หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลหลังการประชาสัมพันธ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-050ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลหลังการประชาสัมพันธ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถประเมินผลหลังจากการประชาสัมพันธ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรูปแบบที่เหมาะสมทั้งการประเมินสื่อ ประเมินผลตอบรับ ประเมินผลจากการทำงาน รวมถึงประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นในงานได้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนการประชาสัมพันธ์ขององค์กร เข้าใจกลุ่มเป้าหมายและรู้จักช่องทางในการสื่อสารต่างๆ รวมถึงความรู้เรื่องการสำรวจข้อมูลในหลากหลายช่องทาง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04103.01 ประเมินความสําเร็จ/ความล้มเหลวของแผนงาน 1. ประเมินและสรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลวด้านคน 04103.01.01 136397
04103.01 ประเมินความสําเร็จ/ความล้มเหลวของแผนงาน 2. ประเมินและสรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลว ด้านงบประมาณ 04103.01.02 136398
04103.01 ประเมินความสําเร็จ/ความล้มเหลวของแผนงาน 3. ประเมินและสรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลว ด้านวัสดุอุปกรณ์ 04103.01.03 136399
04103.01 ประเมินความสําเร็จ/ความล้มเหลวของแผนงาน 4. ประเมินและสรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลว ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร 04103.01.04 136400
04103.02 วัดผลสื่อ 1. ระบุเกณฑ์การวัดผลสื่อ 04103.02.01 136401
04103.02 วัดผลสื่อ 2. เปรียบเทียบสื่อที่เผยแพร่ตามช่องทางต่างๆ ได้ 04103.02.02 136402
04103.02 วัดผลสื่อ 3. สรุปการประเมินสื่อเชิงสถิติได้ 04103.02.03 136403
04103.02 วัดผลสื่อ 4. สรุปการประเมินสื่อเชิงคุณภาพได้ 04103.02.04 136404
04103.03 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการสื่อสาร 1. ประเมินและสรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลวของความพึงพอใจต่อ กลุ่มเป้าหมาย 04103.03.01 136405
04103.03 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการสื่อสาร 2. ประเมินและสรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลว ของความพึงพอใจต่อ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน 04103.03.02 136406
04103.03 ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการสื่อสาร 3. ประเมินและสรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลว ของความพึงพอใจต่อ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก 04103.03.03 136407
04103.04 การประเมินผลการตอบรับต่อปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ 1. สรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลวของแผนงาน/โครงการ ด้านการบริหารจัดการ 04103.04.01 136408
04103.04 การประเมินผลการตอบรับต่อปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ 2. สรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลว ของแผนงาน/โครงการ ด้านกระบวนการผลิต 04103.04.02 136409
04103.04 การประเมินผลการตอบรับต่อปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ 3. สรุปผลความสำเร็จ/ล้มเหลว ของแผนงาน/โครงการ ด้านการสื่อสาร 04103.04.03 136410
04103.04 การประเมินผลการตอบรับต่อปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ 4. สรุปความเสี่ยงที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการทั้งหมด 04103.04.04 136411

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ประเมินและสรุปผล

  2. รวบรวมและสรุปความเสี่ยง

  3. การสัมภาษณ์และจดบันทึก

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. การวางแผนและติดตามประเมินผล

  2. การบริหารจัดการทรัพยากรและบุคคล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินผลหลังการประชาสัมพันธ์โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการประเมินผลหลังการประชาสัมพันธ์โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการประเมินผลหลังจากการประชาสัมพันธ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในรูปแบบที่เหมาะสมทั้งการประเมินสื่อ ประเมินผลตอบรับ ประเมินผลจากการทำงาน รวมถึงประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นในงานได้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การประเมินผลภายหลังทำการประชาสัมพันธ์ (Post-Testing) เป็นการประเมินผลภายหลังจากที่ปฏิบัติตามแผนไปแล้ว เพื่อแก้ไขปรับปรุงแผนงานประชาสัมพันธ์ให้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการตรวจรายงานผลการดำเนินงานเพื่อหาแนวทางที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับประกอบการพิจารณาในการวางแผนดำเนินงานประชาสัมพันธ์ แม้การประเมินผลทั้ง 2 วิธีดังข้างต้นนี้ จะเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์ทำให้แผนงานประชาสัมพันธ์สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นก็ตาม แต่นักประชาสัมพันธ์ก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ความสะดวกรวดเร็ว และความประหยัดด้วย



          การประเมินผลสรุปของงาน (Summative Evaluation) เป็นการประเมินผลเพื่อตัดสินคุณค่าของโครงการ/กิจกรรมทางการสื่อสารทั้งหมด ทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐหรือเอกชน ต่างก็มีกลุ่มงานหรือฝ่ายประเมินผล ที่จะทำหน้าที่สรุปผลจากการดำเนินงานหรือลงมือปฎิบัติงานไปตามแผนที่ได้วางเอาไว้นั้น ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งการประเมินผลนี้ สามาราถนำเสนอในรูปของตัวเลยสถิติ แสดงกราฟ เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน หรือแม้กระทั่งสรุปว่ากิจกรรม / โครงการนั้นได้สื่อสารประสบความสำเร็จหรือไม่ภายใต้พื้นฐานการนำข้อมูลอ้างอิงจากการประเมินผลมาสรุปให้เห็นผลงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ