หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อมูลภายนอก

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-5-036ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลภายนอก

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กร คือการวิเคราะห์ผลกระทบทางสถานการณ์สังคม การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ที่มีผลกระทบและสามารถพัฒนาเป็นโจทย์ และวัตถุประสงค์การสื่อสารขององค์กรได้ สามารถวิเคราะห์ และตีความ เพื่อนำมาวางแผนกระบวนการการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01202.01 รวบรวมข้อมูลด้านโครงสร้างองค์กร 1. ระบุลักษณะสำคัญของโครงสร้างองค์กร - วัตถุประสงค์ - ภาระหน้าที่ - ลักษณะเฉพาะของงาน - อำนาจการตัดสินใจ (รวมศูนย์ / กระจายศูนย์) - การบังคับบัญชา - ขอบเขตการควบคุม - ความเป็นทางการ 01202.01.01 136240
01202.01 รวบรวมข้อมูลด้านโครงสร้างองค์กร 2. ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล 01202.01.02 136241
01202.01 รวบรวมข้อมูลด้านโครงสร้างองค์กร 3. จัดการข้อมูลเพื่อการนำเสนอ 01202.01.03 136242
01202.02 รวบรวมข้อมูลของสถานการณ์ในสังคม 1. จำแนกข้อมูลและที่มาของข้อมูลทั้งภายในและภายนอกประเทศ 01202.02.01 136243
01202.02 รวบรวมข้อมูลของสถานการณ์ในสังคม 2. วิเคราะห์ความหมายของสภาวะเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในภายนอกประเทศ 01202.02.02 136244
01202.02 รวบรวมข้อมูลของสถานการณ์ในสังคม 3. เชื่อมโยงสภาพสังคมจากภายนอกประเทศสู่ภายใน และจากภายในสู่ภายนอกประเทศ 01202.02.03 136245
01202.03 รวบรวมข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ 1. จำแนกข้อมูลเศรษฐกิจและที่มาของข้อมูลทั้งภายในและภายนอกประเทศ 01202.03.01 136246
01202.03 รวบรวมข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ 2. เชื่อมโยงสภาวะเศรษฐกิจระดับโลกและภายในประเทศ 01202.03.02 136247
01202.04 ประมวลข้อมูลทางเทคโนโลยี 1. ศึกษาข้อมูลทางเทคโนโลยีในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต 01202.04.01 136248
01202.04 ประมวลข้อมูลทางเทคโนโลยี 2. จำแนกข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและที่มาของข้อมูล 01202.04.02 136249
01202.04 ประมวลข้อมูลทางเทคโนโลยี 3. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางออนไลน์ให้ทันสมัยได้ 01202.04.03 136250
01202.05 ตีความข้อมูล 1. ประเมินสถานะความพร้อมการสื่อสารภายนอกองค์กรได้ 01202.05.01 136251
01202.05 ตีความข้อมูล 2. ระบุโอกาสและอุปสรรคขององค์กรได้ 01202.05.02 136252
01202.05 ตีความข้อมูล 3. ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรได้ 01202.05.03 136253

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการค้นคว้าข้อมูล

  2. ทักษะการเรียบเรียงข้อมูล

  3. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เรื่องโครงสร้างองค์กร

  2. ความรู้ด้านนโยบายองค์กรและนโยบายการสื่อสารประชาสัมพันธ์

  3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทนโยบาย

  4. ความรู้ทางการเมือง

  5. ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจทุกระดับ

  6. ความรู้เรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์

  7. ความรู้ด้านสภาพแวดล้อม

  8. ความรู้การสรุปความและประเด็นสำคัญ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการการวิเคราะห์ข้อมูลภายนอกโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลภายนอกโดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



1)  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลภายนอกขององค์กร คือการวิเคราะห์ผลกระทบทางสถานการณ์สังคม การเมือง เศษฐกิจ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ที่มีผลกระทบและสามารถพัฒนาเป็นโจทย์ และวัตถุประสงค์การสื่อสารขององค์กรได้ การระบุข้อมูลใหม่ๆที่จำเป็นสำหรับสนับสนุนการสร้างประเด็นทางการสื่อสาร



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          ความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์หรือสังคมมนุษย์ ในประวัติศาสตร์มนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์ในลักษณะเป็นกลุ่มน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนที่ทำให้กับเรื่องต่างๆใน 4 ข้อแรก และได้หันมาสนใจเรื่องของเพื่อนมนุษย์เมื่อไม่นานมานี้ โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ระหว่างมนุษย์กับสังคม ภาระหน้าที่ความผูกพันที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคม ลักษณะของชีวิตสังคม แนวโน้มทางสังคม ปัญหาสังคม หลักการ การศึกษาวิเคราะห์สังคม อันเป็นความคิดพื้นฐานของสังคมศาสตร์ในสังคมสมัยใหม่



          การวิเคราะห์เศรษฐกิจ เป็นวิธีการที่จะทำให้เรานั้นสามารถทราบถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจนั้นได้ดี ซึ่งนักลงทุนทั้งหลายนั้น สามารถหาข้อมูลได้ที่แหล่งข้อมูลมากมาย อาทิเช่น หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์เกี่ยวกับข่าวเศรษฐกิจ หรือขอรายละเอียดข้อมูลต่างๆนั้นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทราบถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่หลายหน่วยงานนั้นออกมาประการ ทั้งอัตราเงินเฟ้อ GDP  แม้กระทั่งอัตราการว่างงาน ทั้งหมดนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเลขของเศรษฐกิจ หรืออัตราการส่งออกและนำเข้า รวมไปถึงนโยบายต่างๆของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความอยู่รอดของประชาชนทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ประกอบการต่างๆ  ที่สำคัญคือข้อมูลที่เกี่ยวกับมาตรการต่างๆที่สอดคล้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจอุตสาหกรรม



          ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) เนื่องจากระยะนี้เศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในภาวะถดถอยจะเกิดภาวะเงินฝืดและตึงตัว (Deflation and tight money) ให้กำไรของธุรกิจต่างๆมีแนวโน้มลดลง การลงทุนในหุ้นให้ผลตอยแทนไม่ดีเท่ากับลงทุนในพันธบัตร ผู้ถือพันธบัตรได้ดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในพันธยบัตร ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยลดลงทำให้ราคาพันธบัตรสูงขึ้น



          ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว (Recovery) ระยะเศรษฐกิจช่วงนี้เริ่มฟื้นตัวภาวะเงินคลายตัว และดอกเบี้ยมีอัตราลดลงไปแล้วจากภาวะถอถอย ทำให้ต้นทุนด้านการเงินต่ำลง ส่งผลให้ธุรกิจมีอัตราการเจริญเติบโตสูงขึ้นการลงทุนในช่วงระยะเวลานี้นักลงทุนจะโยกย้ายเงินจากตลาดพันธบัตรไปสู่ตลาดหุ้น



          ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง (Prosperity) ช่วงนี้เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวที่สูงมาก ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้นในช่วงนี้ธนาคารกลางประเทศต่างเริ่มแทรกแทรงตลาดทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร สินทรัพย์ที่ได้รับการตอบแทนสูงจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงทองคำด้วย เพราะสิ้นค้าเหล่านี้ปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อนักลงทุนจึงโยกออกจากตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรนำเงินไปลงทุนในสินค้าโภคพันธ์



          ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันพร้อมกับภาวะเงินเฟ้อ (Stagflation) ในช่วงเศรษฐกิจโดยรวมมีอัตรา ขยายตัวสูง ธุรกิจต่างๆ ธุรกิจต่างๆจะเริ่มกู้เงินลงทุนสูงขึ้นแต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้น ต้นทุนทางการเงินของธุรกิจจะปรับตัวขึ้น ในช่วงนี้ผลกำไรบริษัทต่างลดลง ในช่วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นนักลงทุนจะนำเงินมาฝากธนาคาร      



          ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล หรือรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดจนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile phone) หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารนักเรียนเข้ามาใช้งานในทุกระดับระดับขององค์กร เช่น งานด้านการบริหาร การจัดการ และการปฏิบัติการ รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร มีการลงทุนเกี่ยวกับโครงการพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเป็นจำนวนมาก เช่น มีการขยายระบบโทรศัพท์ และขยายเครือข่ายการสื่อสาร มีการสร้างระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และการสร้างระบบจัดเก็บภาษีอากรด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์



          คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เรียกย่อว่า “ไอที” ประกอบด้วยคำว่า “เทคโนโลยี” และคำว่า “สารสนเทศ” นำมารวมกันเป็น “เทคโนโลยีสารสนเทศ” และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) หรือเรียกย่อว่า “ไอซีที” ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้




  • เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการหรือกระบวนการ เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มคน หรือองค์กร

  • สารสนเทศ (information) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าและสาระ หรือมีเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้

  • เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งเป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อการแลกเปลี่ยนหรือเผยแพร่ข้อมูล และสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วทันต่อการใช้ประโยชน์ ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร คอมพิวเตอร์ คลื่นวิทยุ และดาวเทียม ดังนั้นในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารจึงมักใช้คู่กัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ