หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดกลวิธีทางการประชาสัมพันธ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-042ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดกลวิธีทางการประชาสัมพันธ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถกำหนดกลวิธีและวิธีการการประชาสัมพันธ์ได้ โดยนำข้อมูลที่วิเคราะห์เกี่ยวกับธุรกิจ โจทย์ และวัตถุประสงค์ของธุรกิจ มาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติ ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายสามารถต่อยอดการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ และนำเสนอช่องทางต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02104.01 กำหนดวิธีการประชาสัมพันธ์ 1. ศึกษาวัตถุประสงค์เพื่อนำมาออกแบบวิธีการสื่อสารได้ 02104.01.01 136301
02104.01 กำหนดวิธีการประชาสัมพันธ์ 2. ศึกษากลุ่มเป้าหมายเพื่อนำมาออกแบบวิธีการสื่อสารได้ 02104.01.02 136302
02104.01 กำหนดวิธีการประชาสัมพันธ์ 3. ออกแบบวิธีการประชาสัมพันธ์ 02104.01.03 136303
02104.02 กำหนดช่องทางและสื่อการประชาสัมพันธ์ 1. ศึกษากลยุทธ์เพื่อนำมาออกแบบช่องทางสื่อสารได้ 02104.02.01 136304
02104.02 กำหนดช่องทางและสื่อการประชาสัมพันธ์ 2. ศึกษาวิธีการประชาสัมพันธ์เพื่อนำมาออกแบบช่องทางสื่อสารได้ 02104.02.02 136305
02104.02 กำหนดช่องทางและสื่อการประชาสัมพันธ์ 3. จำแนกช่องทางการสื่อสารได้ 02104.02.03 136306
02104.02 กำหนดช่องทางและสื่อการประชาสัมพันธ์ 4. จัดลำดับการเลือกช่องทางการสื่อสารได้ 02104.02.04 136307
02104.03 กำหนดกรอบเวลา 1. ระบุระยะเวลาการนำเสนอสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร 02104.03.01 136308
02104.03 กำหนดกรอบเวลา 2. วางแผนเรื่องระยะเวลาในการปฏิบัติงานได้ 02104.03.02 136309
02104.03 กำหนดกรอบเวลา 3. วางแผนเรื่องเวลาการวางสื่อลงในช่องทางต่างๆ 02104.03.03 136310
02104.03 กำหนดกรอบเวลา 4. ระบุระยะเวลาการปล่อยสื่อให้อยู่ในสังคม 02104.03.04 136311
02104.04 กำหนดทรัพยากร 1. ระบุจำนวนคนที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ 02104.04.01 136312
02104.04 กำหนดทรัพยากร 2. ระบุงบประมาณที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ 02104.04.02 136313
02104.04 กำหนดทรัพยากร 3. ระบุ Supplier ที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ในช่องทางที่เลือกได้ 02104.04.03 136314
02104.04 กำหนดทรัพยากร 4. ระบุวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ 02104.04.04 136315
02104.05 กำหนดผู้รับผิดชอบ 1. จำแนกงานของวิธีการประชาสัมพันธ์ได้ 02104.05.01 136316
02104.05 กำหนดผู้รับผิดชอบ 2. สรุปวิธีการที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ 02104.05.02 136317
02104.05 กำหนดผู้รับผิดชอบ 3. ระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละงานการประชาสัมพันธ์ได้ 02104.05.03 136318

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์

  2. ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

  3. ทักษะทางภาษาและการสื่อสาร

  4. ทักษะการบริหารจัดการ

  5. ทักษะทางสังคม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้พื้นฐานทางการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์

  2. ความรู้ด้านภาษาและไวยากรณ์

  3. ความรู้ด้านการวางแผนและการจัดการ

  4. ความรู้ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค

  5. ความรู้ด้านสถานการณ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

  6. ความรู้ด้านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดกลวิธีการประชาสัมพันธ์ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการกำหนดกลวิธีและวิธีการการประชาสัมพันธ์ได้ โดยนำข้อมูลที่วิเคราะห์เกี่ยวกับธุรกิจ โจทย์ และวัตถุประสงค์ของธุรกิจ มาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติ ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายสามารถต่อยอดการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ และนำเสนอช่องทางต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การวางแผนเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่งในการทํางาน ดังนั้น นักประชาสัมพันธ์จึงต้องมีความรู้ด้านการวางแผน เพื่อจะได้นําความรู้ด้านการวางแผนนี้มาใช้ในการวางแผนประชาสัมพันธ์ต่อไป ซึ่งขั้นตอนแรกของการวางแผน คือการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ควรนํามาวิเคราะห์คือ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เราทราบจุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W) โอกาส(O) และภัยคุกคาม(T) ขององค์กรตามหลัก SWOT           วิธีการประชาสัมพันธ์ (Public Relations) ซึ่งหมายถึงการดำเนินงานเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อมวลชนและการจัดกิจกรรมเพื่อสาธารณะอย่างมีแผนและต่อเนื่องสม่ำเสมอ



          การประชาสัมพันธ์ภายใน (Internal Public Relations) คือ การสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มบุคคลภายในสถาบันเอง อันได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ เสมียน พนักงาน ลูกจ้าง รวมตลอดจนถึงนักการภารโรง คนขับรถภายในองค์การสถาบันให้เกิดมีความรักใครกลมเกลียว สามัคคีกันในหมู่เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งด้านการเสริมสร้างขวัญ และความรักใครผูกพัน จงรักภักดี (Loyalty) ต่อหน่วยงานการประชาสัมพันธ์ภายใน จึงมีความสำคัญมาก การประชาสัมพันธ์ภายนอกองค์การ สถาบันจะดีไปไม่ได้เลยหากการประชาสัมพันธ์ภายในองค์การสถาบันยังไร้ประสิทธิภาพ เพราะความสัมพันธ์อันดีภายในหน่วยงานจะมีผลสะท้อนไปกับการสร้างความสัมพันธ์ภายนอกด้วย และการสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในหน่วยงานยังเอื้ออำนวยให้การบริการ และการดำเนินงานขององค์การสถาบันเป็นไปด้วยความราบรื่น คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการที่พนักงาน ลูกจ้างภายในสถาบันมีความเข้าใจในนโยบาย และการดำเนินงานของสถาบันเป็นอย่างดี ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้าง ประสิทธิภาพแก่การประชาสัมพันธ์ภายนอกด้วยสำหรับสื่อและเครื่องมือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ภายในนั้น อาจใช้การติดต่อสื่อสารด้วยวาจา แบบซึ่งหน้า (Face of Face) หรืออาจใช้สิ่งพิมพ์ภายในองค์การ (House Journal) ช่วย เช่น หนังสือเวียน จดหมายของภายใน วารสารภายใน เป็นต้น



          การประชาสัมพันธ์ภายนอก (External Public Relations) คือ การสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนภายนอก กลุ่มต่าง ๆ อันได้แก่ประชาชนทั่วไป และประชาชนที่องค์การสถาบันเกี่ยวข้อง เช่น ผู้นำความคิดเห็น ผู้นำในท้องถิ่น ลูกค้า ผู้บริโภค รวมทั้งชุมชนละแวกใกล้เคียง ฯลฯ เพื่อให้กลุ่มประชาชนเหล่านี้เกิดความรู้ ความเข้าใจในตัวสถาบัน และให้ความร่วมมือแก่สถาบันด้วยดี การทำการประชาสัมพันธ์ภายนอกต้องเกี่ยวข้องกับประชาชนที่มีกลุ่มขนาดใหญ่ หรือจำนวนมาก จึงอาจใช้เครื่องมือ สื่อสารต่าง ๆ เข้ามาช่วยเผยแพร่กระจายข่าวสู่สาธารณชนด้วย อันได้แก่ สื่อมวลชน (Mass Media) เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน องค์การ สถาบันต่าง ๆ ก็นิยมใช้เครื่องมือสื่อสารมวลชนเหล่านี้เข้าช่วยในการประชาสัมพันธ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ