หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมภาพรวมกิจกรรม

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-4-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมภาพรวมกิจกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมภาพรวมกิจกรรม ต้องมีความเข้าใจขอบเขตงาน สามารถชี้แจงแผนการดำเนินการโดยรวม สื่อสารออกไปเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สามารถดูแลภาพรวมของการจัดกิจกรรม ตลอดจนสามารถให้คำแนะนำหรือแก้ปัญหาเบื้องต้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03506.01 ควบคุมงานตามขอบเขต 1. ระบุข้อสรุปแผนการดำเนินการโดยรวมได้ 03506.01.01 135906
03506.01 ควบคุมงานตามขอบเขต 2. ชี้แจงแผนการดำเนินการโดยรวมได้ 03506.01.02 135907
03506.02 สื่อสารตามขอบเขต 1. สามารถเข้าใจเทคนิคการสื่อสารได้ 03506.02.01 135908
03506.02 สื่อสารตามขอบเขต 2. สามารถเลือกเทคนิคการสื่อสารได้ 03506.02.02 135909
03506.02 สื่อสารตามขอบเขต 3. สามารถสื่อสารเพื่อความเข้าใจได้ 03506.02.03 135910
03506.03 ตรวจสอบตามขอบเขต 1. สามารถเข้าใจขอบเขตงานได้ 03506.03.01 135911
03506.03 ตรวจสอบตามขอบเขต 2. สามารถประเมินขอบเขตงานได้ 03506.03.02 135912
03506.03 ตรวจสอบตามขอบเขต 3. สามารถรายงานขอบเขตงานได้ 03506.03.03 135913
03506.03 ตรวจสอบตามขอบเขต 4. สามารถแนะนำหรือแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ 03506.03.04 135914

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสาร

  2. ทักษะการควบคุมงาน

  3. ทักษะการแก้ปัญหาเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้เกี่ยวกับขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการควบคุมภาพรวมกิจกรรม ต้องมีความเข้าใจขอบเขตงาน สามารถชี้แจงแผนการดำเนินการโดยรวม สื่อสารออกไปเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สามารถดูแลภาพรวมของการจัดกิจกรรม ตลอดจนสามารถให้คำแนะนำหรือแก้ปัญหาเบื้องต้นได้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          ผู้ควบคุมภาพรวมกิจกรรม หรืออาจเรียกได้ว่าหัวหน้า (Supervisor) ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งมาจากพนักงานระดับต้นที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานดี มีความประพฤติเหมาะสม เป็นที่ไว้วางใจและเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางเทคนิคการปฏิบัติเป็นอย่างดี แต่ยังขาดความรู้ความสามารถและทักษะด้านการบริหารและการจัดการ เพราะการก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้นนอกจากภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ การวินิจฉัยปัญหาและการตัดสินใจจะเพิ่มมากขึ้นแล้วยังคงต้องคอยดูแลทุกข์สุข ลูกน้องในทีม



คุณสมบัติของผู้ควบคุมงาน ผู้ควบคุมงานควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้



1) มีความรู้



2) มีประสบการณ์



3) มีความซื่อสัตย์



4) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี



5) มีบุคลิกภาพดี



6) มีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย



7) ไม่ถือตัว ปรองดอง ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น



8) เป็นคนช่างสังเกต และมีความจำแม่นยำ



9) ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น



10) มีปฏิภาณไหวพริบ สามารถเสนอแนะและแก้ไขปัญหาได้



11) ไม่ใช้อารมณ์ในการปฏิบัติงาน



12) มีอุปนิสัยใจคอ บุคลิกลักษณะเป็นที่เคารพรักนับถือของคนทั่วไป



รวบรวมปัญหาหน้างานที่เหล่าผู้จัดอีเว้นท์ควรระวัง เพื่อที่จะรับมือได้ทัน ถ้าหากว่าปัญหาเหล่านี้ได้เกิดขึ้นหน้างานจริงๆ จะได้แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้อง



1. ปัญหา สัญญาณ Wifi / Internet



ในยุคนี้ที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณ Wifi ถ้าสถานที่จัดงานอีเว้นท์ที่เราเลือกใช้เกิดเหตุการณ์ขัดข้องทางสัญญาณไวฟายขึ้นมาล่ะก็ ระบบต่างๆ น่าจะรวนไปตามๆ กัน เพราะฉะนั้นเช็กให้รอบคอบว่าถ้าเกิดสัญญาณไวฟายขัดข้อง เราจะมีแผนสำรองคอยซัพพอร์ตหรือไม่ อย่างเช่นการเตรียม Pocket Wifi ไว้ในกรณีที่อินเทอร์เน็ตมีปัญหาก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ดีนะ



2. ปัญหา การสื่อสาร



สำหรับออกาไนเซอร์ท่านใดที่มีการติดต่อกับ Outsource ในด้านต่างๆ แน่นอนอยู่แล้วว่าจะต้องมีการประชุมและบรีฟกันก่อนที่งานจะเริ่ม แต่สิ่งที่ต้องระวังคือความเข้าใจที่ทุกคนควรจะต้องได้รับสารที่เหมือนกัน พยายามตรวจสอบให้ดีว่าสิ่งที่เราต้องการสามารถสื่อไปถึง Outsource เหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง จะได้ไม่มีอะไรผิดพลาดเมื่องานเริ่มขึ้นแล้ว



3. ปัญหา ข้อมูล / Data



บางงานอีเว้นท์ที่มีการขายบัตรหรือลงทะเบียนก่อนเข้างาน การเก็บข้อมูลและประวัติการลงทะเบียนของผู้เข้างานถือว่าสำคัญมากก่อนที่งานจะเริ่ม เพราะถ้าเกิดเหตุขัดข้องมีคนลืมนำบัตรเข้างานมา เราจะได้ตรวจสอบได้ ยิ่งการเก็บข้อมูลในยุคดิจิตัลก็ยิ่งง่ายและสะดวกมากขึ้น ผู้จัดสามารถใช้บริการขายบัตรและลงทะเบียนออนไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ ได้มากมาย Zipevent ก็สามารถให้บริการทางด้านนี้ได้เช่นกัน



4. ปัญหา สตาฟ / เจ้าหน้าที่



อีกหนึ่งปัจจัยที่ควบคุมได้ยากก็คือ คน นี่แหละ แต่ละคนก็มีนิสัยไม่เหมือนกันใช่มั้ยล่ะ.. บางคนอาจจะผ่านการทำงานสตาฟหรือเจ้าหน้าที่ประจำบูธมาเยอะ แต่บางคนก็อาจจะยังไม่มีประสบการณ์มากนัก เหล่าออกาไนเซอร์ควรจะต้องบรีฟงานพวกเขาให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และรวมไปถึงข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ ภายในงาน เมื่อผู้เข้าร่วมงานเดินเข้ามาถาม สตาฟเหล่านี้จะได้ตอบทุกคำถามได้อย่างไม่ติดขัด



5. ปัญหา สถานที่



เชื่อว่าสถานที่จัดงานก็มีโอกาสที่จะทำให้เราเกิดปัญหาหน้างานได้เช่นกัน เราอาจจะมีการวางแผนมาอย่างดีแล้วว่าจุดไหน ตำแหน่งไหน จะเป็นอย่างไร แต่ ณ วันงาน อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ สิ่งที่เราวางแผนไว้อาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คิด! พื้นที่ตรงนั้นอาจมีงานอื่นจัดชนกัน หรือขนาดพื้นที่อาจจะเล็ก หรือมองหายาก การจัดการปัญหาตรงนั้นก็ขึ้นอยู่กับไหวพริบของแต่ละคน เพราะฉะนั้นมีแผนสำรองไว้ก็ไม่เสียหาย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ