หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพหนังสือที่จัดพิมพ์แล้ว

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-5-035ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพหนังสือที่จัดพิมพ์แล้ว

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    อาชีพบรรณาธิการ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถตรวจรูปเล่มของหนังสือ ตรวจสอบจำนวนการพิมพ์ของหนังสือได้ครบถ้วนได้ครบถ้วน สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในการจัดพิมพ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    บรรณาธิการ บรรณาธิการผู้ช่วย พนักงานประจำกองบรรณาธิการ นักพิสูจน์อักษร นักเขียน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40301.01 ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการจัดพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนด 1.1 ตรวจรูปเล่มของหนังสือได้ครบถ้วนตรงตามข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง 40301.01.01 17662
40301.01 ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการจัดพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนด 1.2 ตรวจสอบจำนวนการพิมพ์ของหนังสือได้ครบถ้วนตรงตามข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง 40301.01.02 17663
40301.02 แก้ไขข้อผิดพลาดในการจัดพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนด 2.1 เขียนรายการสั่งแก้รูปเล่มที่ผิดพลาดได้ตรงตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ 40301.02.01 17664
40301.02 แก้ไขข้อผิดพลาดในการจัดพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนด 2.2 ทบทวนรายการสั่งแก้รูปเล่มที่ผิดพลาดด้วยความรอบคอบตรงตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ 40301.02.02 17665
40301.02 แก้ไขข้อผิดพลาดในการจัดพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนด 2.3 ตรวจสอบรูปเล่มที่แก้ไขแล้วอย่างถี่ถ้วนตรงตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ 40301.02.03 17666

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถตรวจรูปเล่มของหนังสือได้ครบถ้วนตรงตามข้อกำหนด

    2. สามารถตรวจสอบจำนวนการพิมพ์ของหนังสือได้ครบถ้วน

    3. สามารถเขียนรายการสั่งแก้รูปเล่มที่ผิดพลาดได้

    4. สามารถทบทวนรายการสั่งแก้รูปเล่มที่ผิดพลาดด้วยความรอบคอบ

    5. สามารถตรวจสอบรูปเล่มที่แก้ไขแล้วอย่างถี่ถ้วน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ในการตรวจรูปเล่มของหนังสือ

    2. ความรู้ในการเขียนรายการสั่งแก้รูปเล่มที่ผิดพลาดได้

    3. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบจำนวนการพิมพ์ของหนังสือ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. แผนบริหารช่องทางจัดจำหน่ายหนังสือ

    2. แผนประชาสัมพันธ์หนังสือ

    3. แบบตรวจสอบยอดขาย/บัญชีงบดุล

    4. แบบประเมินยอดขายเทียบกับยอดพิมพ์

     

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ใช้แบบทดสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์

    2. การทดสอบภาคปฏิบัติ ใช้แฟ้มสะสมผลงาน ผลงานที่ได้จัดทำ การประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงาน ใบบันทึกความคิดเห็นจากบุคคลที่ 3


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ จะระบุถึงข้อกำหนดการปฏิบัติงานและข้อมูล/เอกสาร

    1. แผนบริหารช่องทางจัดจำหน่ายหนังสือ ได้แก่การจัดจำหน่ายหน้าร้าน และการขายตรง

    2. แผนประชาสัมพันธ์ของหนังสือประกอบด้วยแผนประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ แผนประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ แผนประชาสัมพันธ์ทางสื่อเครือข่ายสังคมต่าง ๆ และสื่อใหม่

    3. แผนประชาสัมพันธ์หนังสือได้แก่ความเหมาะสมของสื่อที่เลือกใช้ ระยะเวลาประชาสัมพันธ์ ความถี่ของการประชาสัมพันธ์

    4. การตรวจสอบยอดขายได้แก่บันทึกยอดขายหนังสือจากทุกช่องทาง

    5. การตรวจสอบต้นทุนเทียบกับกำไรได้แก่บัญชีรายรับรายจ่าย

    6. การตรวจสอบหนังสือคงค้างได้แก่บันทึกแจงนับหนังสือคงค้าง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

        1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบประเมินการสัมภาษณ์

        2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน  

        3) ใบบันทึกความคิดเห็นจากบุคคลที่ 3

        4) แฟ้มสะสมผลงาน และผลงานที่ได้จัดทำ



ยินดีต้อนรับ