หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมงานสื่อสารออนไลน์

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-5-033ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมงานสื่อสารออนไลน์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมกระบวนการทำงานของการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ได้ ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการซื้อโฆษณาและพื้นที่โฆษณา วิเคราะห์ช่องทางการทำประชาสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มต่างๆ รวมไปถึงกระบวนการทำงานของช่องทางสื่อออนไลน์ การจัดลำดับขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้การสื่อสารออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ตรงตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03405.01 วางแผนและควบคุมค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ 1. เลือกซื้อโฆษณาหรือการโปรโมทให้เหมาะสมได้ 03405.01.01 136201
03405.01 วางแผนและควบคุมค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ 2. ประมาณการค่าใช้จ่ายได้ 03405.01.02 136202
03405.01 วางแผนและควบคุมค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ 3. วางแผนความสำคัญการใช้จ่ายตามแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ 03405.01.03 136203
03405.02 วางแผนการสื่อสารออนไลน์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 1. ระบุกลุ่มเป้าหมายหลักในการสื่อสารออนไลน์ตามแพลตฟอร์มได้ 03405.02.01 136204
03405.02 วางแผนการสื่อสารออนไลน์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 2. ระบุกลุ่มเป้าหมายรองในการสื่อสารออนไลน์ตามแพลตฟอร์มได้ 03405.02.02 136205
03405.02 วางแผนการสื่อสารออนไลน์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 3. ระบุ Content และรูปภาพให้ Mood and Tone ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 03405.02.03 136206
03405.03 วิเคราะห์ช่วงเวลาและวิธีการในแต่ละแพลตฟอร์ม 1. ระบุเวลาให้เหมาะสมต่อการปล่อยเนื้อหาได้ 03405.03.01 136207
03405.03 วิเคราะห์ช่วงเวลาและวิธีการในแต่ละแพลตฟอร์ม 2. ระบุความถี่ในการส่งเนื้อหาลงแพลตฟอร์ม 03405.03.02 136208
03405.03 วิเคราะห์ช่วงเวลาและวิธีการในแต่ละแพลตฟอร์ม 3. ลงกิจกรรมและแคมเปญต่างๆ ในระยะเวลาที่เหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 03405.03.03 136209
03405.04 ดูแลการทำงานเผยแพร่สื่อออนไลน์ไม่ให้เกิดปัญหา 1. ติดตามประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันในช่องทางออนไลน์ได้ 03405.04.01 136210
03405.04 ดูแลการทำงานเผยแพร่สื่อออนไลน์ไม่ให้เกิดปัญหา 2. สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบรับจากข้อมูลที่ดึงมาจากระบบได้ 03405.04.02 136211
03405.04 ดูแลการทำงานเผยแพร่สื่อออนไลน์ไม่ให้เกิดปัญหา 3. ติดตามแนวโน้มการทำประชาสัมพันธ์ของคู่แข่งบนสื่อออนไลน์ 03405.04.03 136212
03405.04 ดูแลการทำงานเผยแพร่สื่อออนไลน์ไม่ให้เกิดปัญหา 4. แก้ไขปัญหาเบื้องต้นในการสื่อสารออนไลน์ 03405.04.04 136213

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะด้านการจัดกิจกรรม

  2. ทักษะด้านการประสานงาน

  3. ทักษะด้านการประชาสัมพันธ์

  4. ทักษะด้านการบริหารงบประมานในการจัดกิจกรรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์

  2. มีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบของการจัดกิจกรรม

  3. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดลำดับขั้นตอนต่างๆ

  4. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำ Story board


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมงานสื่อสารออนไลน์โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินควบคุมงานสื่อสารออนไลน์ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการควบคุมกระบวนการทำงานของการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ได้ ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการซื้อโฆษณาและพื้นที่โฆษณา วิเคราะห์ช่องทางการทำประชาสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มต่างๆ รวมไปถึงกระบวนการทำงานของช่องทางสื่อออนไลน์ การจัดลำดับขั้นตอนต่างๆ ให้ตรงตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ได้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยปัจจุบันตัวเลขผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนในประเทศไทยแตะ 20 ล้านคน เมื่อบวกกับพัฒนาการของกล้องโทรศัพท์มือถือซึ่งนับวันยิ่งทรงพลังมากขึ้น จึงเอื้อต่อการที่ผู้ใช้สามารถอัพเดตเหตุการณ์ต่างๆ กับเพื่อนฝูงและผู้ติดตามได้อย่างรวดเร็วทันใจ ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับผู้บริโภคจำนวนมากในยุค โมบาย เฟิร์ส (Mobile First) นั้น สื่อสังคมออนไลน์เป็นทั้งศูนย์รวมแห่งประสบการณ์บนเว็บและเป็นจุดประสงค์หลักของการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งนำไปสู่โอกาสในการค้นพบช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ ในขณะที่กำลังท่องโลกโซเชี่ยลมีเดีย



          การใช้งานโซเชี่ยลมีเดียในประเทศไทยยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร้อยละ 80 ของผู้บริโภคออนไลน์ใช้แพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดีย หรือ IM (Instant Messaging) เป็นประจำทุกวัน ตามการศึกษาล่าสุดโดยบริษัท กันตาร์ ทีเอ็นเอส (Kantar TNS) ผู้ค้นคว้าวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำระดับโลก ภายใต้โครงการ “คอนเนคเต็ด ไลฟ์” (Connected Life) ซึ่งทำการวิจัยกับผู้บริโภคกว่า 70,000 คน เผยว่า LINE ครองพื้นที่ประสบการณ์ออนไลน์มากที่สุด โดยผู้บริโภคไทยมากถึงร้อยละ 92 ใช้แพลตฟอร์มสัญชาติญี่ปุ่นดังกล่าว



          พบว่าร้อยละ 86 ของผู้บริโภคออนไลน์ใช้ Facebook, ร้อยละ 31 เล่น Instagram, ร้อยละ 16 ใช้ Twitter, และร้อยละ 6 ใช้ Snapchat นอกจากนี้ ผลการศึกษาของโครงการ “คอนเนคเต็ด ไลฟ์” เผยว่าผู้บริโภคออนไลน์ใช้โซเชี่ยลมีเดียหรือ IM รวมกว่า 5.6 แพลตฟอร์มโดยเฉลี่ย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่านอกเหนือจากเครือข่ายของ LINE นั้น ช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อแบรนด์ในการเข้าถึงผู้บริโภค



          พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลฯ ในประเทศไทย



ผู้ใช้งาน Facebook 41 ล้านยูสเซอร์ในไทย



มีผู้ชาย วัย 18-34 ปี ใช้มากที่สุด




  • คนไทยนิยมโพสต์ Facebook มากที่สุดในช่วงเวลา 10:00- 12:00 น. รองลงมาเป็นช่วงบ่าย และมาพีคอีกที 20:00- 21:00 น. แต่ช่วงเวลาที่แบรนด์นิยมโพสท์มากที่สุดคือช่วง 11.00 น. และ 20.00 น.

  • ช่วงเวลาที่คน Engage กับโพสต์มากที่สุด (กดไลค์ คอมเมนต์ และแชร์) คือ 16:00- 20:00 น. ส่วนในวันที่มีการ Engage มากที่สุดคือวันพุธ ช่วง 9:00– 16:00 น. และวันเสาร์เป็นวันที่มีการ Engage น้อยที่สุด

  • ในทวิตเตอร์มีการทวิตมากที่สุดช่วง 20:00- 22:00 น. และมีการ Engage ช่วง 20:00- 23:00 น. มากที่สุด

  • สำหรับ Instagram คนนิยมโพสต์มากที่สุด คือ 20:00- 21:00 น.

  • ช่วงเวลาที่คน Engage กับโพสต์ใน Instagramมากที่สุดคือ 17:00- 22:00 น. โดยช่วงเย็นวันศุกร์และใรวันเสาร์เป็นช่วงที่พีคที่สุดที่คน Engagement


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ