หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติงานสนับสนุนในงานกิจกรรม
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | PCP-APR-3-003ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติงานสนับสนุนในงานกิจกรรม |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ชื่ออาชีพ 2432 Public Relations Professionals 1 2432 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการประชาสัมพันธ์ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสนับสนุนในงานกิจกรรม โดยต้องสามารถเข้าใจขอบเขตงาน รวมถึงตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่างๆได้ เช่น เอกสารใบเซนต์ชื่อผู้เข้าร่วมงาน จำนวนผู้เข้าร่วมงาน สามารถตรวจเช็คความเรียบร้อยของสถานที่จัดกิจกรรม เช่น ความพร้อมด้านเครื่องเสียง จอภาพ ไมค์ เป็นต้น ตลอดจนสามารถประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
03505.01 เตรียมความพร้อมก่อนกิจกรรม | 1. สามารถเข้าใจขอบเขตงานได้ | 03505.01.01 | 135868 |
03505.01 เตรียมความพร้อมก่อนกิจกรรม | 2. สามารถตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่างๆ ได้ | 03505.01.02 | 135869 |
03505.01 เตรียมความพร้อมก่อนกิจกรรม | 3. สามารถตรวจเช็คความเรียบร้อยของสถานที่จัดกิจกรรมได้ | 03505.01.03 | 135870 |
03505.01 เตรียมความพร้อมก่อนกิจกรรม | 4. สามารถตรวจสอบความเรียบร้อยเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกได้ | 03505.01.04 | 135871 |
03505.02 ประสานงาน | 1. สามารถประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ | 03505.02.01 | 135872 |
03505.02 ประสานงาน | 2. สามารถเลือกวิธีการประสานงานได้อย่างถูกต้อง | 03505.02.02 | 135873 |
03505.03 ดำเนินกิจกรรม | 1. สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีไหวพริบ | 03505.03.01 | 135874 |
03505.03 ดำเนินกิจกรรม | 2. สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ร่วมกิจกรรมได้ | 03505.03.02 | 135875 |
03505.04 ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังเสร็จกิจกกรม | 1. สามารถตรวจสอบรายการที่ต้องส่งคืนได้ | 03505.04.01 | 145869 |
03505.04 ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังเสร็จกิจกกรม | 2. สามารถสรุปจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ | 03505.04.02 | 145870 |
03505.04 ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังเสร็จกิจกกรม | 3. สามารถรายงานผลการจัดกิจกรรมได้ | 03505.04.03 | 145871 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ
(ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการปฏิบัติงานสนับสนุนในงานกิจกรรม โดยต้องสามารถเข้าใจขอบเขตงาน รวมถึงตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารต่างๆได้ เช่น เอกสารใบเซนต์ชื่อผู้เข้าร่วมงาน จำนวนผู้เข้าร่วมงาน สามารถตรวจเช็คความเรียบร้อยของสถานที่จัดกิจกรรม เช่น ความพร้อมด้านเครื่องเสียง จอภาพ ไมค์ เป็นต้น ตลอดจนสามารถประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ (ข) คำอธิบายรายละเอียด ความหมายของการประสานงาน การจัดระเบียบวิธีการทำงานเพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อลดข้ดขัดแย้ง และทำให้งานดำเนินไปได้อย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การเป็นการจัดให้คนในองค์การทำงานให้สัมพันธ์สอดคล้องกัน โดยจะต้องตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและมาตราฐานการปฏิบัติขององค์การเป็นหลัก การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทำให้งานซ้ำซ้อน ขัดแย้งกัน หรือเหลื่อมล้ำกัน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์กรนั้นอย่างสมาณฉันทฺ์และมีประสิทธิภาพ การติดต่อสื่อสารให้เกิดความคิดความเข้าใจในการร่วมมือปฏิบัติงานให้สอดคล้องทั้งเวลา และกิจกรรมที่จะต้องกระทำ ให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างสมานฉันท์เพื่อ ให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่เกิดการทำงานซ้ำซ้อน ขัดแย้ง หรือ เหลื่อมล้ำกัน องคฺ์ประกอบของการประสานงาน 1. ความร่วมมือ จะต้องมีความเข้าใจหรือมีการตกลงร่วมกัน มีการระดมความคิด วิธีการ เทคนิค การจัดหาทรัพยากรมาสนับสนุนการทำงานร่วมกัน 2. จังหวะเวลา ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องมีความรับผิดชอบ ทำให้งานนั้นเป็นไปตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน ให้ตรงเวลา 3. ความสอดคล้องกัน จะต้องพิจารณาความพอเหมาะพอดี ไม่ทำงานซ้อนกัน เพื่อให้การบริหารงานประสบผลสำเร็จ 4. ระบบการสื่อสารที่ตรงกันอย่างรวดเร็วและราบรื่น 5. ผู้ประสานงานจะต้องสามารถทำให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมทำงานอย่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ตามวัตถุประสงค์ของงานที่ กำหนดไว้ สื่อกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดในลักษณะกิจกรรมตามวาระหรือโอกาสต่าง ๆ โดยมากจัดในรูปของนิทรรศการ การออกร้าน งานฉลอง การประกวด การแข่งขัน ประงานสถาปนาองค์กร หรือการเปิดให้เข้าชมกิจการในวันสำคัญ มีลักษณะเด่น 3 ประการ คือ 1. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนจำนวนมากมาเข้าร่วมงาน 2. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมภายในงานและองค์กรให้เป็นที่รู้จักของประชาชน 3. ประชาชนที่มาร่วมงานได้รับสาระประโยชน์ ส่วนองค์กรได้สร้างภาพพจน์ที่ดีในสายตาประชาชนเพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์ 1. เพื่อให้การศึกษาทางอ้อมในวิชาการสาขาต่าง ๆ และเหตุการณ์ต่าง ๆ แก่กลุ่มประชาชนเป้าหมาย 2. เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล กิจกรรมของสถาบันต่อกลุ่มประชาชนเป้าหมาย 3. เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลุ่มประชาชนเป้าหมายให้ร่วมมือกับสถาบันหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติของกลุ่มประชาชนเป้าหมายที่มีต่อสถาบัน ไปในทางที่พึงประสงค์ 4. เพื่อสร้างความบันเทิง สนุกสนานความพึงพอใจแก่กลุ่มประชาชนเป้าหมาย เทคนิคการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ 1. กำหนดจุดประสงค์งานและวางแผนชัดเจน ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการทุกๆ ขั้นตอน ผู้จัดจำเป็นที่จะต้องกำหนดจุดประสงค์งานก่อนเป็นอย่างแรก การที่รู้ว่าจะต้องทำอะไร ต้องการจะสื่ออะไร จะทำให้ข้อมูลที่ออกมา เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้น นอกจากตัวผู้จัดเองจะรู้แล้วว่าสิ่งที่กำลังทำคืออะไร การกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจนก็จะทำให้มีการวางแผนงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นการตัดไฟแต่ต้นลม หากผู้จัดมีข้อมูลในส่วนนี้เตรียมพร้อมไว้ ไม่ว่าคำถามไหนๆ ที่จะเข้ามา ก็จะสามารถตอบได้อย่างแน่นอน เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นได้ชัด 2. ศึกษากลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด เมื่อกำหนดและวางแผนเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องมาศึกษากลุ่มเป้าหมายที่เลือกไว้อย่างละเอียดอีกรอบ ต้องวางแผนการประชาสัมพันธ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่สุด หากไม่ทำขั้นตอนนี้ กิจกรรมที่จะจัดก็อาจจะไม่มีคนเข้ามาร่วมฟังได้ ในขั้นตอนนี้อาจรวมไปถึงการออกแบบและการใช้ภาษาในการประชาสัมพันธ์อีกด้วย ความเป็นมืออาชีพอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือควรที่จะมีการประชาสัมพันธ์ออกไปทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษนั่นเอง รวมถึงโปสเตอร์หรืออาร์ตเวิร์กต่างๆ ของงาน ก็ควรที่จะมีการออกแบบที่ดี ดูเป็นมืออาชีพ เพราะนี่เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือในการเชิญชวนให้มาร่วมกิจกรรมอย่างหนึ่งก็ว่าได้ 3. เลือกสถานที่ที่เหมาะสม การเลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับประเภทการจัดงานก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน รายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจัดวางโต๊ะ การจัดวางเก้าอี้ ขนาดของห้องหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทุกอย่างควรคำนึงถึงจำนวนผู้เข้าร่วมงานและประเภทของผู้เข้าร่วมงานเป็นต้น รวมถึงต้องคำนึงถึงการเดินทางอีกด้วยว่า สถานที่ที่เลือกนั้นเหมาะสมหรือเปล่า มีที่จอดรถหรือไม่ หรือว่าควรจะจัดสถานที่ที่ใกล้รถไฟฟ้า สำหรับหัวข้อนี้ก็เป็นการบ้านอีกอย่างที่จำเป็นต้องทำ 4. มองหาวิทยากรที่เหมาะสมกับหัวข้อที่จัดตั้งขึ้น เทคนิคการจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพอีกอย่างหนึ่งก็คือการมองหาวิทยากรที่เหมาะกับหัวข้อที่กำหนดนั่นเอง ในประเทศไทยมีวิทยากรมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าผู้จัดนั้นจะเลือกได้เหมาะสมหรือไม่ แน่นอนว่าวิทยากรที่ดีไม่ใช่วิทยากรที่ผู้คนรู้จักเยอะเพียงอย่างเดียว แต่วิทยากรที่ดีที่เหมาะสมนั้น จะต้องทำการควบคุมบรรยากาศภายในงานพร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ 5. ละเอียด รอบคอบ พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง พื้นฐานอย่างหนึ่งของผู้จัดงานอยู่แล้วในข้อนี้ แต่ผู้จัดหลายๆ คนที่ขาดตรงนี้ไป และทำให้งานมีประสิทธิภาพและความเป็นมืออาชีพน้อยลง เมื่อเริ่มการจัดงานแล้ว สถานการณ์ที่คาดไม่ถึงทั้งหลายอาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างเช่นการขัดข้องของอุปกรณ์หรือนักสัมมนาก่อความวุ่นวาย ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นได้ ทางผู้จัดเองก็ควรที่จะมีความละเอียด รอบคอบและมีแผนสำรองสำหรับเหตุการณ์เหล่านี้ด้วย 6. มีการสรุปใจความของการจัดกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหลายๆ ท่านอาจจะเกิดความสับสนได้ว่า สุดท้ายแล้วเรามาทำอะไรที่การจัดงานนี้กันแน่ เพราะฉะนั้นในท่อนสุดท้ายก่อนการปิดงาน การสรุปใจความสำคัญของการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นจึงสำคัญอย่างมากเลยทีเดียว เพียงการสรุปไม่กี่คำ แต่ถ้าหากการสรุปนั้นจับใจความและประเด็นสำคัญออกมาได้ ผู้เข้าร่วมจะต้องพอใจกับข้อมูลที่ได้ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลที่ได้รับตลอดการประชุมนั้นๆ ไปต่อยอดจนเกิดประโยชน์ได้อย่างแน่นอน 7. เก็บรวบรวมข้อเสนอแนะเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุง และเมื่อจบงาน ก็ถึงเวลาที่ผู้จัดจะต้องนำข้อเสนอแนะต่างๆ มาประมวลผลกันบ้างนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในส่วนของรายรับ รายจ่าย สถิติ การวางแผนงาน จำนวนผู้เข้าร่วมงานรวมถึงแบบสอบถามที่ทำขึ้น ข้อมูลทุกส่วนล้วนแต่มีประโยชน์ต่อผู้จัดทั้งสิ้น ไม่ควรปล่อยทิ้งไปแม้แต่นิดเดียว และแน่นอนว่าข้อมูลพวกนี้ ถูกรวบรวมและเก็บไว้เพื่อที่ผู้จัดจะได้นำมาพัฒนาและปรับปรุงในส่วนต่างๆ ต่อไป |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน |