หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบเผยแพร่สื่อ

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-4-024ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบเผยแพร่สื่อ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 2432 Public Relations Professionals


1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวการทดสอบสื่อ โดยต้องมีความสามารถในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ทดสอบสื่อก่อนการเผยแพร่ รวมถึงการเลือกแนวทางทดสอบสื่อซึ่งจำเป็นต้องเลือกแนวทางการทดสอบสื่อให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท ก่อนการเผยแพร่ รวมถึงสามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้รับไปปรับปรุงเพื่อแก้ไขสื่อ ก่อนการเผยแพร่จริง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03501.01 เลือกกลุ่มเป้าหมาย 1. สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายที่จะมาเป็นผู้ทดสอบสื่อก่อนการเผยแพร่ 03501.01.01 136125
03501.01 เลือกกลุ่มเป้าหมาย 2. สามารถสรุปกลุ่มเป้าหมายในการทดสอบสื่อแต่ละประเภทได้ 03501.01.02 136126
03501.02 เลือกแนวทางทดสอบ 1. เลือกแนวทางการทดสอบสื่อให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภทก่อนการเผยแพร่ 03501.02.01 136127
03501.02 เลือกแนวทางทดสอบ 2. สามารถสรุปแนวทางการทดสอบสื่อแต่ละประเภทได้ 03501.02.02 136128
03501.03 เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุง 1. สามารเลือกใช้คำอธิบาย/คำบรรยายเนื้อหาที่มีความถูกต้องและเหมาะสมได้ 03501.03.01 136129
03501.03 เสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุง 2. สามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้รับไปปรับปรุงเพื่อแก้ไขสื่อ ก่อนการเผยแพร่จริง 03501.03.02 136130

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการใช้เครื่องมือเพื่อใช้ทดสอบสื่อ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกกลุ่มเป้าหมาย

  2. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกแนวทางการทดสอบสื่อให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการทดสอบสื่อ โดยต้องมีความสามารถในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ทดสอบสื่อก่อนการเผยแพร่ รวมถึงการเลือกแนวทางทดสอบสื่อซึ่งจำเป็นต้องเลือกแนวทางการทดสอบสื่อให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท ก่อนการเผยแพร่ รวมถึงสามารถนำข้อเสนอแนะที่ได้รับไปปรับปรุงเพื่อแก้ไขสื่อ ก่อนการเผยแพร่จริง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          ความหมายของการทดสอบประสิทธิภาพ



          ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึงสภาวะหรือคุณภาพของสมรรถนะในการดำเนินงานเพื่อให้งานมีความสำเร็จโดยใช้เวลา ความพยายามและค่าใช้จ่ายคุ้มค่าที่สุดตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยกำหนดเป็นอัตราส่วนหรือร้อยละระหว่างปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ ประสิทธิภาพเน้นการดำเนินการที่ถูกต้องหรือกระทำสิ่งใดๆอย่างถูกวิธี คำว่าประสิทธิภาพมักสับสนกับคำว่าประสิทธิผล (Effectiveness) ซึ่งเป็นคำที่คลุมเครือไม่เน้นปริมาณ และมุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์และเน้นการทำสิ่งที่ถูกที่ควร ดังนั้นสองคำนี้จึงมักใช้คู่กัน คือประสิทธิภาพและประสิทธิผล



          การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อ



          การเลือกแนวทางการทดสอบสื่อให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท ก่อนการเผยแพร่ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิตงานว่า เมื่อมีการผลิตและพร้อมที่จะเผยแพร่ ผลงานนั้นจะไม่มีข้อผิดพลาดซึ่งจะเกิดขึ้นในระหว่างการผลิตซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหาย หรือทำให้การสื่อสารประชาสัมพันธ์นั้นๆ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้การเลือกแนวทางการทดสอบสื่อให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท ก่อนการเผยแพร่ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นในการทดสอบสื่อก่อนการเผยแพร่จำเป็นต้องระบุกลุ่มเป้าหมายที่จะมาเป็นผู้ทดสอบสื่อก่อนการเผยแพร่ เพื่อดูกระแส หรือ Feed backของการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ นอกจากนั้นยังต้องทำการเลือกแนวทางการทดสอบสื่อให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท ก่อนการเผยแพร่ และนำข้อเสนอแนะที่ได้รับไปปรับปรุงเพื่อแก้ไขสื่อให้เป็นสื่อที่สมบูรณ์ก่อนการเผยแพร่จริง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ