หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อมูลภายใน

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-5-035ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลภายใน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กร ทรัพยากรขององค์กร ผลิตภัณฑ์ ชื่อเสียงและวัฒนธรรมขององค์กรทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนทั้งภายในและภายนอก ที่มีผลกระทบและสามารถพัฒนาเป็นโจทย์ และวัตถุประสงค์การสื่อสารขององค์กรได้ สามารถวิเคราะห์ และตีความ เพื่อนำมาวางแผนกระบวนการการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01201.01 รวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากร 1. ระบุทรัพยากรที่มีเช่น บุคคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ วิธีการจัดการ ระยะเวลา 01201.01.01 136214
01201.01 รวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากร 2. ระบุแหล่งที่มาของทรัพยากร 01201.01.02 136215
01201.01 รวบรวมข้อมูลด้านทรัพยากร 3. จัดการข้อมูลทรัพยากรเพื่อการนำเสนอ 01201.01.03 136216
01201.02 รวบรวมข้อมูลด้านโครงสร้างองค์กร 1. ระบุลักษณะสำคัญของโครงสร้างองค์กร 01201.02.01 136217
01201.02 รวบรวมข้อมูลด้านโครงสร้างองค์กร 2. ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล 01201.02.02 136218
01201.02 รวบรวมข้อมูลด้านโครงสร้างองค์กร 3. จัดการข้อมูลเพื่อการนำเสนอ 01201.02.03 136219
01201.03 รวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ 1. ระบุองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ 01201.03.01 136220
01201.03 รวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ 2. ระบุประเภทของผลิตภัณฑ์ 01201.03.02 136221
01201.03 รวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ 3. ระบุส่วนประสมผลิตภัณฑ์ 01201.03.03 136222
01201.03 รวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ 4. ระบุสายผลิตภัณฑ์ 01201.03.04 136223
01201.03 รวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ 5. ระบุรายการผลิตภัณฑ์ 01201.03.05 136224
01201.03 รวบรวมข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ 6. ระบุตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ 01201.03.06 136225
01201.04 รวบรวมข้อมูลด้านชื่อเสียง 1. รวบรวมข้อมูลด้านเอกลักษณ์องค์กร 01201.04.01 136226
01201.04 รวบรวมข้อมูลด้านชื่อเสียง 2. รวบรวมช้อมูลด้านการสื่อสารขององค์กร 01201.04.02 136227
01201.04 รวบรวมข้อมูลด้านชื่อเสียง 3. รวบรวมข้อมูลด้านชื่อเสียงขององค์กรจากภายนอก 01201.04.03 136228
01201.04 รวบรวมข้อมูลด้านชื่อเสียง 4. ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล 01201.04.04 136229
01201.04 รวบรวมข้อมูลด้านชื่อเสียง 5. จัดการข้อมูลเพื่อการนำเสนอ 01201.04.05 136230
01201.05 รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมองค์กร 1. รวบรวมข้อมูลค่านิยมขององค์กร 01201.05.01 136231
01201.05 รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมองค์กร 2. รวบรวมข้อสมติฐานพื้นฐาน ที่เกิดจากความเชื่อและค่านิยมของพนักงาน 01201.05.02 136232
01201.05 รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมองค์กร 3. รวบรวมข้อมูลหลักการทำงาน 01201.05.03 136233
01201.05 รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมองค์กร 4. รวบรวมข้อมูลสัญลักษณ์ขององค์กร 01201.05.04 136234
01201.05 รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมองค์กร 5. ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล 01201.05.05 136235
01201.05 รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมองค์กร 6. จัดการข้อมูลเพื่อการนำเสนอ 01201.05.06 136236
01201.06 ตีความข้อมูล 1. ประเมินสถานะความพร้อมภายในองค์กรได้ 01201.06.01 136237
01201.06 ตีความข้อมูล 2. ระบุจุดแข็งจุดอ่อนขององค์กรได้ 01201.06.02 136238
01201.06 ตีความข้อมูล 3. ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในองค์กรได้ 01201.06.03 136239

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการค้นคว้าข้อมูล

  2. ทักษะการเรียบเรียงข้อมูล

  3. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรองค์กร

  2. ความรู้เรื่องโครงสร้างองค์กร

  3. ความรู้ด้านการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์

  4. ความรู้ด้านส่วนประสมทางการตลาด

  5. ความรู้ด้านการวิเคราะห์ชื่อเสียงองค์กร

  6. ความรู้ด้านการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลภายใน โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



1)  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นภายในองค์กรโครงสร้างขององค์กร ทรัพยากรขององค์กร ผลิตภัณฑ์ ชื่อเสียงและวัฒนธรรมขององค์กรทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนทั้งภายในและภายนอก ที่มีผลกระทบและสามารถพัฒนาเป็นโจทย์ และวัตถุประสงค์การสื่อสารขององค์กรที่จำเป็นสำหรับสนับสนุนการสร้างประเด็นทางการสื่อสาร



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในบริษัททุก ๆ ด้านเพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้างระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย



          ทรัพยากร หมายถึง สินทรัพย์ (asset) ความสามารถ (competency) กระบวนการ(process) ทักษะ หรือความรู้(skill or knowledge) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท ทรัพยากรเหล่านี้หากช่วยให้ธุรกิจมีความได้เปรียบทางการแข่งขันถือได้ว่าเป็น จุดแข็ง ในทางตรงกันข้ามหากทรัพยากรเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแข่งขันได้ด้อยกว่าคู่แข่งขันถือว่าเป็นจุดอ่อน ทรัพยากรหรือความสามารถในการค้นหาศักยภาพในการแข่งขันประกอบด้วย



          V = Value (คุณค่า) ทรัพยากรนั้นทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน



          R = Rareness (ความหายาก) ทรัพยากรนั้นคู่แข่งอื่นๆ มี



          I = Imitability (ความสามารถในการลอกเลียน) ทรัพยากรนั้นลอกเลียนแบบได้ง่ายหรือไม่



          O = Organization (องค์การ) ทรัพยากรนั้นบริษัทนำมาใช้ประโยชน์



          คุณค่า (Value): บริษัทสามารถที่จะแสวงหาโอกาสหรือจัดการกับอุปสรรคภายนอกด้วยทรัพยากรและความสามารถที่มีอยู่ได้หรือไม่



          ความหายาก (Rareness): การควบคุมสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากรและความสามารถมีเพียงพอหรือไม่



          การลอกเลียนแบบ (Imitability): เป็นการยากหรือไม่ที่จะมีการลอกเลียนแบบหรือบริษัทคู่แข่งที่จะลอกเลียนแบบหรือพัฒนาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูง เพื่อจะได้ซึ่งทรัพยากรและความสามารถนั้น



          องค์การ(Organization): มีความพร้อมและจัดองค์การเพื่อที่จะแสวงหาทรัพยากรและความสามารถนั้นหรือไม่



ชื่อเสียง (Reputation) เป็นแนวคิดที่ได้รับการอ้างถึงอย่างกว้างขวางในระดับสากลมาเป็นเวลายาวนาน มีนัยยะเชิงบวกซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นที่รู้จัก อาจรวมไปถึงคุณค่าหรือคุณงามความดีที่ผู้คน โดยทั่วไปทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อม จะสามารถรับรู้หรือสัมผัสกับสิ่งที่กล่าวถึงนั้นได้ โดยชื่อเสียงอาจเป็นเรื่องของบุคคล สถานที่ องค์กร หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุที่ “ชื่อเสียง” มีคุณลักษณะเชิงนามธรรมสูง การประเมินชื่อเสียงของบุคคล สินค้า บริการ หรือองค์กรใด ๆ แต่เดิมนั้น มักเป็นการประเมินจากคุณค่าที่บุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเกิดความรู้สึกโดยรวม โดยที่ไม่สามารถระบุถึงระดับของชื่อเสียงในเชิงคุณภาพได้อย่างแน่ชัดว่ามีองค์ประกอบเช่นไร และมีน้ำหนักในมิติต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ชื่อเสียงกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งยวดในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย และบทบาทของชื่อเสียงที่มีต่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องขององค์กรธุรกิจก็กลายเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ในยุคสังคมไร้พรหมแดน ทำให้การศึกษาเรื่องชื่อเสียงองค์กร(Corporate Reputation) ได้รับความสนใจมากขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการวัดประเมินชื่อเสียงให้มีความเป็นระบบที่เชื่อมั่นได้มากที่สุด



          ชื่อเสียงของธุรกิจ (Business Reputation) เกี่ยวข้องโดยตรงกับบริษัทนับตั้งแต่การถือกำเนิดขึ้นขององค์กรธุรกิจนั้น ครอบคลุมไปถึงพัฒนาการทุก ๆ ด้านขององค์กรตลอดช่วงเวลาของการเติบโต จนกระทั่งกลายมาเป็นธุรกิจที่มีสถานะเป็นอยู่ ณ เวลาปัจจุบันในสายตาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ



          แบบวัฒนธรรมตามพื้นฐานของค่านิยม การแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรประเภทนี้ เป็นการแบ่งค่านิยมขององค์กรที่อยู่บนพื้นฐานของจุดมุ่งหมายและแหล่งที่มา ซึ่งชี้ให้เห็นถึง



          1.1 วัฒนธรรมที่มุ่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Culture) เป็นวัฒนธรรมที่มีแหล่งที่มาของค่านิยมร่วมอยู่ที่ผู้นำที่มีบารมี หรือผู้ก่อตั้งองค์กรและเป็นค่านิยมที่มุ่งหน้าที่ คือ การสร้างคุณค่าแก่ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ซึ่งวัฒนธรรมที่มุ่งผู้ประกอบการอาจจะไม่มั่นคงและเสี่ยงภัยเพราะเป็นวัฒนธรรมที่ขึ้นอยู่กับผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว



          1.2 วัฒนธรรมที่มุ่งกลยุทธ์ (Strategic Culture) เป็นวัฒนธรรมที่มีแหล่งที่มาของค่านิยมร่วมที่มุ่งหน้าที่และได้กลายเป็นขนบธรรมเนียมและเปลี่ยนแปลงไปสู่ประเพณีขององค์กร  เป็นค่านิยมที่มั่นคงและมุ่งภายนอกระยะยาว



          1.3 วัฒนธรรมที่มุ่งตนเอง (Chauvinistic Culture) เป็นวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งภายใน ความจงรักภักดีต่อการเป็นผู้นำองค์กรอย่างตาบอด และการให้ความสำคัญกับความเป็นเลิศของสถาบัน วัฒนธรรมองค์การรูปแบบนี้อาจแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะทางพิธีศาสนาหลายอย่าง ความจงรักภักดีและความผูกพันต่อค่านิยมของผู้นำบารมีอย่างเข้มแข็งและการมุ่งภายใน มุ่งพวกเราและมุ่งพวกเขา จะกระตุ้นความพยายามให้มุ่งที่การรักษาความเป็นเลิศของสถาบันเอาไว้โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย



          1.4 วัฒนธรรมที่มุ่งการเลือกสรร (Exclusive Culture) เป็นวัฒนธรรมที่มุ่งการเลือกสรร ในฐานะที่คล้ายคลึงกับสโมสรที่เลือกสรรสมาชิก ซึ่งภายในสถานการณ์บางอย่างการเลือกสรรจะเพิ่มคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร  ซึ่งองค์การจะทุ่มเทอย่างหนักเพื่อที่จะสร้างภาพพจน์ของความเหนือกว่าและการเลือกสรรขึ้นมา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ