หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำโครงร่างการผลิตสื่อ

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-5-026ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำโครงร่างการผลิตสื่อ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อชนิดต่างๆ โดยเข้าใจวัตถุประสงค์ เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแนวคิดในการสื่อสาร ออกแบบเนื้อหา และนำเสนอโครงร่างได้ เพื่อให้สามารถนำไปผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารต่อไปได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03302.01 เข้าใจวัตถุประสงค์การสื่อสาร 1. สามารถกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารได้ 03302.01.01 136146
03302.01 เข้าใจวัตถุประสงค์การสื่อสาร 2. สามารถกำหนดช่องทางในการสื่อสารได้ 03302.01.02 136147
03302.01 เข้าใจวัตถุประสงค์การสื่อสาร 3. สามารถระบุแนวทางที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ 03302.01.03 136148
03302.02 เข้าใจกลุ่มเป้าหมายการสื่อสาร 1. สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายได้ 03302.02.01 136149
03302.02 เข้าใจกลุ่มเป้าหมายการสื่อสาร 2. สามารถพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ 03302.02.02 136150
03302.02 เข้าใจกลุ่มเป้าหมายการสื่อสาร 3. สามารถเลือกช่องทางให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ 03302.02.03 136151
03302.03 กำหนดแนวคิดในการสื่อสาร 1. สามารถกำหนดประเด็นหลักในการสื่อสารที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ 03302.03.01 136152
03302.03 กำหนดแนวคิดในการสื่อสาร 2. สามารถกำหนดแนวคิดต้องนำไปใช้กับสื่อได้หลากหลาย 03302.03.02 136153
03302.03 กำหนดแนวคิดในการสื่อสาร 3. สามารถนำไปใช้ได้จริง แปลกใหม่ ไม่ซ้ำ 03302.03.03 136154
03302.04 ออกแบบเนื้อหา 1. กำหนดลีลาและการนำเสนอ (Mood & Tone) ได้ 03302.04.01 136155
03302.04 ออกแบบเนื้อหา 2. ออกแบบ Key Element องค์ประกอบต่างๆ ได้ (การใช้ภาษาภาพ เสียง และประสบการณ์) 03302.04.02 136156
03302.05 นำเสนอโครงร่าง 1. จัดเตรียมการนำเสนอได้ 03302.05.01 136157
03302.05 นำเสนอโครงร่าง 2. จัดทำตัวอย่างโครงร่างสื่อที่จะผลิตได้ 03302.05.02 136158
03302.05 นำเสนอโครงร่าง 3. สามารถกำหนดงบประมาณ ระยะเวลา และบุคคลากร 03302.05.03 136159

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการออกแบบโครงร่าง

  2. ทักษะด้านการนำเสนอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อ

  2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายของการจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อ

  3. มีความรู้ในการกำหนดแนวคิดในการสื่อสาร

  4. มีความรู้เกี่ยวกับออกแบบเนื้อหา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อชนิดต่างๆ โดยเข้าใจวัตถุประสงค์ เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแนวคิดในการสื่อสาร ออกแบบเนื้อหา และนำเสนอโครงร่างได้ เพื่อให้สามารถนำไปผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารต่อไปได้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อจำเป็นต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารก่อนเป็นดับแรก ต้องสามารถตีโจทย์ได้ว่าสื่อที่ต้องการเผยแพร่ออกไปนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารไปนั้นคือกลุ่มเป้าหมายใด จำเป็นต้องทำการสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ทำการสื่อสารออกไปมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องกำหนดช่องทางในการสื่อสาร  ซึ่งช่องทางการสื่อสาร คือ ตัวกลางที่ช่วยในการนำส่งสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ช่องทางเปรียบเหมือนทางหรือพาหะระหว่างผู้ร่วมสื่อสาร แบ่งช่องทางการสื่อสารออกเป็น 3 ประเภท




  1. ช่องทางที่เป็นตัวกลางนำสารจากผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสาร ซึ่งได้แก่ คลื่นแสง คลื่นเสียง วิทยุ โทรเลข โทรทัศน์หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ช่องทางเหล่านี้เน้นหนักในเรื่องสื่อทางเทคโนโลยี

  2. ช่องทางที่เป็นพาหนะของสิ่งที่นำสาร เช่น อากาศ ซึ่งเป็นตัวนำคลื่นเสียงไปสู่ประสาทรับความรู้สึกต่างๆ หรือประสาททั้งห้า (ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส และการลิ้มรส) ช่องทางประเภทนี้พบในกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคล

  3. วิธีในการเข้ารหัสและถอดรหัสสาร (mode of encoding and decoding) เช่น การใช้วิธีพูด การใช้วิธีเขียน เป็นต้น ซึ่งนักทฤษฎีนิเทศศาสตร์โดยทั่วไปไม่ยอมนิยาม “ช่องทางการสื่อสาร” ในความหมายนี้ เรโอ (Rao) เน้นว่าช่องทางการสื่อสารมีลักษณะดังต่อไปนี้




  • ช่องทางเป็นหน่วยพลังงานมวลสาร (matter – energy unit) ประเภทหนึ่งที่เรียกว่าสื่อ (medium)

  • ช่องทางเป็นตัวนำส่งหน่วยพลังงานมวลสารซึ่งมีการจัดเป็นระเบียบแบบแผนที่เรียกว่าสารสนเทศ (information)

  • ช่องทางเป็นตัวเชื่อมระหว่างบุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง



          นอกจากนั้นการออกแบบเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นกำหนดลีลาและการนำเสนอ (Mood & Tone) หรือแม้แต่การออกแบบองค์ประกอบต่างๆนั้น จำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถในการออกแบบเพื่อให้น่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ