หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดโจทย์และขอบเขตการวิจัยได้

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-5-046ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดโจทย์และขอบเขตการวิจัยได้

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการต้องกำหนดข้อความที่เป็นปัญหาและวัตถุประสงค์ในการวิจัยให้ชัดเจน การกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นการค้นหาคำตอบที่ต้องการจากงานวิจัย โดยเลือกปัญหาในการวิจัยต้องพิจารณาจากความรู้ ทัศนคติ ความสามารถของนักวิจัย แหล่งความรู้ที่จะเป็นส่วนเสริมให้งานวิจัยสำเร็จ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04301.01 กำหนดปัญหาที่จะดำเนินการวิจัย 1. เลือกปัญหาในการวิจัยโดยพิจารณาจากความรู้ ทัศนคติ ได้ 04301.01.01 136352
04301.01 กำหนดปัญหาที่จะดำเนินการวิจัย 2. ระบุปัญหาที่แสดงถึงการริเริ่มแนวทางเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ต่อได้ 04301.01.02 136353
04301.01 กำหนดปัญหาที่จะดำเนินการวิจัย 3. ระบุปัญหาที่ป็นแนวทางกรอบในการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี งานวิจัยได้ 04301.01.03 136354
04301.01 กำหนดปัญหาที่จะดำเนินการวิจัย 4. ระบุแนวตัวแปร และสมมุติฐานได้ 04301.01.04 136355
04301.02 กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย 1. ระบุข้อความที่เป็นปัญหา และวัตถุประสงค์ในการวิจัยให้ชัดเจน 04301.02.01 136356
04301.02 กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย 2. ระบุแนวทางการค้นหาคำตอบที่ต้องการจากงานวิจัย 04301.02.02 136357
04301.02 กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย 3. ระบุแนวทางวิจัยตามวัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ 04301.02.03 136358
04301.02 กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย 4. ระบุแนวทางวิจัยตามวัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์ที่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน 04301.02.04 136359
04301.03 กำหนดกรอบแนวคิดและตั้งสมมติฐาน นิยามศัพท์ 1. ระบุสมมติฐานในการวิจัย 04301.03.01 136360
04301.03 กำหนดกรอบแนวคิดและตั้งสมมติฐาน นิยามศัพท์ 2. ระบุประเภทของตัวแปรต้นตัวแปรตาม 04301.03.02 136361
04301.03 กำหนดกรอบแนวคิดและตั้งสมมติฐาน นิยามศัพท์ 3. ระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม 04301.03.03 136362
04301.03 กำหนดกรอบแนวคิดและตั้งสมมติฐาน นิยามศัพท์ 4. เขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่างที่อาจเป็นไปได้ 04301.03.04 136363

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสืบค้นข้อมูล

  2. ทักษะการทำวิจัย

  3. ทักษะการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

  4. ทักษะการคิด วิเคราะห์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เรื่องการทำวิจัย

  2. ความรู้ในเรื่องจริยธรรมในการวิจัย

  3. ความรู้เรื่องการประชาสัมพันธ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดโจทย์และขอบเขตการวิจัยได้โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ กำหนดโจทย์และขอบเขตการวิจัยได้ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และทักษะในการการกำหนดข้อความที่เป็นปัญหาและวัตถุประสงค์ในการวิจัยให้ชัดเจน การกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นการค้นหาคำตอบที่ต้องการจากงานวิจัย โดยเลือกปัญหาในการวิจัยต้องพิจารณาจากความรู้ ทัศนคติ ความสามารถของนักวิจัย



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย



กำหนดปัญหาที่จะดำเนินการวิจัย



กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย



ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ( ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัย )



กำหนดกรอบแนวคิดและตั้งสมมติฐาน นิยามศัพท์



กำหนดแบบการวิจัย



กำหนดประชากรและวิธีการสุ่มตัวอย่าง



สร้างเครื่องมือและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ



การรวมรวมข้อมูล ( แหล่งปฐมภูมิ, แหล่งทุติยภูมิ)



การวิเคราะห์ข้อมูล



การนำเสนอผล ( การเสนอรายงานการวิจัย)



กำหนดปัญหาที่จะดำเนินการวิจัย



          เป็นการกำหนดปัญหาของการวิจัย และเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการวิจัยและในการเลือกปัญหาในการวิจัยต้องพิจารณาจากความรู้ ทัศนคติ ความสามารถของนักวิจัย แหล่งความรู้ที่จะเป็นส่วนเสริมให้งานวิจัยสำเร็จ ประชากรและวิธีการสุ่มตัวอย่างการรวบรวมข้อมูล รวมทั้งเงินทุน เวลาที่จะทำให้งานวิจัยสำเร็จ ซึ่งมีข้อควรพิจารณาในการเลือกปัญหาคือ




  • ต้องเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ

  • สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่มีเหตุผล

  • มีข้อมูลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือสนับสนุน

  • เป็นปัญหาที่แสดงถึงการริเริ่ม ซึ่งการกำหนดปัญหาดังกล่าวจะเป็นกรอบในการช่วยชี้แนวทางให้นักวิจัยกำหนดวัตถุประสงค์

  • เป็นกรอบในการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี งานวิจัย

  • เป็นแนวทางกำหนดตัวแปรและสมมุติฐาน ช่วยกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินการวิจัย



          กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย



          การกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย (Statement of research objectives) เมื่อนักวิจัยตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่จะทำการวิจัยแล้ว นักวิจัยต้องกำหนดข้อความที่เป็นปัญหาและวัตถุประสงค์ในการวิจัยให้ชัดเจน การกำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัยเป็นการค้นหาคำตอบที่ต้องการจากงานวิจัย วิธีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่นิยมใช้ที่สุดคือการตั้งสมมติฐานในการวิจัย



          กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework ) หมายถึง แนวคิดของนักวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปร ตาม ที่ใช้ศึกษาในการวิจัยครั้งนั้น ๆ โดยมีที่มาจากการทบทวนเอกสารวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียนเป็นแผนภาพเชื่อมโยงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่ศึกษาในงานวิจัย ประโยชน์ของกรอบความคิดในการวิจัย




  1. ช่วยชี้ให้เห็นทิศทางของการวิจัยและประเภทของตัวแปรต้นตัวแปรตาม

  2. ช่วยชี้ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม

  3. บอกแนวทางในการออกแบบการวิจัย

  4. บอกแนวทางการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย

  5. บอกแนวทางการเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย

  6. บอกแนวทางการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล

  7. บอกกรอบการแปรผลและอภิปรายผลการวิจัย



          การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความ แตกต่างที่อาจเป็นไปได้ ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป



          คำนิยามศัพท์ หลักการให้คำนิยามตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยทุกตัวเป็นการให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการ ที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากคำศัพท์บางคำมีความหมายได้หลายคำจะให้เฉพาะความหมายที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เท่านั้น ความหมายที่ให้จะเป็นความหมายเชิงปฏิบัติการ เป็นคำจำกัดความที่ให้ไว้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกันกับนักวิจัย การให้ความหมายต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ค้านกับแนวคิดทฤษฎี และมีความหมายที่แน่นอนชัดเจน วัดได้เป็นอย่าเดียวกันไม่ว่าใครวัด การให้คำนิยามศัพท์ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ




  1. เพื่อให้เกิดความคงที่ของตัวแปรที่ศึกษา ตลอดระยะเวลาของการวิจัย

  2. เพื่อนำไปสู่การสร้างเครื่องมือวัดและวิธีการวัดตัวแปรนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ