หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดวิธีสร้างความสัมพันธ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-6-016ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดวิธีสร้างความสัมพันธ์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การกำหนดวิธีสร้างความสัมพันธ์โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมผ่านช่องทางต่างๆ สามารถสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและหลากหลายช่องทาง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03103.01 วางกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 1. สามารถระบุถึงความต้องการความคาดหวังและผลประโยชน์ที่ผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักต้องการได้ 03103.01.01 136002
03103.01 วางกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 2. สามารถสร้างความสัมพันธ์ระดับบุคคลที่เป็นผู้ติดต่อหลัก (key contact person)ได้ 03103.01.02 136003
03103.01 วางกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 3. สามารถสร้างความสัมพันธ์ระดับหน่วยงานหรือองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 03103.01.03 136004
03103.02 จัดทำช่องทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆได้ 1. สามารถเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 03103.02.01 136005
03103.02 จัดทำช่องทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆได้ 2. สามารถจัดงานแถลงข่าวเพื่อให้ข้อมูลผ่านสื่อได้ 03103.02.02 136006
03103.02 จัดทำช่องทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆได้ 3. สามารถจัดงานสัมมนาประจำปีสำหรับกลุ่มผู้ถือหุ้น กลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์ 03103.02.03 136007
03103.02 จัดทำช่องทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆได้ 4. สามารถจัดทำรายงานประจำปีได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 03103.02.04 136008
03103.03 จัดทำช่องทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆได้ 1. ระบุช่องทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มได้ 03103.03.01 136009
03103.03 จัดทำช่องทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆได้ 2. เลือกช่องทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มได้ 03103.03.02 136010
03103.03 จัดทำช่องทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆได้ 3. สามารถตอบกลับและรายงานผลการติดต่อทางช่องทางโซเชียลมีเดียได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 03103.03.03 136011

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะด้านการสื่อสาร

  2. ทักษะด้านการประสานงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  2. ความรู้ในการเลือกช่องทางในการบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  3. ความรู้เกี่ยวกับช่องทางการสื่อสารประเภทต่างๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการกำหนดวิธีสร้างความสัมพันธ์โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมผ่านช่องทางต่างๆ สามารถสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและหลากหลายช่องทาง สามารถเลือกเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการหรือกิจกรรมใดๆ ที่นำมาสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า  การสร้างความพึงพอใจในตัวสินค้าและบริการให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง  การรักษาลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดีในตราสินค้าและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อองค์กร โดยให้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทั้งต่อตัวลูกค้าและองค์กร (Win-Win Strategy) อย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน



          กระบวนการในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถสรุปได้ว่าประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่



          1. การ วิเคราะห์และจำแนกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ การวิเคราะห์ ความต้องการและความคาดหวังการจำแนกประเภท รวมทั้ง การจัดลำ ดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม



          2. การดำเนินการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และหลากหลายช่องทาง การเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น รวมทั้ง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ



          3. การประเมินผลการดำเนินการสร้าง ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือการติดตาม ประเมินผล รวมทั้งปรับปรุงแนวทางการดำเนินการสร้างความสัมพันธ์ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอยู่เสมอ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ