หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมงานก่อนการออกแบบภาพประกอบ

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-4-021ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมงานก่อนการออกแบบภาพประกอบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    สาขาอาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ อาชีพนักออกแบบภาพประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถทำความเข้าใจในเนื้อหา สามารถจัดหาและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบภาพประกอบได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    นักออกแบบภาพประกอบหนังสิอและสิ่งพิมพ์ ชั้น 3 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30101.01 ตีความเนื้อหาตามเรื่องที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง 1.1 อ่านเนื้อหาตามเรื่องที่ได้รับจากผู้ว่าจ้างได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน 30101.01.01 17576
30101.01 ตีความเนื้อหาตามเรื่องที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง 1.2 ตีความเนื้อหาตามเรื่องได้อย่างละเอียดถูกต้อง 30101.01.02 17577
30101.02 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลในการออกแบบภาพประกอบ 2.1 ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องได้อย่างเหมาะสม 30101.02.01 17578
30101.02 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลในการออกแบบภาพประกอบ 2.2 ศึกษาเรื่องและข้อมูลเพื่อกำหนดขอบเขตและเทคนิคให้สอดคล้องกับการออกแบบภาพประกอบ 30101.02.02 17579

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ความรู้และทักษะในการอ่านและการทำความเข้าใจในเนื้อหา

    ความรู้และทักษะในการประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ค้นคว้าในการออกแบบ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถสรุปรายละเอียดเนื้อหา

    2. สามารถกำหนดตัวละคร

    3. สามารถกำหนดฉาก

    4. สามารถกำหนดเหตุการณ์

    5. สามารถสรุปประเด็นในการสื่อสาร

    6. สามารถตีความเนื้อหา ตามหัวข้องาน

    7. สามารถตีความแบบนามธรรม

    8. สามารถตีความแบบรูปธรรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการในการทำความเข้าใจเนื้อหาที่ได้รับ

    2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการตีความเนื้อหาที่ได้รับ

    3. ความรู้เกี่ยวกับหลักการภาพประกอบแบบนามธรรม

    4. ความรู้เกี่ยวกับหลักการภาพประกอบแบบรูปธรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. เอกสารเนื้อหาตามหัวข้องานจากผู้ว่าจ้าง

    2. เอกสารการตีความเนื้อหาตามหัวข้องาน

    3. เอกสารสะสมข้อมูลด้านเนื้อหา

    4. เอกสารสะสมข้อมูลด้านภาพ

    

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี  ใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสัมภาษณ์

    2. การทดสอบภาคปฏิบัติ  ใช้ใบสั่งงาน  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน  พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

    1. กำหนดรายละเอียดของเนื้อหาตามเรื่อง ประกอบด้วย ตัวละคร ฉาก เหตุการณ์ และประเด็นสำคัญของการสื่อสาร

    2. การตีความเนื้อหาตามเรื่อง ประกอบด้วย ตีความแบบรูปธรรม หรือ การตีความแบบนามธรรม 

    3. ค้นคว้าและนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างสอดคล้องกับเนื้อหา จากแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุม และ หลากหลาย ได้แก่ ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง และหรือผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้นๆ มีเนื้อหาและข้อมูลที่สอดคล้องกับการออกแบบภาพประกอบ ได้แก่ ส่งเสริมแนวคิดการออกแบบภาพประกอบ พัฒนาเทคนิคการออกแบบภาพประกอบ พัฒนาเทคนิคการพิมพ์



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ไม่มี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

        1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบประเมินการสัมภาษณ์

        2) ใบสั่งงาน

        3) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน

        4) แฟ้มสะสมผลงาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ