หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-040ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายธุรกิจ โจทย์ และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะใช้ประชาสัมพันธ์ของธุรกิจได้ สามารถวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อวางกลยุทธ์ แก้ไข พัฒนาการประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02102.01 ระบุกลุ่มเป้าหมายหลัก 1. สามารถจำแนกกลุ่มเป้าหมายหลักตามหลักภูมิศาสตร์และ/หรือ ตามหลักประชากรศาสตร์ จิตวิทยา พฤติกรรม 02102.01.01 136285
02102.01 ระบุกลุ่มเป้าหมายหลัก 2. สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องการ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 02102.01.02 136286
02102.02 ระบุกลุ่มเป้าหมายรอง 1. สามารถจำแนกกลุ่มเป้าหมายรองตามหลักภูมิศาสตร์และ/หรือ ตามหลักประชากรศาสตร์ จิตวิทยา พฤติกรรม 02102.02.01 136287
02102.02 ระบุกลุ่มเป้าหมายรอง 2. สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายรองที่ต้องการ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 02102.02.02 136288
02102.03 ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง 1.สามารถจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสื่อสารได้ 02102.03.01 136289
02102.03 ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง 2. สามารถจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสื่อสารได้ 02102.03.02 136290

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์

  2. ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์

  3. ทักษะทางภาษาและการสื่อสาร

  4. ทักษะการบริหารจัดการ

  5. ทักษะทางสังคม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้พื้นฐานทางการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์

  2. ความรู้ด้านภาษาและไวยากรณ์

  3. ความรู้ด้านการวางแผนและการจัดการ

  4. ความรู้ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค

  5. ความรู้ด้านสถานการณ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

  6. ความรู้ด้านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1)  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายธุรกิจ โจทย์ และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะใช้ประชาสัมพันธ์ของธุรกิจได้ สามารถวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพื่อวางกลยุทธ์ แก้ไข พัฒนาการประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การวางแผนเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่งในการทํางาน ดังนั้น นักประชาสัมพันธ์จึงต้องมีความรู้ด้านการวางแผน เพื่อจะได้นําความรู้ด้านการวางแผนนี้มาใช้ในการวางแผนประชาสัมพันธ์ต่อไป ซึ่งขั้นตอนแรกของการวางแผน คือการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ควรนํามาวิเคราะห์คือ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้เราทราบจุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W) โอกาส(O) และภัยคุกคาม(T) ขององค์กรตามหลัก SWOT Analysis ก่อนที่จะกําหนดรายละเอียดอื่นๆให้ถูกต้อง



          การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับเจ้าของธุรกิจ บริษัท องค์กร หน่วยงานและห้างร้านต่างๆที่จะเป็นการเสริมความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายผ่านทางการสื่อสาร ข่าวสาร  การสร้างคอนเทนต์ต่างๆเพื่อที่จะให้กลุ่มเป้าหมายเกิดทัศนคติที่ดีแก่องค์กร มุ่งหวังที่จะได้รับการสนับสนุน เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่เกิดความนิยมและมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการขายสินค้า การโฆษณาและกระจายข่าวสารต่างๆ ที่จะนำมาซึ่งความต้องการความสนใจและอยากจะซื้อขาย ทั้งนี้ก่อนที่จะทำการประชมสัมพันธ์นั้น สิ่งที่เราจะต้องคำนึงก่อนเสมอก็คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ที่จะต้องเลือกและวางแผนให้สอดคล้องกับการประชาสัมพันธ์มากที่สุด เพราะถ้าหากประชาสัมพันธ์ออกไปโดยที่ยังไม่รู้ว่าต้องการจะสื่อสารกับใคร ต้องการกระตุ้นความสนใจจากใคร หรือต้องการเสียงตอบรับจากใคร ก็จะนำมาซึ่งการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ได้ผล แต่ถ้าหากมีการวางแผนและกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนการประชาสัมพันธ์ให้ตรงจุด ก็จะนำมาซึ่งการกระจายข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าหากต้องการประชาสัมพันธ์ให้กับคนในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร จะสื่อสารกับใคร ก็จะกลายเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ล้มเหลวและไม่เป็นผลถึงแม้จะมีประชากรมากก็ตาม แต่ถ้าหากคุณกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้แน่ชัด ก็สามารถที่จะกำหนดตลาดได้ชัดเจนขึ้น นำมาซึ่งการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผล ได้รับเสียงตอบรับจากคนที่สนใจ



          สำหรับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายก่อนการประชาสัมพันธ์นั้นก็สามารถที่จะใช้หลักการได้หลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้




  • การกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามภูมิศาสตร์ เป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ตรงตามพื้นที่ที่อยู่ เพื่อที่จะตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่นั้นๆ เช่น จังหวัด อำเภอ ภูมิภาค ประเทศ รวมไปถึงลักษณะของบ้าน คอนโดมิเนียม เป็นต้น

  • การกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามหลักจิตวิทยา เป็นการกำหนดโดยแบ่งตามเกณฑ์การดำเนินชีวิต บุคลิกภาพ ความชอบ เช่น ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ร้านอาหารที่ชอบ รสชาติอาหารที่ชอบ กิจกรรมที่ชอบทำ สีที่ชอบ เป็นต้น

  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามหลักพฤติกรรม เป็นการกำหนดผ่านทางฤติกรรมของผู้บริโภค ที่จะยึดหลักความนิยม ความรู้ ปฏิกิริยาตอบสนอง ความพร้อมในการซื้อ เช่น ช่วงเวลาในการซื้อของ ความถี่ในการซื้อของ ความสนใจพิเศษ หรือทัศนคติที่มีต่อองค์กรหรือสินค้าประเภทนี้นั่นเอง

  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามหลักประชากรศาสตร์ เป็นการแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามชนระดับทางสังคม อาชีพ อายุ เพศ รายได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ