หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลระหว่างการประชาสัมพันธ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-049ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลระหว่างการประชาสัมพันธ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถประเมินผลตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างเหมาะสม สำหรับการประเมินหว่างการประชาสัมพันธ์ต้องสามารถวัดความสนใจ นำข้อมูลในส่วนต่างๆมาเปรียบเทียบเพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารวิเคราะห์ได้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนการประชาสัมพันธ์ขององค์กร เข้าใจกลุ่มเป้าหมายและรู้จักช่องทางในการสื่อสารต่างๆ รวมถึงติดตามประเด็นและผลของการประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04102.01 ติดตามความก้าวหน้าของการทำงาน 1. เปรียบเทียบการเผยแพร่เทียบกับเป้าหมาย 04102.01.01 136384
04102.01 ติดตามความก้าวหน้าของการทำงาน 2. ประเมินจํานวนกิจกรรมที่แล้วเสร็จ 04102.01.02 136385
04102.01 ติดตามความก้าวหน้าของการทำงาน 3. เปรียบเทียบทรัพยากรและเวลาที่ใช้ไป 04102.01.03 136386
04102.01 ติดตามความก้าวหน้าของการทำงาน 4. เปรียบเทียบทรัพยากรและเวลาที่ใช้ไป ด้านผลตอบรับต่อกําลังคน 04102.01.04 136387
04102.01 ติดตามความก้าวหน้าของการทำงาน 5. เปรียบเทียบการเผยแพร่สื่อในแต่ละช่องทาง 04102.01.05 136388
04102.02 ติดตามความก้าวหน้าด้านประสิทธิผล 1. ประเมินเกณฑ์การบรรลุเป้าหมายของแผนงานตามวัตถุประสงค์ 04102.02.01 136389
04102.02 ติดตามความก้าวหน้าด้านประสิทธิผล 2. ประเมินการมีส่วนร่วมของการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย 04102.02.02 136390
04102.02 ติดตามความก้าวหน้าด้านประสิทธิผล 3. สำรวจความพึงพอใจจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิได้ 04102.02.03 136391
04102.02 ติดตามความก้าวหน้าด้านประสิทธิผล 4. สำรวจความพึงพอใจจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิได้ 04102.02.04 136392
04102.03 ประเมินความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการประชาสัมพันธ์ 1. สัมภาษณ์และบันทึกผลจากบุคลากรผู้ปฏิบัติติงาน 04102.03.01 136393
04102.03 ประเมินความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการประชาสัมพันธ์ 2. สัมภาษณ์และบันทึกผลจากกลุ่มเป้าหมาย 04102.03.02 136394
04102.03 ประเมินความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการประชาสัมพันธ์ 3. สัมภาษณ์และบันทึกผลจาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 04102.03.03 136395
04102.03 ประเมินความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการประชาสัมพันธ์ 4. สำรวจทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในโครงการ 04102.03.04 136396

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การประเมินสถานการณ์

  2. การประเมินทรัพยากร

  3. การสื่อสารระหว่างบุคคล

  4. การสัมภาษณ์และจดบันทึก

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. การวางแผนและติดตามประเมินผล

  2. การบริหารจัดการทรัพยากรและบุคคล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการออกแบบแนวทางการประเมินผล ออกแบบแบบประเมิน วิธีประเมิน และตั้งเกณฑ์ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการประเมินหว่างการประชาสัมพันธ์ได้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนการประชาสัมพันธ์ขององค์กร เข้าใจกลุ่มเป้าหมายและรู้จักช่องทางในการสื่อสารต่างๆ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การประเมินผลระหว่างการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ (during-testing) เป็นการประเมินผลระว่างดำเนินการตามแผนที่วางไว้ เพื่อติดตามความก้าวหน้า เปรียบเทียบการเผยแพร่ ทรัพยากร จำนวนคน รวมถึงการสำรวจความพึงพอใจของที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์นั้นๆ ซึ่งจะเก็บได้ทั้งแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูล และนำข้อมูลเหล่านั้นไปปรับปรุงในการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ต่อไป



          ผลลัพธ์ของการประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ยากจะวัดได้ เพราะการประชาสัมพันธ์มักจะถูกใช้ร่วมกับเครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดอื่นๆ ตัววัดที่มักจะถูกนำมาใช้ในการประเมินผลประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดมี 3 ประเภท ได้แก่




  1. จำนวนผู้ได้ชมหรือได้ยิน (Exposure) เป็นตัววัดประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์ที่ง่ายที่สุดในการวัดจำนวนของผู้ได้ยินหรือได้ชมจากสื่อ อย่างไรก็ตามการวัดจำนวนผู้ได้ยินไม่สามารถวัดจำนวนผู้ชมได้ยินหรือระลึกได้ของข้อความที่ได้ยินอย่างแท้จริง รวมถึงไม่สามารถวัดสิ่งที่พวกเขาคิดหลังจากได้ยิน

  2. การเปลี่ยนแปลงการตระหนัก/ความเข้าใจ/ทัศนคติ (Awareness/Comprehension/Attitude Change) เป็นตัววัดที่ดีกว่าแบบแรก เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการตระหนัก ความเข้าใจ และทัศนคติของผู้ชมที่มีผลจากการประชาสัมพันธ์ทางการตลาด เช่น จำนวนผู้ชมที่ระลึกได้ในหัวข้อข่าว จำนวนผู้ชมที่บอกต่อผู้อื่นหลังจากได้ชม เป็นต้น

  3. ผลกระทบของยอดขายและกำไร (Sales-And-Profit Contribution) เป็นตัววัดที่ดีที่สุดหากสามารถวัดได้ เช่น การวัดปริมาณยอดขายที่เพิ่มขึ้นหลังจากมีการประชาสัมพันธ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ