบัติต่างๆ ตามที่กำหนดไว้

  5. การปฏิบัติ (take action) คือ การลงมือปฏิบัติการตามแผนที่ได้วางไว้

  6. การประเมินผลลัพธ์ (evaluation of results) คือ การประเมินผลลัพธ์ที่ได้หลังจากลงมือปฏิบัติการแล้ว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ