หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-056ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ สามารถวิเคราะห์ และตีความ เพื่อนำมาวางแผนกระบวนการการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์กร เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาธุรกิจหรืออุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามบริบทและสถานการณ์ปัจจุบัน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02101.01 กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนงานที่มีความชัดเจน 1. ใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับ ไม่ใช้คำผิด ตก หรือฟุ่มเฟือย 02101.01.01 136274
02101.01 กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนงานที่มีความชัดเจน 2. สามารถเข้าใจได้ตรงกันในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน 02101.01.02 136275
02101.02 กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่สามารถวัดผลได้ 1. ระบุวัตถุประสงค์มีความเฉพาะเจาะจงเพียงพอที่สามารถนำมาวัดผลได้ 02101.02.01 136276
02101.02 กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่สามารถวัดผลได้ 2. จำแนกองค์ประกอบในวัตถุประสงค์เพื่อนำมาวัดผลได้ 02101.02.02 136277
02101.02 กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่สามารถวัดผลได้ 3. สามารถนำเกณฑ์มาตรฐานมาใช้ในการวัดผลวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้ 02101.02.03 136278
02101.03 กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่สามารถบรรลุผลได้ 1. ระบุวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรมที่นำไปสู่การดำเนินการได้ 02101.03.01 136279
02101.03 กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่สามารถบรรลุผลได้ 2. ระบุเป้าของวัตถุประสงค์ในระดับที่เหมาะสม และมีแนวทางในการบรรลุผลได้จริง 02101.03.02 136280
02101.04 กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารให้เป็นจริงได้ 1. ระบุวัตถุประสงค์ให้มีความสมเหตุสมผลตามความเป็นจริงสามารถอธิบายเหตุและผลได้ชัดเจน 02101.04.01 136281
02101.04 กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารให้เป็นจริงได้ 2. วัตถุประสงค์สามารถแตกย่อยออกเป็นกลยุทธ์ กลวิธี และกิจกรรมได้หลากหลายเพียงพอ 02101.04.02 136282
02101.05 กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารให้เหมาะสมกับช่วงเวลา 1. ระบุวัตถุประสงค์สอดคล้องกับบริบทและห้วงเวลาที่กำหนดตามแผนงาน 02101.05.01 136283
02101.05 กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารให้เหมาะสมกับช่วงเวลา 2. ระบุวัตถุประสงค์มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทและห้วงเวลา 02101.05.02 136284

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์

  2. ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

  3. ทักษะทางภาษาและการสื่อสาร

  4. ทักษะการบริหารจัดการ

  5. ทักษะทางสังคม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้พื้นฐานทางการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์

  2. ความรู้ด้านภาษาและไวยากรณ์

  3. ความรู้ด้านการวางแผนและการจัดการ

  4. ความรู้ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค

  5. ความรู้ด้านสถานการณ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

  6. ความรู้ด้านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1)  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับบริบททางธุรกิจ การประเมินข้อมูลที่มีอยู่ในธุรกิจ การระบุข้อมูลใหม่ๆที่จำเป็นสำหรับบริบททางธุรกิจ และการใช้งานเครือข่ายสังคมและแหล่งข้อมูลแบบเปิดให้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การวางแผนเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่งในการทํางาน ดังนั้น นักประชาสัมพันธ์จึงต้องมีความรู้ด้านการวางแผน เพื่อจะได้นําความรู้ด้านการวางแผนนี้มาใช้ในการวางแผนประชาสัมพันธ์ต่อไป ซึ่งขั้นตอนแรกของการวางแผน คือการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ควรนํามาวิเคราะห์คือ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เราทราบจุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W) โอกาส(O) และภัยคุกคาม(T) ขององค์กรตามหลัก SWOT Analysis ก่อนที่จะกําหนดรายละเอียดอื่นๆให้ถูกต้อง



          การดำเนินการประชาสัมพันธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

เพื่อเป็นเป้าหมายหรือแนวทางในการดำเนินการประชาสัมพันธ์ของกิจการ วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์

อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่




  1. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General objective)

  2. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific objective)



          วัตถุประสงค์ทั่วไปของการประชาสัมพันธ์เป็นวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ในเรื่องราวต่างๆ ของกิจการ อันได้แก่ 

นโยบาย วัตถุประสงค์ การดำเนินงาน ผลงาน กิจกรรม ระเบียบข้อบังคับ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สาธารณชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเกิดความเชื่อถือในกิจการ โดยวัตถุประสงค์ทั่วไปของการประชาสัมพันธ์ ได้แก่




  1. เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจของสาธารณชนต่อกิจการ โดยการเผยแพร่และชี้แจงผ่านสื่อต่างๆเพื่อให้สาธารณชนได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย วัตถุประสงค์ การดำเนินงาน และกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ

  2. เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับสาธารณชน เพื่อให้องค์การได้รับความสนับสนุนและเพื่อความอยู่รอดขององค์การ รวมถึงการกระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความนิยม เชื่อถือ ไว้วางใจ และศรัทธา ในนโยบาย และการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ เพื่อให้กิจการดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น

  3. เพื่อสร้าง ปกป้องและรักษาชื่อเสียงขององค์การ และสร้างความสัมพันธ์อันดีให้องค์การต่อสาธารณชนจะเห็นว่าชื่อเสียงเป็นสิ่งสำคัญต่อความอยู่รอดขององค์การ โดยที่องค์การบางองค์การอาจต้องยอมเสียผลประโยชน์บางอย่างเพื่อแลกกับการรักษาชื่อเสียงไว้ เพราะชื่อเสียงจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์การในสายตาของสาธารณชน

  4. เพื่อแสวงหาความร่วมมือและการสนับสนุนจากสาธารณชน ทั้งจากสาธารณชนภายในและภายนอก



          นอกจากวัตถุประสงค์ทั่วไปแล้ว การประชาสัมพันธ์ยังมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างของแต่ละกิจกรรมแตกต่างกัน

ออกไปเพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์หรือลักษณะของแต่ละกิจกรรม ตัวอย่างของวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น




  • เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น เช่น ข่าวลือในด้านลบขององค์การซึ่งทำให้สาธารณชนเกิดความเข้าใจผิดต่อองค์การ โดยจะทำการค้นหาสาเหตุและขจัดแหล่งต้นเหตุ โดยหาทางทำความเข้าใจ ชี้แจงเหตุผลให้กระจ่างชัด

  • เพื่อเผยแพร่คุณงามความดีของกิจกรรม เพื่อให้สาธารณชนได้รู้ถึงสิ่งที่องค์การได้กระทำการอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนรอบข้าง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา และเกิดการสนับสนุนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกิจการ

  • เพื่อส่งเสริมและชักจูงใจสาธารณชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์การ

  • เพื่ออธิบายให้ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการให้ทราบถึงทัศนคติ ประชามติ หรือความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนที่มีต่อองค์การ

  • เพื่อขจัดปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ภายในหน่วยงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ