หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินสถานการณ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-5-034ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินสถานการณ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพ ขอบเขต ขนาดของปัญหา ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเห็นถึงประเด็นปัญหาที่อาจกลายเป็นภาวะวิกฤตได้ เพื่อให้สามารถจัดการกับประเด็นปัญหาเพื่อไม่ให้ลุกลามต่อไปได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03602.01 ประเมินระดับความรุนแรง 1. ระบุเหตุการณ์ความรุนแรงได้ 03602.01.01 135915
03602.01 ประเมินระดับความรุนแรง 2. ระบุระยะเวลาได้ 03602.01.02 135916
03602.01 ประเมินระดับความรุนแรง 3. ระบุผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมได้ 03602.01.03 135917
03602.02 จัดประเภทของปัญหา 1. จำแนกประเภทของปัญหาได้ 03602.02.01 135918
03602.02 จัดประเภทของปัญหา 2. จำแนกช่องทางของการเกิดปัญหาได้ 03602.02.02 135919
03602.02 จัดประเภทของปัญหา 3. ระบุที่มาของปัญหาได้ 03602.02.03 135920
03602.03 จัดประเภทของประเด็น 1. จำแนกประเด็นของปัญหาได้ 03602.03.01 135921
03602.03 จัดประเภทของประเด็น 2. จำแนกช่องทางของปัญหาได้ 03602.03.02 135922
03602.03 จัดประเภทของประเด็น 3. ระบุที่มาของประเด็นได้ 03602.03.03 135923
03602.04 วิเคราะห์ผลกระทบ 1. สรุปความรุนแรงได้ 03602.04.01 135924
03602.04 วิเคราะห์ผลกระทบ 2. สรุปประเด็นได้ 03602.04.02 135925
03602.04 วิเคราะห์ผลกระทบ 3. สรุปปัญหาได้ 03602.04.03 135926

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดตามสถานการณ์

  2. ทักษะการอ่าน

  3. ทักษะการตีความ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์

  2. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการประเมินสถานการณ์ สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพ ขอบเขต ขนาดของปัญหา ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเห็นถึงประเด็นปัญหาที่อาจกลายเป็นภาวะวิกฤตได้ เพื่อให้สามารถจัดการกับประเด็นปัญหาเพื่อไม่ให้ลุกลามต่อไปได้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)



การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact)



          1) โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง



          2) ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง



          3) ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่   ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก



การประเมินสถานการณ์ เป็นการวิเคราะห์ถึงสภาพ ขอบเขต ขนาดของปัญหา




  1. ความกังวลของผู้ได้รับผลกระทบ

  2. สถานการณ์จะทวีความรุนแรงขึ้นหรือไม่

  3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่

  4. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะขัดขวางการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันหรืออนาคตหรือไม่

  5. เหตุการณ์นั้นส่งผลต่อความน่าเชื่อถือหรือไม่



          3 สิ่งที่ต้องประเมิน




  1. การรับรู้ – การรับรู้เป็นการภายในหรือภายนอก ขยายวงกว้าง มากน้อยเพียงใด

  2. ความเสียหาย – ความเสียหายต่อบุคคล ทรัพย์สินหรือข้อมูลอย่างไร

  3. ผลกระทบ – ผลกระทบต่อการทำงาน ผลกระทบต่อชุมชนรอบข้าง ผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ