หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมงานเผยแพร่สื่อตามกิจกรรม

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-APR-4-007ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมงานเผยแพร่สื่อตามกิจกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


1 1222 ผู้จัดการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์
1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมงานเผยแพร่สื่อตามกิจกรรม โดยต้องมีความเข้าใจขอบเขตงาน สามารถชี้แจงแผนการดำเนินการโดยรวม สื่อสารออกไปเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถให้คำแนะนำหรือแก้ปัญหาเบื้องต้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03504.01 ควบคุมงานตามขอบเขต 1. ระบุข้อสรุปแผนการดำเนินการโดยรวมได้ 03504.01.01 135897
03504.01 ควบคุมงานตามขอบเขต 2. ชี้แจงแผนการดำเนินการโดยรวมได้ 03504.01.02 135898
03504.02 สื่อสารตามขอบเขต 1. สามารถเข้าใจเทคนิคการสื่อสารได้ 03504.02.01 135899
03504.02 สื่อสารตามขอบเขต 2. สามารถเลือกเทคนิคการสื่อสารได้ 03504.02.02 135900
03504.02 สื่อสารตามขอบเขต 3. สามารถสื่อสารเพื่อความเข้าใจได้ 03504.02.03 135901
03504.03 ตรวจสอบตามขอบเขต 1. สามารถเข้าใจขอบเขตงานได้ 03504.03.01 135902
03504.03 ตรวจสอบตามขอบเขต 2. สามารถประเมินขอบเขตงานได้ 03504.03.02 135903
03504.03 ตรวจสอบตามขอบเขต 3. สามารถรายงานขอบเขตงานได้ 03504.03.03 135904
03504.03 ตรวจสอบตามขอบเขต 4. สามารถแนะนำหรือแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ 03504.03.04 135905

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสาร

  2. ทักษะการควบคุมงาน

  3. ทักษะการแก้ปัญหาเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้เกี่ยวกับขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



          1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการควบคุมงานเผยแพร่สื่อตามกิจกรรม โดยต้องมีความเข้าใจขอบเขตงาน สามารถชี้แจงแผนการดำเนินการโดยรวม สื่อสารออกไปเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถให้คำแนะนำหรือแก้ปัญหาเบื้องต้นได้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          ผู้ควบคุมงาน หมายถึง ผู้ที่เป็นผู้แทนของผู้ว่าจ้างซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวสำหรับงานขนาดเล็ก หรือเป็นกลุ่มบุคคล หรือบริษัทที่ปรึกษาสำหรับงานขนาดใหญ่ โดยจะเป็นชุดเดียวกับชุดออกแบบก็ได้ ผู้ควบคุมงาน มีความหมายในหลายระดับ แล้วแต่ความต้องการของเจ้าของงานที่จะให้ทำงานนั้นๆ



          ผู้ควบคุมงานเผยแพร่สื่อตามกิจกรรม อาจเปรียบได้ดั่งโฟร์แมน ปฏิบัติหน้าที่อยู่หน้างานโดยอาจรับคำสั่งจากสถาปนิกที่ดูแลโครงสร้างทั้งหมด ซึ่งผู้ควบคุมงานจำเป็นมีประสบการณ์ในการทำงาน และสามารถให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้อย่างทันที



คุณสมบัติของผู้ควบคุมงาน ผู้ควบคุมงานควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้



1) มีความรู้



2) มีประสบการณ์



3) มีความซื่อสัตย์



4) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี



5) มีบุคลิกภาพดี



6) มีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย



7) ไม่ถือตัว ปรองดอง ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น



8) เป็นคนช่างสังเกต และมีความจำแม่นยำ



9) ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น



10) มีปฏิภาณไหวพริบ สามารถเสนอแนะและแก้ไขปัญหาได้



11) ไม่ใช้อารมณ์ในการปฏิบัติงาน



12) มีอุปนิสัยใจคอ บุคลิกลักษณะเป็นที่เคารพรักนับถือของคนทั่วไป



          สื่อกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดในลักษณะกิจกรรมตามวาระหรือโอกาสต่าง ๆ โดยมากจัดในรูปของนิทรรศการ การออกร้าน งานฉลอง การประกวด การแข่งขัน ประงานสถาปนาองค์กร หรือการเปิดให้เข้าชมกิจการในวันสำคัญ มีลักษณะเด่น 3 ประการ คือ



          1. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนจำนวนมากมาเข้าร่วมงาน



          2. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมภายในงานและองค์กรให้เป็นที่รู้จักของประชาชน



          3. ประชาชนที่มาร่วมงานได้รับสาระประโยชน์ ส่วนองค์กรได้สร้างภาพพจน์ที่ดีในสายตาประชาชนเพิ่มขึ้น



 วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์



          1. เพื่อให้การศึกษาทางอ้อมในวิชาการสาขาต่าง ๆ และเหตุการณ์ต่าง ๆ แก่กลุ่มประชาชนเป้าหมาย



          2. เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล กิจกรรมของสถาบันต่อกลุ่มประชาชนเป้าหมาย



          3. เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลุ่มประชาชนเป้าหมายให้ร่วมมือกับสถาบันหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติของกลุ่มประชาชนเป้าหมายที่มีต่อสถาบัน ไปในทางที่พึงประสงค์



          4. เพื่อสร้างความบันเทิง สนุกสนานความพึงพอใจแก่กลุ่มประชาชนเป้าหมาย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน



1.  แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์



2.  ผลข้อสอบข้อเขียน



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ