หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการวิจัย

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-052ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการวิจัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อนำผลการวิจัยมาเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพ การทำงานปกติในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ผ่านยุทธศาสตร์วิธีการหรือเทคนิคต่างๆ โดยมีที่มาจากการทบทวนเอกสารวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียนเป็นแผนภาพเชื่อมโยงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาในงานวิจัย ประโยชน์ของกรอบความคิดในการวิจัย เพื่อนำเสนอต่อการพัฒนาต่อไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04303.01 ออกแบบวิธีการวิจัย 1. ระบุรายละเอียดรูปแบบการวิจัย 04303.01.01 136420
04303.01 ออกแบบวิธีการวิจัย 2. ระบุประชากรและกลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนการวิจัย 04303.01.02 136421
04303.01 ออกแบบวิธีการวิจัย 3. นำกรอบแนวคิดและสมมติฐานมาอธิบายเป็นกระบวนการ 04303.01.03 136422
04303.01 ออกแบบวิธีการวิจัย 4. ระบุแผนการวิจัยและวัดประเมินผล 04303.01.04 136423
04303.02 เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เลือกตัวอย่างตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ 04303.02.01 136424
04303.02 เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2. สร้างแบบสอบถามให้มีความเที่ยงตรง 04303.02.02 136425
04303.02 เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. สร้างเครื่องมือที่สามารถวัดผลได้ เช่น การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสำรวจเป็นต้น 04303.02.03 136426
04303.02 เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบทงานวิจัยด้านประชาสัมพันธ์ 04303.02.04 136427
04303.03 วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล 1. เขียนรายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้ 04303.03.01 136428
04303.03 วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล 2. เขียนรายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้ 04303.03.02 136429
04303.03 วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล 3. เขียนอธิบายเปรียบเทียบสถิติเชิงพรรณนาได้ 04303.03.03 136430
04303.04 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 1. เขียนสรุปผลการวิจัยได้ 04303.04.01 136431
04303.04 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 2. อภิปรายผลการวิจัยได้ 04303.04.02 136432
04303.04 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 3. นำเสนอข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานได้ 04303.04.03 136433
04303.04 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 4. นำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไปได้ 04303.04.04 136434

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสืบค้นข้อมูล

  2. ทักษะการทำวิจัย

  3. ทักษะการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

  4. ทักษะการคิด วิเคราะห์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เรื่องการทำวิจัย

  2. ความรู้ในเรื่องจริยธรรมในการวิจัย

  3. ความรู้เรื่องการประชาสัมพันธ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ การนำเสนอแนวทางในอนาคต โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ ความสามารถในการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อนำผลการวิจัยมาเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพ การทำงานปกติในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ผ่านยุทธศาสตร์วิธีการหรือเทคนิคต่างๆ โดยมีที่มาจากการทบทวนเอกสารวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียนเป็นแผนภาพเชื่อมโยงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาในงานวิจัย



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          กำหนดแบบการวิจัย



          ลักษณะของแบบการวิจัย แบบการวิจัยที่มีการทดลอง การออกแบบเป็นการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการทดลองที่จำเป็นดังนี้




  • การกำหนดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

  • กำหนดตัวแปรในการทดลอง

  • เลือกแบบแผนแบบการทดลอง

  • สร้างเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

  • ดำเนินการทดลองตามแผนแบบ



          แบบการวิจัยเชิงสำรวจ



          เป็นการวิจัยที่ไม่มีการสร้างสถานการณ์เชื่อมโยงใด ๆ กับข้อมูลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นการค้นหาความจริงตามสภาพการณ์ปัจจุบัน ที่ปรากฏอยู่หรือให้เห็นว่ามีข้อเท็จจริง อย่างไรที่ปรากฏอยู่มีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยไม่มีการจัดกระทำเพื่อควบคุมตัวแปรใดๆ รูปแบบการวิจัยแบบสำรวจจำแนกได้ดังนี้ การสำรวจเชิงบรรยาย การสำรวจเชิงเปรียบเทียบ การสำรวจเชิงสหสัมพันธ์ การสำรวจเชิงสาเหตุ



การออกแบบการวิจัยในการวิจัยเชิงสำรวจที่สำคัญคือ




  • ออกแบบการเลือกตัวอย่าง

  • ออกแบบการวัดค่าตัวแปร

  • ออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล



          แบบการวิจัยเชิงพัฒนา



          เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นที่จะนำผลการวิจัยมาเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพ การทำงานปกติในองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยอาศัยยุทธศาสตร์ วิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะธรรมชาติของงานหรือหน่วยงานนั้น ๆ



          แบบการวิจัยเชิงประเมิน ( Evaluation Research )



          การวิจัยเชิงประเมินผล ( Evaluation Research ) เป็นรูปแบบการวิจัยชนิดหนึ่ง เหมือนการวิจัยเชิงสำรวจ แต่การวิจัยเชิงประเมินผล เป็นวิธีการวิจัยที่มุ่งหาความรู้+ความจริงมาหาคุณค่า ของสิ่งที่วิจัยนั้นเพื่อให้ผู้บริหารคิดสนใจว่าความยุติโครงการหรือให้ดำเนินการต่อไป ในการวิจัยเชิงประเมินผลนั้น สามารถดำเนินการประเมินได้ใน 3 ระดับ 1. ก่อนการดำเนินงาน 2. ระหว่างดำเนินงาน 3. สิ้นสุดโครงการ



กระบวนการและขั้นตอนการทำวิจัยเชิงประเมินผล



          ขั้นที่ 1 เลือกโครงการและตั้งหัวข้อวิจัย



          ขั้นที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง



          ขั้นที่ 3 กำหนดปัญหา เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการประเมิน



          ขั้นที่ 4 ออกแบบวิจัย วางแผนวิจัยประเมิน



          ขั้นที่ 5 เก็บรวบรวมข้อมูล



          ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล



          ขั้นที่ 7 การเสนอรายงานวิจัยเชิงประเมินผล



          กำหนดประชากรและวิธีการสุ่มตัวอย่าง



          ประชากร ในการวิจัยหมายถึง จำนวนทั้งหมดของกลุ่มบุคคล สัตว์ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการวิจัย โดยบ่างออกเป็น 2 ประเภท ประชากรที่มีจำนวนจำกัดและประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด



1. การเลือกตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น เป็นการเลือกตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ สะดวก ปลอดภัยเช่น



          - การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง



          - การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา



          - การเลือกตัวอย่างตามโอกาส



          - การเลือกตัวอย่างตามสะดวก



          การที่เลือกตัวอย่างโดยไม่ทราบค่าความน่าจะเป็นนี้ไม่เหมาะสมที่จะใช้การคำนวณค่าสถิติอนุมาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะไม่ทราบค่า Sampling error จึงเหมาะสมที่จะใช้กับสถิติบรรยายต่าง ๆ



2. การเลือกตัวอย่างแบบทราบค่าความน่าจะเป็นการเลือกโดยการสุ่ม (Random) ที่แต่ละหน่วยของประชากรมีโอกาสได้รับการเลือกตัวอย่างเท่าเทียมกัน การเลือกตัวอย่างแบบนี้แบ่งออกเป็น 5 วิธี คือ



          - การเลือกตัวอย่างโดยการสุ่ม เป็นวิธีการที่ง่าย ๆ แต่ประชากรต้องไม่ใหญ่มากนัก



          - การเลือกตัวอย่างเป็นระบบ เป็นวิธีใช้ได้ดีในกรณีที่ประชากรมีขนาดใหญ่ที่มีการจัดระบบอย่างใดอย่างหนึ่ง



          - การเลือกตัวอย่างแบบการจัดระดับเป็นวิธีการเลือกตัวอย่างที่มีการจัดขั้นก่อน เพื่อให้ตัวอย่างที่ได้มาจากทุกระดับ



          - การเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างที่มีการแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่ม เช่นเดียวกับการจัดระดับแต่ลักษณะจะไม่เหมือนกัน โดยการแบ่งแบบนี้ลักษณะภายในของประชากรแต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกัน และแต่ละกลุ่มจะมีความคล้ายคลึงกัน แล้วจึงเลือกโดยการสุ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ โดยใช้ทุกหน่วยของกลุ่มย่อยมาเป็นตัวอย่าง



          - การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จะใช้เมื่อประชากรที่ศึกษามีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยกลุ่มย่อย ๆ โดยในกลุ่มย่อย ๆ ประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ ที่มีลักษณะตามที่สนใจคล้าย ๆ กัน



          สร้างเครื่องมือและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ



          การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง ความสามารถวัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการจะวัด และ วัดได้ครอบคลุมพฤติกรรมลักษณะที่ต้องการการกำหนดความเที่ยงตรงตามเนื้อหา นั้นจะต้องกำหนดนิยามตามทฤษฎีและแปลงเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ เพื่อหาตัวชี้วัด ความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง ความคงที่ในการวัดเมื่อวัดซ้ำ ๆ กันหลายครั้งจะให้ค่าเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงกันการหาค่าความเชื่อมั่นมีหลายวิธีการดังนี้



1. วิธีการสอบซ้ำ



2. วิธีใช้ฟอร์มคู่ขนาน



3. วิธีหาความสอดคล้องภายใน



3.1 วิธีแบ่งครึ่ง



3.2 วิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน



3.3 วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่า



การวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Design) 



          การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) เป็นการจำแนกข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อจัดข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบหมวดหมู่ แล้วใช้ค่าสถิติช่วยในการสรุปลักษณะของข้อมูลนั้น ๆ ตามลักษณะของตัวแปรที่ศึกษา ในกรณีที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ จะ แตกต่างกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การวิเคราะห์โดยการ จำแนกชนิดและการเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน ของปรากฏการณ์ต่างๆ โดยอาศัยกรอบแนวคิดและทฤษฎีช่วยในการสร้างข้อสรุปนั้น การเลือกใช้สถิติจะพิจารณาจาก



          1. วัตถุประสงค์การวิจัย (เพื่อการบรรยาย, เพื่อเปรียบเทียบ, เพื่อหาความสัมพันธ์, เพื่อสร้างตัวแบบ)



          2. หน่วยการวิเคราะห์ (เอกบุคคล, แบบกลุ่ม)



          3. ระดับการวัดค่าตัวแปร (ระดับกลุ่ม, ระดับอันดับ, ระดับวง, ระดับอัตราส่วน)



          4. การเลือกตัวอย่าง (ใช้การสุ่ม, ไม่มีการสุ่ม)



ดังนั้นเทคนิคการวิเคราะห์และแปลผลขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ดังนี้



          1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีการทางสถิติเป็นวิธีการในการวิเคราะห์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ



                    - สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics)การวิจัยที่มุ่งหมายเพื่อการบรรยายข้อมูลตัวอย่างหรือประชากรโดยไม่อ้างอิงไป



                    - สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) หรือสถิติวิเคราะห์



          2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิควิธีการที่เรียกว่า การจำแนกกลุ่มข้อมูลเชิงคุณภาพ



การวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูล



          ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นนักวิจัยควรจะมีการวางแผนก่อนโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่า ในแต่ละวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะทำการวิเคราะห์อย่างไร ควรจะจัดกระทำข้อมูลอย่างไร และใช้ค่าสถิติใดช่วยในการหาคำตอบตามวัตถุประสงค์นั้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ