หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์นโยบายด้านการสื่อสาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-053ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์นโยบายด้านการสื่อสาร

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายขององค์กร โจทย์ และวัตถุประสงค์การสื่อสารขององค์กรได้ สามารถวิเคราะห์ และตีความ เพื่อนำมาวางแผนกระบวนการการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามนโยบายของผู้บริหารและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01102.01 ศึกษานโยบายขององค์กร 1. จำแนกลักษณะนโยบาย 01102.01.01 136435
01102.01 ศึกษานโยบายขององค์กร 2. ระบุแหล่งที่มาของนโยบาย 01102.01.02 136436
01102.01 ศึกษานโยบายขององค์กร 3. กลั่นกรองประเด็นนโยบาย 01102.01.03 136437
01102.02 ตีความนโยบาย 1. นิยามประเด็นนโยบาย 01102.02.01 136438
01102.02 ตีความนโยบาย 2. จัดลำดับความสำคัญของนโยบาย 01102.02.02 136439
01102.02 ตีความนโยบาย 3. พยากรณ์ทางเลือก 01102.02.03 136440
01102.02 ตีความนโยบาย 4. วิเคราะห์ทางเลือก 01102.02.04 136441
01102.03 สรุปและทบทวนสู่แผนปฏิบัติ 1. กำกับและทบทวน 01102.03.01 136442
01102.03 สรุปและทบทวนสู่แผนปฏิบัติ 2. ดำรงรักษานโยบาย หรือยกเลิกนโยบาย 01102.03.02 136443
01102.03 สรุปและทบทวนสู่แผนปฏิบัติ 3. นำนโยบายไปวางแผนปฏิบัติ 01102.03.03 136444

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการค้นคว้า การหาแหล่งข้อมูล

  2. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ด้านนโยบายองค์กรและนโยบายการสื่อสารประชาสัมพันธ์

  2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทนโยบาย

  3. ความรู้การสรุปความและประเด็นสำคัญ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการวิเคราะห์นโยบายด้านการสื่อสาร โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



1)  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และทักษะในการวิเคราะห์นโยบาย ความต้องการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารองค์กร การประเมินนโยบายด้านการสื่อสารที่มีอยู่ในธุรกิจ สามารถอธิบายช่องทางการศึกษานโยบาย ตีความนโยบาย รวมถึงสรุปนโยบายเพื่อจัดทำเป็นแผนปฏิบัติ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การวิเคราะห์นโยบาย (Policy Analysis) เป็นกระบวนการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ทางเลือกของนโยบายที่สามารถนำมาดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาได้ เมื่อได้ทางเลือกของนโยบายมาจำนวนหนึ่งแล้ว จึงใช้เกณฑ์ในการตัดสินใจ เช่น ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด เมื่อได้ทางเลือกที่ดีที่สุดมาจำนวนหนึ่ง จึงส่งทางเลือกนโยบายเหล่านั้นไปยังผู้มีอำนาจในการตัดสินใจสำหรับการแก้ไขปัญหานั้นๆ ในการจะวิเคราะห์นโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้สามารถทราบปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริงของสถานการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากงานวิจัยภายในประเทศ งานวิจัยของต่างประเทศ หรืออาจต้องมีการทำการวิจัยใหม่ก็ได้ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ เพื่อใช้ในการทำนายผลที่จะตามมาจากการเลือกดำเนินการในแต่ละนโยบาย ขั้นตอนในการวิเคราะห์นโยบาย ประกอบไปด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้




  1. มองเห็นปัญหา และนิยามว่าปัญหานั้นคืออะไร  ในขั้นตอนนี้ควรที่จะมองไปยังสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว ดูว่ามีอะไรที่มีน้อยเกินไป (deficits) มีอะไรที่มีมากเกินไป (excesses) ซึ่งปัญหาที่เราระบุนั้นจะต้องสามารถประเมินค่าได้ และยิ่งถ้าประเมินเป็นเชิงปริมาณได้จะยิ่งดี

  2. การหาข้อมูล (evidence) ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ในขั้นตอนนี้เราจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับปัญหา และสามารถสะท้อนปัญหานั้นได้อย่างชัดเจน การจะเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นจะต้องทำอย่างไร แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหน แล้วจึงรีบดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างรวดเร็วและครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

  3. สร้างทางเลือกของนโยบาย ในขั้นตอนนี้เราจะเริ่มคิดถึงทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหาที่เราระบุขึ้นมา แล้วจึงทำการลดทางเลือกที่ดูแล้วไม่น่าสนใจออกไปส่วนหนึ่ง

  4. การเลือกเกณฑ์ที่จะใช้ในการตัดสินใจที่เหมาะกับนโยบายประเภทนั้น ในขั้นตอนนี้เราจะต้องมองหาเกณฑ์ที่สามารถใช้ในการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการเลือกทางเลือกนั้น ซึ่งจะเลือกใช้เกณฑ์ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับการระบุปัญหาของเรา โดยทั่วไปมักเลือกใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพ ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความยุติธรรม เสรีภาพ ชุมชน เป็นต้น ในกรณีที่ใช้เกณฑ์ในการตัดสินใจหลายเกณฑ์ อาจจะจำเป็นที่จะต้องให้น้ำหนักกับแต่ละเกณฑ์ด้วย เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างเกณฑ์ที่เลือกใช้

  5. ดูว่าเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์แต่ละทางเลือกแล้ว ผลจะออกมาอย่างไร ในขั้นตอนนี้เราจะต้องสร้างแบบจำลองที่ทำให้เราสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ประกอบกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เข้ามาประกอบ จึงจะทำให้เราสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกได้

  6. เปรียบเทียบผลของแต่ละทางเลือก ในขั้นตอนนี้จำเป็นที่จะต้องมีการ Trade-offs คือ ชั่งน้ำหนักระหว่างผลได้กับผลเสียจากแต่ละทางเลือก เนื่องจากว่าไม่มีทางเลือกใดที่ดีที่สุด แต่ละทางเลือกมักจะมีทั้งข้อดีข้อเสีย การจะชั่งน้ำหนักได้จำเป็นที่จะต้องมีการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ดีก่อน

  7. ตัดสินใจเลือกทางเลือก

  8. ประกาศทางเลือกที่ตัดสินใจเลือกออกไปให้สาธารณชนรับรู้อย่างทั่วถึง ผ่านทางช่องทางที่เหมาะสม และด้วยข้อความที่ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจถูกต้องอย่างง่ายที่สุด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
N/A


ยินดีต้อนรับ