หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-5-047ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบเอกสาร การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วรรณคดีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักวิจัยมีความคิดใหม่ๆ และวิธีการใหม่ๆ ในการทำวิจัยและจะเป็นส่วนเสริมให้งานวิจัยสำเร็จ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04302.01 รวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ 1. สามารถเขียนสรุปประเด็นเรียงตามหัวข้อลำดับเวลา จากการทบทวนงานวิจัยหรือเอกสารต่างๆ ได้ 04302.01.01 136364
04302.01 รวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ 2. เปรียบเทียบประเด็นที่มีข้อสรุปหรือหลักฐานได้ 04302.01.02 136365
04302.01 รวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ 3. สืบค้นทฤษฎีและแนวคิดจากช่องทางที่น่าเชื่อถือ 04302.01.03 136366
04302.02 รวบรวมข้อมูลสถานภาพทางการวิจัย 1. อธิบายถึงการบูรณาการความคิด และหลักการได้ 04302.02.01 136367
04302.02 รวบรวมข้อมูลสถานภาพทางการวิจัย 2. อธิบายอย่างชัดเจนทุกด้านของความขัดแย้ง หลีกเลี่ยงอคติ 04302.02.02 136368
04302.02 รวบรวมข้อมูลสถานภาพทางการวิจัย 3. ระบุประเด็นที่มีความเห็นร่วมกัน และขัดแย้งกันได้ 04302.02.03 136369
04302.02 รวบรวมข้อมูลสถานภาพทางการวิจัย 4. ระบุองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์ได้ 04302.02.04 136370
04302.03 รวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการวิจัยที่เหมาะสม 1. ระบุการประเมินความพยายามของนักวิจัยโดยเปรียบเทียบกับความพยายามของผู้อื่นในเรื่องที่ใกล้เคียงกัน 04302.03.01 136371
04302.03 รวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการวิจัยที่เหมาะสม 2. ระบุความคิดใหม่ๆ และวิธีการใหม่ๆ ในการทำวิจัยจากการทบทวนวรรณกรรม 04302.03.02 136372
04302.03 รวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการวิจัยที่เหมาะสม 3. ระบุการวิจัยของตนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยอื่นๆ อย่างไร 04302.03.03 136373
04302.03 รวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการวิจัยที่เหมาะสม 4. ระบุการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ตนอาจประสบต่อไป 04302.03.04 136374

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสืบค้นข้อมูล

  2. ทักษะการทำวิจัย

  3. ทักษะการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

  4. ทักษะการคิด วิเคราะห์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เรื่องการทำวิจัย

  2. ความรู้ในเรื่องจริยธรรมในการวิจัย

  3. ความรู้เรื่องการประชาสัมพันธ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ การต่อยอดความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ ความต้องการ และความเข้าใจในการวิเคราะห์ผลประโยชน์ ผลกระทบ ที่ส่งผลในการตัดสินใจของลูกค้าหรือองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบเอกสาร การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วรรณคดีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลขั้นต้นที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เป็นข้อมูลที่ลงมือเก็บครั้งแรกด้วยตนเอง หรือจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แล้วนำเอาข้อมูลเหล่านั้นใช้เป็นเอกสารอ้างอิง เมื่อต้องการข้อมูลเหล่านี้ก็จะไปทำการวัดหรือสังเกตเอามาโดยตรง ได้มาจากการสำรวจ การสัมภาษณ์ การทดลอง และการส่งแบบสอบถามไปให้กรอก เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้องและทันสมัยเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ



          ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว ที่มีผู้หนึ่งผู้ใด หรือหน่วยงานได้ทำการเก็บรวบรวมหรือเรียบเรียงไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น ข้อมูลทางสถิติต่างๆ ที่มีการบันทึกไว้แล้ว ข้อมูลจากรายงานการวิจัย บันทึกการนิเทศ เป็นต้น แล้วสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อ้างอิงได้เลย ข้อมูลที่ได้อาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ การที่จะตัดสินใจว่าข้อมูลไหนเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลทุติยภูมินั้น มีหลักสังเกตง่ายๆ คือ ถ้าเป็นข้อมูลปฐมภูมิจะต้องเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนหรือผู้ประเมินผลได้พบเหตุการณ์ต่างๆ หรือลงมือสำรวจศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเริ่มแรกด้วยตนเองมิได้คัดลอกมาจากผู้อื่น แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่ได้คัดลอกมาจากบุคคลอื่นๆ แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ ถือว่าเป็นข้อมูลทุติยภูมิ



          ลักษณะข้อมูล จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ



          1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) เป็นข้อมูลที่บอกเป็นตัวเลขหรือปริมาณที่มีอยู่จริงของตัวแปรแต่ละตัวที่กำลังสนใจศึกษาอยู่ เช่น จำนวนเกษตรกร รายได้ของเกษตรกร พื้นที่ปลูกหม่อน เป็นต้น



          2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) เป็นข้อมูลไม่สามารถบอกเป็นตัวเลขได้ แต่จะบอกในลักษณะคำพูดหรือบรรยายที่แสดงคุณลักษณะที่แตกต่างของตัวแปรต่างๆ โดยพยายามแยกเป็นกลุ่มตามคุณสมบัติ เช่น อาชีพ เพศ ศาสนา พันธุ์หม่อนที่ปลูก พันธุ์ไหมที่เลี้ยง การใช้ปุ๋ย เป็นต้น



          ลักษณะของข้อมูลที่ดี  ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้



          1. มีความถูกต้อง แม่นยำ สามารถให้ข้อเท็จจริงที่ปราศจากความลำเอียงหรืออคติ



          2. มีความเป็นปัจจุบัน ทันสมัยอยู่เสมอ



          3. มีความสมบูรณ์ครบถ้วน สามารถให้ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนทุกด้านตามประเด็นที่ต้องการ



          4. มีความชัดเจน กะทัดรัด ไม่เยิ่นเย่อ หรือมีรายละเอียดมากจนเกินไป



          5. มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และอยู่ในขอบเขตของความต้องการที่จะศึกษา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ