หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแนวคิดสร้างสรรค์งาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-5-025ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแนวคิดสร้างสรรค์งาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวการออกแบบแนวคิดการสร้างสรรค์งาน โดยมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบรูปแบบงานประเภทต่างๆ สามารถถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน และสามารถนำไปสร้างสรรค์สื่อที่มีคุณภาพต่อไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03301.01 ศึกษารายละเอียดของงาน 1. ระบุรายละเอียดขององค์กรได้ 03301.01.01 136137
03301.01 ศึกษารายละเอียดของงาน 2. ระบุรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ได้ 03301.01.02 136138
03301.01 ศึกษารายละเอียดของงาน 3. ระบุกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ได้ 03301.01.03 136139
03301.02 หารือสมาชิกในทีมเพื่อออกแบบแนวคิดที่สร้างสรรค์ 1. สรุปประเด็นการหารือได้ 03301.02.01 136140
03301.02 หารือสมาชิกในทีมเพื่อออกแบบแนวคิดที่สร้างสรรค์ 2. นำเสนอแนวคิดได้ 03301.02.02 136141
03301.02 หารือสมาชิกในทีมเพื่อออกแบบแนวคิดที่สร้างสรรค์ 3. สามารถสื่อสารกับทีมได้ 03301.02.03 136142
03301.03 ออกแบบ Theme & Concept ที่เหมาะสมกับการนำเสนอ Key Message 1. กำหนดแนวคิดหลัก 03301.03.01 136143
03301.03 ออกแบบ Theme & Concept ที่เหมาะสมกับการนำเสนอ Key Message 2. ออกแบบ Mood &Tone และ 03301.03.02 136144
03301.03 ออกแบบ Theme & Concept ที่เหมาะสมกับการนำเสนอ Key Message 3. ออกแบบวิธีการเล่าเรื่อง 03301.03.03 136145

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะความคิดสร้างสรรค์

  2. ทักษะการถ่ายทอดแนวคิด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับออกแบบวิธีการเล่าเรื่อง

  2. ความรู้การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

  3. ความรู้เกี่ยวกับออกแบบ Theme & Concept


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถการออกแบบแนวคิดการสร้างสรรค์งาน โดยมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบรูปแบบงานประเภทต่างๆ สามารถถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน และสามารถนำไปสร้างสรรค์สื่อที่มีคุณภาพต่อไป



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน



ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ




  1. ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวางแผนการทำงานก็ได้

  2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน  ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจระหว่างกัน

  3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมายซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นหรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด

  4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิตเป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงานหรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง



ขั้นตอนกระบวนการคิด Creative




  1. แนวคิดในการออกแบบ Concept การคิดที่อยูบนพื้นฐานของความเป็นจริง+ความต้องการของลูกค้า และการสื่อความหมาย-สื่อสารให้ ตรงกลุ่มเป้ าหมายให้มากที่สุด (ประโยชน์ใช้สอย+ความสวยงาม)

  2. ข้อมูลรายละเอียด-เนื้อหาของโครงการ DATA/Project ทําความเข้าใจเกี่ยวกบโครงการและเป้าหมายของกิจกรรม/โครงการ

  3. รูปภาพ Picture + สี Color คํานึงถึงการสื่อความหมายให้ตรงมากที่สุด และความเหมาะสมของภาพ ทําให้ดูน่าสนใจ ดึงดูด และ สวยงาม เช่น การใช้สีให้ตรงกบองค์กร 

  4. ข้อความ ตัวอักษร (Font) การใช้ตัวอักษรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน บรรยากาศ และโอกาส

  5. การจัดวางรูปแบบ Lay Out


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ