หน่วยสมรรถนะ
วิเคราะห์ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสาร
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | PCP-APR-6-055ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | วิเคราะห์ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสาร |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals 1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของประเด็นการสื่อสาร และวัตถุประสงค์ของการสื่อสารได้ สามารถวิเคราะห์ และกำหนดโจทย์และจัดการประเด็นทางการสื่อสาร เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01104.01 การกำหนดวาระข่าวสาร | 1. การจัดลำดับกระแสของเนื้อหาข่าวสาร | 01104.01.01 | 136455 |
01104.01 การกำหนดวาระข่าวสาร | 2. การกรองและกำหนดวาระข่าวสาร | 01104.01.02 | 136456 |
01104.02 วิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของประเด็นการสื่อสาร | 1. การวัดคุณค่าประเด็นการสื่อสาร | 01104.02.01 | 136457 |
01104.02 วิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของประเด็นการสื่อสาร | 2. การจัดลำดับความสำคัญของประเด็นการสื่อสาร | 01104.02.02 | 136458 |
01104.02 วิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของประเด็นการสื่อสาร | 3. วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบของประเด็นการสื่อสาร | 01104.02.03 | 136459 |
01104.03 สรุปและทบทวนประเด็นข่าวสาร | 1. สรุปประเด็นการสร้างการรับรู้และกระแสการสื่อสารในสังคม | 01104.03.01 | 136460 |
01104.03 สรุปและทบทวนประเด็นข่าวสาร | 2. ทบทวนบริบทการเชื่อมโยงประเด็นการสื่อสารกับสังคม | 01104.03.02 | 136461 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการวิเคราะห์ประเด็นด้านการสื่อสาร โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และทักษะในการวิเคราะห์ประเด็นด้านการสื่อสาร ความต้องการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารองค์กร การประเมินประเด็นด้านการสื่อสารที่มีอยู่ในธุรกิจ ประเมินประเด็นในสังคม วิเคราะห์สถานการณ์ของการสื่อสารในสังคม สามารถอธิบายช่องทางการค้นหาประเด็นต่างๆ ตีความประเด็นรวมถึงสรุปประเด็นเพื่อจัดทำเป็นแผนปฏิบัติ (ข) คำอธิบายรายละเอียด กลยุทธ์การบริหารประเด็น ประกอบด้วยกลยุทธ์การตอบสนองอย่างมีพลวัต ได้แก่ การสร้างแนวร่วมกับ บุคคลอิสระ การสร้างวาระการสื่อสารผ่านกิจกรรม และการสร้างความร่วมมือกับสื่อมวลชน กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง ด้วยการตั้งรับ คือ การชะลอเวลา ซึ่งถูกนำมาใช้ครั้งเดียวเมื่อครั้งที่จะเริ่มต้นผลักดันนโยบายระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ต่อสาธารณชนแต่สถานการณ์ยังไม่เหมาะสม จึงชะลอเวลาไว้ก่อนและกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงด้วยการปรับตัว คือ การปรับเปลี่ยนคำที่ใช้สื่อสารเพื่อลดแรงต้าน การบริหารประเด็นคือ กระบวนการที่เป็นพลวัต (Dynamic) และเป็นการกระทำที่ทำเพื่อป้องกันเหตุการณ์บางอย่างล่วงหน้า (Proactive) ซึ่งเป็นลักษณะของการบริหารจัดการที่ดี โดยประยุกต์เข้ากับความอยู่รอดขององค์กร นอกจากนี้ การบริหารประเด็นยังเป็นงานที่องค์กรให้เพิ่มพูนความรู้ในด้านกระบวนการนโยบายสาธารณะ และเพิ่มพูนความเชี่ยวชาญ การบริหารประเด็นยังหมายรวมถึงการวางแผนขององค์กร (Corporate Planning) และความพยายามขององค์กรที่จะแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร การบริหารประเด็น คือ กระบวนการวางแผน เพื่อเตรียมรับมือกับประเด็นที่เกิดขึ้น โดยวางแผนกลยุทธ์การรับมือก่อนที่จะเข้าขั้นสู่ภาวะวิกฤต สำหรับการบริหารประเด็นแวดล้อมนั้น ประกอบด้วย ประเด็นที่แอบแฝง (Potential Stage) การเกิดประเด็น (Emerging Stage) และประเด็นที่กำลังเกิดขึ้น (Current Stage) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นพัฒนาการของประเด็นก่อนที่จะกลายเป็นประเด็นวิกฤต (Crisis Issue) และนำไปสู่ประเด็นที่สงบนิ่ง (Dormant Issue) |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน |