หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดต่อสื่อสารภายนอกองค์กร

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-017ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดต่อสื่อสารภายนอกองค์กร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารภายนอกองค์กร รวมถึงกระบวนการติดต่อสื่อสารภายนอกองค์กรที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถเลือกใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารภายนอกองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03204.01 สื่อสารสองทางกับกลุ่มเป้าหมาย 1. รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มเป้าหมายได้ 03204.01.01 136012
03204.01 สื่อสารสองทางกับกลุ่มเป้าหมาย 2. ติดตามการบริหารจัดการข้อร้องเรียนตลอด 24 ชั่วโมงได้ 03204.01.02 136013
03204.01 สื่อสารสองทางกับกลุ่มเป้าหมาย 3. สามารถทำการตอบสนองกลับตามความต้องการจากกลุ่มเป้าหมายได้ 03204.01.03 136014
03204.01 สื่อสารสองทางกับกลุ่มเป้าหมาย 4. สามารถทำการตอบสนองกลับกลุ่มเป้าหมายอย่างเสมอภาคได้ 03204.01.04 136015
03204.01 สื่อสารสองทางกับกลุ่มเป้าหมาย 5. เลือกใช้ช่องทางติดต่อการสื่อสารระหว่างกันกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม 03204.01.05 136016
03204.01 สื่อสารสองทางกับกลุ่มเป้าหมาย 6. สามารถใช้เทคโนโลยีสื่อสารแบบใหม่ช่วยให้การประสานงานระหว่างกันเป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายดาย 03204.01.06 136017
03204.02 สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในเชิงรุก 1. สามารถ ตรวจสอบและติดตามความเคลื่อนไหวจากการนำเสนอและการแสดงความเห็นที่ส่งผลกระทบต่อกิจการขององค์กรในสื่อสังคมออนไลน์ได้ 03204.02.01 136018
03204.02 สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในเชิงรุก 2. สามารถสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนข่าวสารกับพันธมิตรเพื่อใช้ประโยชน์ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ 03204.02.02 136019
03204.02 สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในเชิงรุก 3. สามารถเตรียมความพร้อมด้านฐานข้อมูลที่ทันสมัยและคล่องตัวในการนำไปใช้ได้สะดวกและทันกับสถานการณ์ได้ 03204.02.03 136020
03204.02 สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในเชิงรุก 4. สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องไว้ล่วงหน้าได้ 03204.02.04 136021
03204.02 สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในเชิงรุก 5. สามารถวางแผนการสื่อสารไว้รองรับกับสถานการณ์ต่างๆ จากกลุ่มเป้าหมายได้ 03204.02.05 136022
03204.02 สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในเชิงรุก 6. สามารถใช้เทคโนโลยีสื่อสารแบบใหม่ช่วยให้การสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายได้ 03204.02.06 136023
03204.02 สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในเชิงรุก 7. สามารถใช้วิธีการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ 03204.02.07 136024
03204.03 รับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน 1. กำหนดกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 03204.03.01 136025
03204.03 รับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน 2. กำหนดกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างสมดุลสามด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม 03204.03.02 136026
03204.03 รับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน 3. กำหนดกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยข้อมูลที่เป็นจริง 03204.03.03 136027

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะด้านการสื่อสารภายนอกองค์กรผ่านช่องทางต่างๆ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการติดต่อสื่อสารภายนอกองค์กร

  2. มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการติดต่อสื่อสารภายนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการสื่อสารภายนอกองค์กร รวมถึงกระบวนการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถเลือกใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การติดต่อสื่อสารภายนอก (External Communication) หมายถึง การสร้างความเข้าใจร่วมกันกับบุคคลหรือองค์กร ภายนอก ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มลูกค้า คู่แข่งขัน ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อให้กลุ่มประชาชนภายนอกองค์กรเหล่านี้รู้และเข้าใจ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการขององค์กรเนื่องจากการติดต่อสื่อสารภายนอกเป็นการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มประชาชนภายนอกซึ่งมีจำนวนมาก ดังนั้น การสื่อสารภายนอกจึงมักนิยมใช้สื่อมวลชน (Mass Communication) เป็นช่องทางในการสื่อสารภายนอก เช่น วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการค่อนข้างมาก



การบริหารลูกค้าสัมพันธ์



ความหมายของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์



          ชื่นจิตต์  แจ้งเจนกิจ (2546, น. 12-13)  คือ กิจกรรมการตลาดที่กระทำต่อลูกค้า อาจจะเป็นลูกค้าผู้บริโภคหรือลูกค้าคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่ายแต่ละรายอย่างต่อเนื่องมุ่งให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจมีการรับรู้ที่ดี ตลอดจนรู้สึกชอบบริษัทและสินค้าหรือการบริการของบริษัท ทั้งนี้จะมุ่งเน้นกิจกรรมการสื่อสารแบบสองทางมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Win-Win Strategy) เป็นระยะเวลายาวนาน



          สินธ์ฟ้า  แสงจันทร์ (2547, น.  47-49) คือกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ปฏิบัติต่อลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย โดยแนวทางการปฏิบัติเป็นลักษณะตัวต่อตัวหรือเฉพาะกลุ่มเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม อันก่อให้เกิดความพึงพอใจในตัวสินค้าและบริการ รวมถึงการจงรักภักดีต่อตรายี่ห้อหรือองค์กร ซึ่งเป็นการสร้างความ สัมพันธ์ที่ยั่งยืนและเพื่อผลกำไรในระยะยาวขององค์กร



          วิรพงศ์  จันทร์สนาม (2551, น.  45) คือการบูรณาการเครื่องมือทางธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และกระบวนการการให้บริการลูกค้าในการขาย การตลาดทางตรง การจัดการทางการบัญชีและกระบวนการสั่งซื้อ และการสนับสนุนการให้บริการลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจและรับรู้ที่ดี ทั้งยังต้องสามารถทำการวิเคราะห์ถึงคุณค่าความสำคัญของลูกค้าแต่ละบุคคล (Customization) สร้างความจงรักภักดี (Loyalty) และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อองค์กรตลอดไป



          โกศล พรประสิทธิ์เวช (2552, น.  1-3) การศึกษา “ความต้องการ” และ “พฤติกรรม” ของลูกค้าเป็นกระบวนการตอบสนองให้ลูกค้าเกิดความประทับใจมีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้น นำไปสู่รายได้ผลงานที่มากขึ้นในอนาคต นำข้อมูลที่ได้จาก CRM มาวิเคราะห์วางแผนกลยุทธ์ กำหนดนโยบายการขาย การให้บริการที่เหมาะสมแก่ลูกค้าแต่ละกลุ่ม สินค้าหรืองานแต่ละชนิด ในการปรับปรุง เพิ่ม/ลด การทำงานให้เหลือเท่าที่จำเป็น เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง นำข้อมูลที่ได้จากระบบมาใช้ในการตรวจสอบและควบคุมภายในได้ง่ายและสะดวกขึ้น



          กล่าวโดยสรุป  การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการหรือกิจกรรมใดๆ ที่นำมาสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า  การสร้างความ พึงพอใจในตัวสินค้าและบริการให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง  การรักษาลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดีในตราสินค้าและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อองค์กร โดยให้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทั้งต่อตัวลูกค้าและองค์กร (Win-Win Strategy) อย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน



วัตถุประสงค์ของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์



          การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ใดๆ ก็ตามล้วนแต่มีวัตถุประสงค์สำคัญ ดังนี้



          1. เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าการบริการของบริษัทอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง



          2. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อสินค้าหรือการบริการ และบริษัททำให้ลูกค้าทราบวิธีการใช้สินค้าอย่างถูกต้องสามารถจดจำ และมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัทและสินค้าหรือบริการของบริษัทในระยะยาว



          3. เพื่อให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อบริษัทสินค้าหรือบริการ กรณีที่บริษัทมีสินค้าจำหน่ายหลายสายผลิตภัณฑ์ การที่ลูกค้าซื้อสินค้าของบริษัทในสายผลิตภัณฑ์หนึ่งแล้วรู้สึกประทับใจในทางบวกโอกาสที่บริษัทจะเสนอขายสินค้าในสายผลิตภัณฑ์อื่น (Cross Selling) ได้สำเร็จก็จะมีมากขึ้น



          4. เพื่อให้ลูกค้าแนะนำสินค้าหรือการบริการต่อไปยังผู้อื่น เกิดการพูดแบบปากต่อปาก (Words-of-Mouth) ในทางบวกเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งมีความน่าเชื่อ ถือมากกว่าคำกล่าวอ้างในโฆษณาเสียอีก



 ความสำคัญของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์



          ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ (2546, น.  44-46) กล่าวถึงความสำคัญของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์มี 4 ประการ ได้แก่



          1. สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผู้บริโภคหรือคนกลางในช่องทางการตลาดแต่ละราย (Customized) อย่างเป็นกันเอง (Personalized)



          2. การบริหารลูกค้าสัมพันธ์อาจจะยังไม่ได้เพิ่มยอดขายในทันที หากแต่ผลลัพธ์ในรูปของยอดขาย จะเกิดขึ้นในระยะยาวจากการที่ลูกค้ารู้สึกประทับใจ มีความเข้าใจและรับรู้ที่ดี  ดังนั้นสิ่งที่ได้รับจากการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ คือ การผูกสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องในระยะยาว (Long-Time Relationship)



          3. บริษัทและลูกค้าได้ประโยชน์จากการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ทั้งสองฝ่าย (Win-Win Strategy)



          4. ช่วยให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ