หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ร่างแบบภาพประกอบให้สอดคล้องกับเรื่อง

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-3-025ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ร่างแบบภาพประกอบให้สอดคล้องกับเรื่อง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    สาขาอาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ อาชีพนักออกแบบภาพประกอบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถออกแบบร่างภาพประกอบได้น่าสนใจและสอดคล้องกับเรื่อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    ผู้ที่จบระดับปวช. สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ สาขานักออกแบบภาพประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30201.01 ร่างภาพประกอบตามเรื่องหรือหัวข้องาน 1.1 ออกแบบร่างภาพประกอบได้สอดคล้องกับเนื้อหาของผู้ว่าจ้าง 30201.01.01 17592
30201.01 ร่างภาพประกอบตามเรื่องหรือหัวข้องาน 1.2 นำข้อมูลที่ได้ศึกษาและค้นคว้ามาใช้ในการออกแบบภาพร่างได้อย่างเหมาะสม 30201.01.02 17593
30201.01 ร่างภาพประกอบตามเรื่องหรือหัวข้องาน 1.3 ร่างภาพได้หลากหลายแนวทางเพื่อเป็นทางเลือกในการนำเสนอภาพร่างที่สมบูรณ์ 30201.01.03 17594
30201.02 นำเสนอแบบร่างภาพประกอบแก่ผู้ว่าจ้าง 2.1 ระบุแนวคิดและเทคนิคที่ใช้ในการออกแบบภาพประกอบได้สอดคล้องกับเนื้อหาของผู้ว่าจ้าง 30201.02.01 17595
30201.02 นำเสนอแบบร่างภาพประกอบแก่ผู้ว่าจ้าง 2.2 แสดงภาพร่างที่หลากหลายทั้งแนวคิดและเทคนิคเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ว่าจ้าง 30201.02.02 17596
30201.02 นำเสนอแบบร่างภาพประกอบแก่ผู้ว่าจ้าง 2.3 ใช้อุปกรณ์ในการนำเสนอแบบร่างของภาพประกอบได้เหมาะสม และน่าสนใจ 30201.02.03 17597

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ทักษะการร่างภาพที่สอดคล้องกับเนื้อหาและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธภาพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถร่างภาพประกอบให้สอดคล้องกับเรื่อง

    2. สามารถใช้สีกับร่างภาพประกอบ

    3. สามารถจัดองค์ประกอบศิลป์กับร่างภาพประกอบ

    4. สามารถใช้อุปกรณ์ร่างภาพประกอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ในการวาดเส้น

    2. ความรู้พื้นฐานทางศิลปะและการออกแบบ ได้แก่  เส้น สี รูปทรง น้ำหนัก แสงเงา การจัดองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฏีสี เป็นต้น

    3. ความรู้ในการเลือกใช้อุปกรณ์ร่างภาพอย่างเหมาะสม

    4. ความรู้ในนำเสนอผลงานผ่านอุปกรณ์ที่เหมาะสม

    5. ความรู้ในวิธีการพูดเพื่อนำเสนอผลงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ตัวอย่างผลงานภาพร่างที่เคยทำ

    2. แฟ้มสะสมผลงาน

     

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี  ใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสัมภาษณ์

    2. การทดสอบภาคปฏิบัติ  ใช้แบบสังเกตการปฏิบัติงาน  พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

    1. ภาพร่างที่สอดคล้องกับเนื้อหาของผู้ว่าจ้าง ได้แก่

       - ขนาดภาพและเทคนิคที่ใช้สอดคล้องกับกระบวนการพิมพ์

       - ภาพร่างส่งเสริมเนื้อหาให้น่าสนใจมากขึ้น

    2. นำข้อมูลมาใช้ออกแบบภาพประกอบได้อย่างเหมาะสม ได้แก่

       - พัฒนาการออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะตัว

       - มีแนวคิดและเทคนิคที่โดดเด่นในการออกแบบ

    3. ร่างภาพได้หลากหลายแบบ  ได้แก่

       - ภาพร่างมีความหลากหลายในการนำเสนอแนวคิดที่น่าสนใจ

       - มีรูปแบบที่มากกว่าหนึ่งแบบ

       - ภาพร่างมีความหลากหลายในการออกแบบ เช่น การจัดวางองค์ประกอบศิลป์

    4. ภาพร่างมีแนวคิดและรูปแบบที่สร้างสรรค์สอดคล้องกับเนื้อหาของผู้ว่าจ้าง

       - เทคนิคที่ใช้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหา

    5. อุปกรณ์ในการนำเสนอแบบร่างที่เหมาะสม เช่น กระดาษ แผ่นภาพ วิดิทัศน์  คอมพิวเตอร์



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ไม่มี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

        1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบประเมินการสัมภาษณ์

        2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน

        3) แฟ้มสะสมผลงาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ