หน่วยสมรรถนะ
รับมือกับปัญหาวิกฤต
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | PCP-APR-6-015ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | รับมือกับปัญหาวิกฤต |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals 1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวการรับมือกับปัญหาวิกฤต เพื่อแก้ไขภาวะวิกฤต (Crisis Containment) เป็นช่วงที่จำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขสถานการณ์ภาวะวิกฤตไม่ให้ลุกลามสร้างความเสียหายและส่งผลกระทบมากยิ่งขึ้น โดยต้องสามารถตัดสินใจใช้วิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งต้องทำการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถึงความรับผิดชอบ และแนวทางการแก้ไขสถานการณ์ขั้นนี้ต้องอาศัยแผนการเตรียมความรับมือกับภาวะวิกฤตที่เตรียมไว้ล่วงหน้าเพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์ให้กลับสู่ปกติได้เร็วขึ้น |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
03605.01 วางแผนการรับมือกับภาวะวิกฤต | 1. นำแผนมาปรับใช้ให้ทันต่อภาวะวิกฤตได้ | 03605.01.01 | 135993 |
03605.01 วางแผนการรับมือกับภาวะวิกฤต | 2. เลือกวิธีการการรับมือกับภาวะวิกฤตได้ | 03605.01.02 | 135994 |
03605.01 วางแผนการรับมือกับภาวะวิกฤต | 3. เลือกช่องทางในการรับมือภาวะวิกฤตได้ | 03605.01.03 | 135995 |
03605.02 ควบคุมสถานการณ์ภาวะวิกฤต | 1. สามารถเข้าถึงสาเหตุของปัญหาได้ทันถ่วงที | 03605.02.01 | 135996 |
03605.02 ควบคุมสถานการณ์ภาวะวิกฤต | 2. สามารถโต้ตอบผ่านช่องทางต่างๆได้อย่างทันถ่วงที | 03605.02.02 | 135997 |
03605.02 ควบคุมสถานการณ์ภาวะวิกฤต | 3. สามารถดำเนินการตามแผนการรับมือภาวะวิกฤต | 03605.02.03 | 135998 |
03605.03 เฝ้าระวังสถานการณ์ภาวะวิกฤต | 1. วางแผนการเฝ้าระวังภาวะวิกฤตได้ | 03605.03.01 | 135999 |
03605.03 เฝ้าระวังสถานการณ์ภาวะวิกฤต | 2. ติดตามสถานการณ์ภาวะวิกฤตอย่างต่อเนื่องได้ | 03605.03.02 | 136000 |
03605.03 เฝ้าระวังสถานการณ์ภาวะวิกฤต | 3. สรุปสถานการณ์ตามแผนได้ | 03605.03.03 | 136001 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการรับมือกับปัญหาวิกฤต เพื่อแก้ไขภาวะวิกฤต (Crisis Containment) เป็นช่วงที่จำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขสถานการณ์ภาวะวิกฤตไม่ให้ลุกลามสร้างความเสียหายและส่งผลกระทบมากยิ่งขึ้น โดยต้องสามารถตัดสินใจใช้วิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (ข) คำอธิบายรายละเอียด การจัดการภาวะวิกฤตเบื้องต้นที่ดีที่สุด - การวางแผนเกี่ยวกับรายละเอียดการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่หลากหลายเท่าที่จะเป็นไปได้ - เริ่มใช้ระบบ Monitor และตรวจสอบสัญญาณบ่งชี้ที่จะเกิดภาวะวิกฤตที่อาจคาดไม่ถึง - วางแนวทางและการอบรมให้กับบุคลากรเพื่อจัดการภาวะวิกฤตหรือเลือกบริษัทที่ให้บริการเรื่องการจัดการภาวะวิกฤตเพื่อบันทึก ติดตาม และป้องกันในขอบเขตธุรกิจของคุณ - เชื่อมโยงทุกกรณีที่เป็นไปได้และกำหนดการกระทำ การตัดสินใจในภาวะวิกฤต จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และสามารถบ่งบอกได้ว่า องค์กรหรือหน่วยงาน ไหนจะมีความเป็นมืออาชีพ และจัดการให้ผ่านพ้นไปได้ โดยไม่เกิดความวุ่นวาย และเกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือหน่วยงาน ซึ่งไม่เหมือนกับสถานการณ์ปกติ เพราะต้องคิดและประเมินสถานการณ์และไม่มีโอกาสแก้ไข ดังนั้นการวางแผนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม การป้องกันเชิงรุกจะช่วยให้การตัดสินใจดีขึ้น ดังนั้นการวางแผนเพื่อเผชิญวิกฤต (Policy) จึงเป็นเครื่องมือที่องค์กรต่างๆ ควรมีไว้เพื่อเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเมื่อถึงเวลาต้องจัดการกับภาวะวิกฤต จะช่วยลดความวุ่นวายในองค์กรได้ในเบื้องต้น ขั้นตอนการจัดการ เมื่อเกิด Crisis ขึ้นควรมีแบบแผนไว้ดังนี้
ความร้ายแรงของความเสียหายเมื่อเกิด Crisis แต่ละครั้งต้องอาศัย social analytics จากข้อมูล real time ที่ได้จาก social listening เพื่อดูแนวโน้มที่จะตัดสินใจในการทำหรือไม่ทำการใดๆ จากกระบวนการจัดการภาวะวิกฤตออนไลน์ซึ่งมีตั้งแต่ระดับต้น ไปจนถึงระดับ crisis reputation ฉะนั้นจึงควรมี Policy เพื่อจัดการสิ่งสำคัญนี้โดยเฉพาะกับชื่อเสียงและความเชื่อมั่นขององค์กร |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน |