หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำต้นฉบับกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-3-042ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำต้นฉบับกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    อาชีพออกแบบกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์  ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    จัดทำต้นฉบับกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ โดยโปรแกรมที่ใช้ในงานพิมพ์  โปรแกรมจัดองศ์ประกอบ วาดและตกแต่งภาพจัดหน้าหนังสือ ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบงานกราฟิก 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    ช่างศิลป์ บรรณาธิการ ช่างภาพ นักออกแบบภาพประกอบ ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50203.01 ใช้โปรแกรมในการออกแบบต้นฉบับกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ 1.1 ใช้โปรแกรมทางด้านการออกแบบต้นฉบับกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ให้สอดคล้องกับไฟล์งาน 50203.01.01 17708
50203.01 ใช้โปรแกรมในการออกแบบต้นฉบับกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ 1.2 ใช้เครื่องมือที่อยู่ในโปรแกรมได้อย่างถูกต้องตามลักษณะของงาน 50203.01.02 17709
50203.01 ใช้โปรแกรมในการออกแบบต้นฉบับกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ 1.3 สร้างองค์ประกอบทางกราฟิกให้ตรงตามความรายละเอียดที่ระบุไว้ในงาน 50203.01.03 17710
50203.01 ใช้โปรแกรมในการออกแบบต้นฉบับกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ 1.4 แก้ไขขนาดงาน แก้ไขชนิดและขนาด ของตัวอักษรและสามารถจัดการรูปภาพ ที่มีการเชื่อมโยง (link) ได้ 50203.01.04 17711
50203.01 ใช้โปรแกรมในการออกแบบต้นฉบับกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ 1.5เปลี่ยนแปลงแก้ไข(convert file) และการจัดเก็บไฟล์งาน (save file) ได้ถูกต้องตามชนิดของกระบวนการ 50203.01.05 17712

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถนำขั้นตอนที่มีผู้ออกแบบแล้วทำให้เห็นเป็นรูปธรรม สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานได้อย่างจำกัด ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมและแนะแนวของผู้บังคับบัญชา ผู้ที่จะผ่านคุณวุฒิวิชาชีพระดับ 3 จะต้องผ่านการประเมิน 3 หน่วยสมรรถนะ เป็นผู้มีคุณลักษณะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  คุณวุฒิวิชาชีพสาขางานออกแบบกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ระดับปฏิบัติการ ชั้น 3 จะต้องมีประสบการณ์สาขางานออกแบบกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์ มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี มีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขางานออกแบบกราฟิกหนังสือและสิ่งพิมพ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถใช้โปรแกรมจัดองค์ประกอบ วาดและตกแต่งภาพ และเครื่องมือในโปรแกรม

    2. สามารถตั้งค่า เปลี่ยนแปลง แก้ไข และจัดเก็บไฟล์งานโดยใช้โปรแกรม

    3. สามารถแปลงต้นฉบับเพื่อเก็บเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานพิมพ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. การใช้โปรแกรมจัดองค์ประกอบ วาดและตกแต่งภาพ

    2. มาตราส่วนทางการพิมพ์

    3. ชนิดและความละเอียดของไฟล์รูปภาพบนคอมพิวเตอร์

    4. วิธีการแปลงต้นฉบับและการจัดเก็บเป็นหมวดหมู่


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติที่ต้องการ (The Performance Evidence Required) 

    ไฟล์งานที่ได้จากโปรแกรม และไฟล์งานที่จัดเก็บลงคอมพิวเตอร์



    (ข) หลักฐานความรู้ที่ต้องการ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

    3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง)  วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎีใช้แบบทดสอบความรู้ปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบสัมภาษณ์

    2. การทดสอบภาคปฏิบัติใช้ใบสั่งงาน แบบสังเกตการปฏิบัติงานและพิจารณา จากแฟ้มสะสมผลงาน และเอกสารเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ จะระบุถึงข้อกำหนดการปฏิบัติงาน และข้อมูล/เอกสาร 

    1. โปรแกรมที่ใช้ในงานพิมพ์ได้แก่    โปรแกรมจัดองศ์ประกอบ วาดและตกแต่งภาพจัดหน้าหนังสือ

    2. เครื่องมือในโปรแกรม ได้แก่ เครื่องมือที่สร้างวัตถุขึ้นมาใหม่ได้ สร้างรูปสัญลักษณ์เฉพาะงาน (Icon,Symbol, Character) รูปทรงกราฟิก และชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้อง (menu bar)

    3. สกุลของไฟล์งาน (file extension) ที่ได้จากโปรแกรมที่ใช้ในการพิมพ์ได้แก่ eps, psd, pdf, ai, indd

    4. การจัดการสีทางการพิมพ์ได้แก่    ข้อมลลักษณะเฉพาะของสีบนวัสดุรองพิมพ์แต่ละประเภท (color profile หรือ  ICC profile)

    5. การจัดวางองศ์ประกอบเช่น การจัดวางคอลัมน์ การจัดวางตัวอักษร และการจัดวางรูปภาพ ให้เป็นรูปแบบที่ไปในทิศทางเดียวกัน

    6. ความเหมาะสมของการเสือกใช้ตัวอักษร ได้แก่ ประเภทของงาน เนื้อหาที่ต้องการสื่อสารเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

    7. ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบงานกราฟิก คือ การสร้างรูปแบบของงานด้วยการใช้องค์ประกอบ ศิลป์ได้อย่างเหมาะสมและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

    8. การจัดวางองค์ประกอบตามที่กำหนด คือ การสร้าง template, headline, body text

    9. แบบจำลอง (Mock up) คือ ตัวอย่างงานก่อนพิมพ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

        1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบประเมินการสัมภาษณ์

        2) ใบสั่งงาน

        3) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน  

        4) แฟ้มสะสมผลงาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ