หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดระดับความรุนแรง

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-018ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดระดับความรุนแรง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระดับความรุนแรงออกเป็นระดับต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความรุนแรงดังกล่าว ซึ่งความรุนแรงนั้นมีระดับที่แตกต่างกัน แนวทางการรับมือหรือแก้ปัญหานั้นจึงแตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงต้องสามารถวิเคราะห์ระดับความรุนแรงจากสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อระบุระดับของความรุนแรงนั้นๆ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03603.01 เรียงลำดับความรุนแรงของปัญหา 1. รวบรวมข้อมูลความรุนแรงของปัญหาได้ 03603.01.01 136028
03603.01 เรียงลำดับความรุนแรงของปัญหา 2. สามารถกำหนดเกณฑ์การจัดลำดับความรุนแรงของปัญหาได้ 03603.01.02 136029
03603.01 เรียงลำดับความรุนแรงของปัญหา 3. จัดกลุ่มระดับความรุนแรงของปัญหาได้ 03603.01.03 136030
03603.02 เรียงลำดับความยากง่ายในการแก้ไขปัญหา 1. รวบรวมข้อมูลความยากง่ายของปัญหาได้ 03603.02.01 136031
03603.02 เรียงลำดับความยากง่ายในการแก้ไขปัญหา 2. สามารถกำหนดเกณฑ์การจัดลำดับความยากง่ายของปัญหาได้ 03603.02.02 136032
03603.02 เรียงลำดับความยากง่ายในการแก้ไขปัญหา 3. จัดกลุ่มระดับความยากง่ายของปัญหาได้ 03603.02.03 136033
03603.03 เรียงลำดับความสนใจและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา 1. รวบรวมข้อมูลความสนใจและความร่วมมือในการแก้ไขของปัญหาได้ 03603.03.01 136034
03603.03 เรียงลำดับความสนใจและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา 2. สามารถกำหนดเกณฑ์การจัดลำดับความสนใจและความร่วมมือของปัญหาได้ 03603.03.02 136035
03603.03 เรียงลำดับความสนใจและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา 3. จัดกลุ่มระดับความรุนแรงของปัญหาได้ 03603.03.03 136036
03603.04 เรียงลำดับการแก้ปัญหาก่อนและหลัง 1. วิเคราะห์ความเร่งด่วนของการแก้ปัญหาได้ 03603.04.01 136037
03603.04 เรียงลำดับการแก้ปัญหาก่อนและหลัง 2. สรุปลำดับการแก้ไขปัญหาได้ 03603.04.02 136038
03603.04 เรียงลำดับการแก้ปัญหาก่อนและหลัง 3. เสนอลำดับการแก้ไขปัญหาได้ 03603.04.03 136039

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประเมิน

  2. ทักษะการอ่าน

  3. ทักษะการตีความ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์

  2. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์

  3. ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ในการประเมินความรุนแรง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการจัดระดับความรุนแรงออกเป็นระดับต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความรุนแรงดังกล่าว ซึ่งความรุนแรงนั้นมีระดับที่แตกต่างกัน แนวทางการรับมือหรือแก้ปัญหานั้นจึงแตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงต้องสามารถวิเคราะห์ระดับความรุนแรงจากสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อระบุระดับของความรุนแรงนั้นๆ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



หลักเกณฑ์พิจารณาระดับความรุนแรง




  1. ระดับหายนะ (Catastrophic) : ความรุนแรงสูงมากจนก่อให้เกิดความเสียหายแบบฉับพลัน ไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้า ความเสียหายไม่สามารถฟื้นฟูสภาพเดิมกลับมาได้เลย หรือต้องใช้เวลายาวนาน จึงจะฟื้นกลับมาได้

  2. ระดับวิกฤติ (Critical) : ความรุนแรงสูงก่อให้เกิดความเสียหาย แบบครั้งคราว อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า แต่ไม่ชัดเจน ความเสียหายมากแต่ยังสามารถฟื้นฟูกลับได้โดยส่วนใหญ่ หรือสามารถรับสถานการณ์ปรับตัวได้บ้าง

  3. ระดับตื่นตัว(marginal) : ความรุนแรงทำให้เกิดการตื่นตัว เนื่องจากไม่เคยประสบมาก่อน ไม่อาจคาดการณ์ว่าจะเกิดหรือไม่ ความเสียหายไม่แน่นอน บางครั้งก็มาก บางครั้งก็เพียงเล็กน้อย

  4. ระดับละเลยไม่ใส่ใจได้ (negligible) : ความรุนแรงน้อย ไม่มีนัยสำคัญ รับทราบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้น แยกไม่ได้ชัดเจนว่าเกิดจากธรรมชาติหรือจากสิ่งที่มารบกวนจากมนุษย์



หลักเกณฑ์พิจารณาโอกาส




  1. เกิดขึ้นบ่อย (frequent) : เกิดขึ้นเป็นประจำถี่ต่อเนื่อง ตามช่วงเวลา เช่นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และไม่เป็นไปตามธรรมชาติและตามประวัติสถิติในรอบปีที่ผ่านมาก่อนหน้าเกิดเหตุการณ์

  2. บางโอกาส (occasional) : เกิดขึ้นไม่ประจำ ไม่ถี่ ไม่ต่อเนื่อง ไม่มีช่วงเวลาแน่นอน อาจเป็นไปตามธรรมชาติหรือไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่สามารถทราบได้แน่ชัด

  3. นานๆครั้ง (remote) : เกิดขึ้นเพียงเกินกว่าปีละครั้ง หรือหลายปีครั้ง เป็นไปตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่

  4. แทบไม่มีโอกาสเกิด (improbable) : แทบไม่เกิดขึ้น หากเกิดขึ้นก็มีโอกาสเกิดน้อยมาก

  5. ไม่เคยเกิดอย่างเด็ดขาด (Eliminated) : ไม่เกิดอย่างเด็ดขาด เป็นไปไม่ได้เลย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ