หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลทางธุรกิจและป้องกันข้อผิดพลาด

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-6-037ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลทางธุรกิจและป้องกันข้อผิดพลาด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    อาชีพบรรณาธิการ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถกำหนดวิธีป้องกันข้อผิดพลาดในการพิมพ์ไม่ให้เกิดซ้ำ ร่วมประเมินผลทางธุรกิจกับผู้ว่าจ้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    บรรณาธิการ บรรณาธิการผู้ช่วย พนักงานประจำกองบรรณาธิการ นักพิสูจน์อักษร นักเขียน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40303.01 กำหนดวิธีป้องกันข้อผิดพลาดในการพิมพ์ไม่ให้เกิดซ้ำในครั้งต่อไป 1.1 เขียนรายการวิธีป้องกันข้อผิดพลาดในการพิมพ์ไม่ให้เกิดซ้ำในครั้งต่อไป 40303.01.01 17673
40303.01 กำหนดวิธีป้องกันข้อผิดพลาดในการพิมพ์ไม่ให้เกิดซ้ำในครั้งต่อไป 1.2 ทบทวนรายการวิธีป้องกันข้อผิดพลาดในการพิมพ์ไม่ให้เกิดซ้ำในครั้งต่อไป 40303.01.02 17674
40303.01 กำหนดวิธีป้องกันข้อผิดพลาดในการพิมพ์ไม่ให้เกิดซ้ำในครั้งต่อไป 1.3 นำเสนอรายการวิธีป้องกันข้อผิดพลาดต่อผู้ว่าจ้าง 40303.01.03 17675
40303.02 ร่วมประเมินผลทางธุรกิจกับผู้ว่าจ้าง 2.1 เกณฑ์การตรวจสอบยอดขายได้แก่ บันทึกยอดขายหนังสือจากทุกช่องทาง 40303.02.01 17676
40303.02 ร่วมประเมินผลทางธุรกิจกับผู้ว่าจ้าง 2.2 เกณฑ์การตรวจสอบต้นทุนเทียบกับกำไรได้แก่ บัญชีรายรับรายจ่าย 40303.02.02 17677
40303.02 ร่วมประเมินผลทางธุรกิจกับผู้ว่าจ้าง 2.3 เกณฑ์การตรวจสอบหนังสือคงค้างได้แก่บันทึกแจงนับหนังสือคงค้าง 40303.02.03 17678

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถนำเสนอรายการวิธีป้องกันข้อผิดพลาดต่อผู้ว่าจ้าง

    2. สามารถตรวจสอบยอดขาย

    3. สามารถตรวจสอบหนังสือคงค้างอย่างถี่ถ้วน

    4. สามารถตรวจสอบต้นทุนเทียบกับกำไรอย่างละเอียด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ในเขียนรายการวิธีป้องกันข้อผิดพลาดในการพิมพ์ไม่ให้เกิดซ้ำในครั้งต่อไป

    2. ความรู้ในการทบทวนรายการวิธีป้องกันข้อผิดพลาด

    3. ตรวจสอบต้นทุนเทียบกับกำไรอย่างละเอียด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. รายการวิธีป้องกันข้อผิดพลาดในการพิมพ์ไม่ให้เกิดซ้ำในครั้งต่อไป

    2. แผนนำเสนอรายการวิธีป้องกันข้อผิดพลาดต่อผู้ว่าจ้าง

    3. แบบตรวจสอบยอดขาย/บัญชีงบดุล

    4. แบบประเมินยอดขายเทียบกับยอดพิมพ์

     

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ จะระบุถึงข้อกำหนดการปฏิบัติงานและข้อมูล/เอกสาร

    1. แผนบริหารช่องทางจัดจำหน่ายหนังสือ ได้แก่การจัดจำหน่ายหน้าร้าน และการขายตรง

    2. แผนประชาสัมพันธ์ของหนังสือประกอบด้วยแผนประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ แผนประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ แผนประชาสัมพันธ์ทางสื่อเครือข่ายสังคมต่าง ๆ และสื่อใหม่

    3. แผนประชาสัมพันธ์หนังสือได้แก่ความเหมาะสมของสื่อที่เลือกใช้ ระยะเวลาประชาสัมพันธ์ ความถี่ของการประชาสัมพันธ์

    4. การตรวจสอบยอดขายได้แก่บันทึกยอดขายหนังสือจากทุกช่องทาง

    5. การตรวจสอบต้นทุนเทียบกับกำไรได้แก่บัญชีรายรับรายจ่าย

    6. การตรวจสอบหนังสือคงค้างได้แก่บันทึกแจงนับหนังสือคงค้าง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

        1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบประเมินการสัมภาษณ์

        2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน  

        3) ใบบันทึกความคิดเห็นจากบุคคลที่ 3

        4) แฟ้มสะสมผลงาน และผลงานที่ได้จัดทำ



ยินดีต้อนรับ