หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบภาพประกอบให้สอดคล้องกับเรื่อง

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-3-026ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบภาพประกอบให้สอดคล้องกับเรื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    สาขาอาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ อาชีพนักออกแบบภาพประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถออกแบบภาพประกอบให้สื่อสารได้อย่างน่าสนใจโดดเด่นและสอดคล้องกับเรื่อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    ผู้ที่จบระดับปวช. สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ สาขานักออกแบบภาพประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30202.01 เตรียมอุปกรณ์การออกแบบที่สอดคล้องกับเรื่อง 1.1 จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบภาพประกอบได้เหมาะสม 30202.01.01 17598
30202.01 เตรียมอุปกรณ์การออกแบบที่สอดคล้องกับเรื่อง 1.2 ใช้อุปกรณ์ในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 30202.01.02 17599
30202.02 กำหนดรูปแบบของภาพประกอบที่สอดคล้องกับเรื่อง 2.1 เลือกใช้รูปแบบทางศิลปะในการออกแบบภาพประกอบได้เหมาะสม 30202.02.01 17600
30202.02 กำหนดรูปแบบของภาพประกอบที่สอดคล้องกับเรื่อง 2.2 ผสมผสานรูปแบบทางศิลปะเพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ 30202.02.02 17601
30202.03 ออกแบบองค์ประกอบและโครงสีของภาพที่สอดคล้องกับเรื่อง 3.1 ประยุกต์ใช้องค์ประกอบศิลป์และทฤษฎีศิลปะอี่นๆได้อย่างลงตัว 30202.03.01 17602
30202.03 ออกแบบองค์ประกอบและโครงสีของภาพที่สอดคล้องกับเรื่อง 3.2 ออกแบบโครงสีตามทฤษฎีได้อย่างมีสุนทรียภาพ 30202.03.02 17603
30202.04 ออกแบบภาพประกอบด้วยเทคนิคที่เหมาะสม 4.1 ออกแบบภาพประกอบด้วยเทคนิคที่เหมาะสมและส่งเสริมเนื้อหา 30202.04.01 17604
30202.04 ออกแบบภาพประกอบด้วยเทคนิคที่เหมาะสม 4.2 ประยุกต์ใช้ข้อมูลอ้างอิงในการออกแบบภาพประกอบได้อย่างถูกต้อง 30202.04.02 17605

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ทักษะการการออกแบบการสร้างภาพด้วยรูปแบบและเทคนิคที่โดดเด่นส่งเสริมเนื้อหา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการออกแบบภาพประกอบ

    2. สามารถใช้อุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    3. สามารถออกแบบภาพประกอบให้มีรูปแบบที่โดดเด่นเฉพาะตนและสอดคล้องกับเรื่อง

    4. สามารถเลือกใช้เทคนิคและเทคโนโลยีในการออกแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ในการวาดเส้น

    2. ความรู้ในการใช้เลือกใช้เทคนิคและอุปกรณ์ลงสี

    3. ความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมในการออกแบบ และตกแต่งภาพ ได้แก่ 

        - Adobe photoshop 

        - Adobe illustrator 

    4. ความรู้เรื่องลัทธิทางศิลปะ

    5. ความรู้เรื่องหลักการออกแบบ องค์ประกอบศิลป์และทฤษฏีสี

    6. ความรู้ในการเลือกใช้อุปกรณ์ออกแบบภาพประกอบอย่างเหมาะสม

    7. ความรู้ด้านการพิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ตัวอย่างภาพประกอบที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์

    2. ตัวอย่างต้นฉบับหรือไฟล์ผลงาน



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1.   การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี  ใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสัมภาษณ์

    2.การทดสอบภาคปฏิบัติ  ใช้ใบสั่งงาน  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน  พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

    1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ ได้แก่

        - อุปกรณ์วาดเส้น เช่น ดินสอ ปากกา  พู่กัน ปากกาอิเลคโทรนิกส์ ฯลฯ

         - อุปกรณ์ลงสี เช่น สีไม้  สีน้ำ  สีอะครีลิค  สีน้ำมัน คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์

        - อุปกรณ์เสริมในการออกแบบ เช่น ไม้บรรทัด  วงเวียน  โต๊ะไฟ 

        - อุปกรณ์เก็บรักษาผลงาน เช่น สเปรย์เคลือบ, ฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ

    2. การใช้อุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

        - ศึกษาข้อมูลและฝึกฝนการใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องและเชี่ยวชาญ

        - ใช้อุปกรณ์ได้อย่างคุ้มค่า

        - เก็บรักษาอุปกรณ์ให้ใช้งานได้เป็นเวลานาน

    3. ทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ ได้แก่ จุด เส้น และรูปทรงต่างๆ เอกภาพ  ที่ว่าง  สมดุลย์ ความหลากหลาย  การสร้างจุดเด่น  การรับรู้ทางความรู้สึก ฯลฯ

    4. ทฤษฏีสี ได้แก่ สีขั้นที่สองและขั้นที่สาม สีคู่ตรงข้าม  ความหมายของสี สีคู่ขัดแย้ง ฯลฯ

    5. ระบบสี ได้แก่

        - แม่สีวัตถุธาตุ

        - แม่สีแสง (RGB)

        - แม่สีในระบบการพิมพ์ (CMYK)

    6. ภาพประกอบที่สวยงามและส่งเสริมเนื้อหา ได้แก่

        - ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นให้เข้าถึงเนื้อหา

        - อธิบายเนื้อหาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

        - สร้างความจดจำเนื้อหาผ่านการออกแบบภาพประกอบ

    7. การนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบภาพประกอบ ได้แก่

        - พัฒนาการออกแบบให้สื่อสารเรื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

        - สร้างแนวคิดและเทคนิคที่น่าสนใจในการออกแบบภาพประกอบ



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ไม่มี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

        1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบประเมินการสัมภาษณ์

        2) ใบสั่งงาน

        3) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน

        4) แฟ้มสะสมผลงาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ