หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแนวทางการประเมินผลระหว่างการประชาสัมพันธ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-5-044ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแนวทางการประเมินผลระหว่างการประชาสัมพันธ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 2432 Public Relations Professionals


1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถออกแบบแนวทางการประเมินผล ออกแบบแบบประเมิน วิธีประเมิน และตั้งเกณฑ์ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการประเมินหว่างการประชาสัมพันธ์ได้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนการประชาสัมพันธ์ขององค์กร เข้าใจกลุ่มเป้าหมายและรู้จักช่องทางในการสื่อสารต่างๆ รวมถึงติดตามประเด็นและผลของการประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02202.01 ติดตามความก้าวหน้าของแผนงาน 1. สร้างเกณฑ์ประเมินผลผลิตเทียบกับเป้าหมาย 02202.01.01 136328
02202.01 ติดตามความก้าวหน้าของแผนงาน 2. สร้างเกณฑ์ประเมินจํานวนกิจกรรมที่แล้วเสร็จ 02202.01.02 136329
02202.01 ติดตามความก้าวหน้าของแผนงาน 3. สร้างเกณฑ์ประเมินทรัพยากรและเวลาที่ใช้ไป ด้านผลผลิตต่อค่าใช้จ่าย 02202.01.03 136330
02202.01 ติดตามความก้าวหน้าของแผนงาน 4. สร้างเกณฑ์ประเมินทรัพยากรและเวลาที่ใช้ไป ด้านผลตอบรับต่อกําลังคน 02202.01.04 136331
02202.01 ติดตามความก้าวหน้าของแผนงาน 5. สร้างเกณฑ์ประเมินทรัพยากรและเวลาที่ใช้ไป ด้านผลตอบรับต่อหน่วยเวลา 02202.01.05 136332
02202.01 ติดตามความก้าวหน้าของแผนงาน 6. สร้างเกณฑ์ประเมินทรัพยากรและเวลาที่ใช้ไปด้าน การประหยัดทรัพยากรการจัดการ 02202.01.06 136333
02202.02 สร้างแบบประเมินความก้าวหน้าด้านประสิทธิผล 1. สร้างเกณฑ์วัดระดับการบรรลุเป้าหมายของโครงการ 02202.02.01 136334
02202.02 สร้างแบบประเมินความก้าวหน้าด้านประสิทธิผล 2. สร้างเกณฑ์วัดจำนวนการมีส่วนร่วมของโครงกับกลุ่มเป้าหมาย 02202.02.02 136335
02202.02 สร้างแบบประเมินความก้าวหน้าด้านประสิทธิผล 3. สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจต่อกลุ่มเป้าหมาย 02202.02.03 136336
02202.03 สร้างแบบประเมินความเสี่ยง 1. ออกแบบแบบสัมภาษณ์และบันทึกผลจากบุคลากรผู้ปฏิบัติติงาน 02202.03.01 136337
02202.03 สร้างแบบประเมินความเสี่ยง 2. ออกแบบแบบสัมภาษณ์และบันทึกผลจากกลุ่มเป้าหมาย 02202.03.02 136338
02202.03 สร้างแบบประเมินความเสี่ยง 3. ออกแบบแบบสัมภาษณ์และบันทึกผลจาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 02202.03.03 136339
02202.03 สร้างแบบประเมินความเสี่ยง 4. ออกแบบแบบสำรวจทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในโครงการ 02202.03.04 136340

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การประเมินสถานการณ์

  2. การประเมินทรัพยากร

  3. การสื่อสารระหว่างบุคคล

  4. การสัมภาษณ์และจดบันทึก

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. การวางแผนและติดตามประเมินผล

  2. การบริหารจัดการทรัพยากรและบุคคล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการออกแบบแนวทางการประเมินผล ออกแบบแบบประเมิน วิธีประเมิน และตั้งเกณฑ์ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการประเมินหว่างการประชาสัมพันธ์ได้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแผนการประชาสัมพันธ์ขององค์กร เข้าใจกลุ่มเป้าหมายและรู้จักช่องทางในการสื่อสารต่างๆ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การออกแบบแนวทางการประเมินระหว่างการประชาสัมพันธ์ ในที่นี้หมายถึงการออกแบบการประเมินในช่วงของการนำสื่อเผยแพร่ออกไปประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆโดยแบ่งออกเป็น 2 การประเมิน คือ 1. การประเมินผลสื่อ การประเมินผลของการสื่อสาร 2. การประเมินสิ่งแวดล้อมภายนอก เกี่ยวกับการเข้าถึง รับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชื่อเสียง ภาพลักษณ์ขององค์กร ในระหว่างที่ทำการประชาสัมพันธ์ออกไปในช่องทางต่างๆแล้ว เป็นต้น



          การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลความก้าวหน้าของแผนสื่อสารระหว่างที่กำลังดำเนินการ หรือปฎิบัติตามแผน เช่นเดียวกับกระบวนการเริ่มต้นทำแผน ซึ่งจะต้องนำเอาการประเมินผลในแต่ละครั้งมารวบรวม และวิเคราะห์เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการสื่อสารนั้น ซึ่งจะทำกระบวนการอย่างนี้ต่อไปตลอดทั้งกระบวนการที่ลงมือปฎิบัติ เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน เมื่อใดก็ตามที่ประเมินแล้วว่า ความคืบหน้านั้นจะเกิดไปในทิศทางหรือแนวทางใด หากไม่ตรงตามที่ได้วางแผนเอาไว้ ก็สามารถปรับแก้ไขแผนก่อนที่จะดำเนินงานไปจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการสื่อสาร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ