หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขัดเกลางานแปล

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-5-019ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขัดเกลางานแปล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2643  นักแปล ล่าม และนักภาษาศาสตร์อื่นๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของเนื้อหางานแปลให้คำและสำนวนถูกต้องตามการอ่านทบทวนงานแปลทั้งฉบับ ตรวจข้อบกพร่องในการใช้ภาษาไทย ความสละสลวยในการเลือกใช้ภาษา และแก้ไขข้อผิดพลาด และขัดเกลาภาษาในการแปล เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งมอบงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาไทยดีมาก และมีความสนใจด้านงานแปล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20302.01 แก้ไขความถูกต้อง 1.1 อ่านทบทวนงานฉบับแปลให้ละเอียดรอบคอบเพื่อตรวจสอบการใช้คำและสำนวนแปลให้ตรงตามความหมายของต้นฉบับ 20302.01.01 17568
20302.01 แก้ไขความถูกต้อง 1.2 แก้ขัดเกลาการใช้คำและสำนวนแปลอย่างสอดคล้องถูกต้องครบถ้วน 20302.01.02 17569
20302.02 แก้ไขความสละสลวย 2.1 อ่านทบทวนงานแปลอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม สละสลวยของการใช้ภาษาไทย 20302.02.01 17570
20302.02 แก้ไขความสละสลวย 2.2 ระบุข้อผิดพลาด ไม่เหมาะสมไม่สละสลวยของงานแปลและขัดเกลาได้อย่างครบถ้วน 20302.02.02 17571

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถอ่านงานฉบับแปลอย่างละเอียดรอบคอบ

    2. สามารถตรวจตัวภาษา ความหมาย ลักษณะภาษา ขัดเกลาภาษาให้ถูกต้อง สอดคล้องกับหลักและการใช้ภาษาฉบับแปล (ภาษาไทย)

    3. สามารถขัดเกลาภาษาโดยคำนึงถึงระดับภา ลีลาภาษา และนย้ำเสียง บริบททางวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับงานต้นฉบับ และปรับภาษาให้สอดคล้องเหมาะสมกับภาษาของต้นฉบับแปล

    4. สามารถหมั่นศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ อ่านเพื่อเพิ่มพูนทักษะการใช้ภษาทั้งความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะทาง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้ภาษาทั้งงานต้นฉบับและภาษาฉบับแปล เช่น ตัวสะกด ลักษณะภาษา ระดับภาษา เป็นต้น

    2. ความรู้เกี่ยวกับบริบทมีหลากหลาย เช่น ในเชิงสังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง การศึกษา เป็นต้น

    3. ความรู้เกี่ยวกับบริบททางวัฒนธรรมและนำมาใช้ในการขัดเกลางานแปลอย่างถูกต้อง สอดคล้อง เหมาะสม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ

    2. งานฉบับแปล

    3. หนังสืออ้างอิง หนังสือ ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการใช้ภาษาไทยที่ได้จากการค้นคว้าทางสารสนเทศการสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ

    4. ความสามารถในการใช้ภาษาไทย

    5. ความสามารถในการอ่านเพื่อตรวจสอบการใช้คำและสำนวนแปลให้ถูกต้องตรงตามความหมายและได้อรรถรสตามต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ

    6. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ใช้แบบสัมภาษณ์

    2. การทดสอบภาคปฏิบัติ ใช้แฟ้มสะสมผลงาน ผลงานที่ได้จัดทำ เอกสารประกอบการทำงานและแบบสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    ขัดเกลางานแปล นักแปลระดับ 5 และ 6 แตกต่างกัน ดังนี้

    นักแปลระดับ 5 ให้ข้อมูล เทคนิค วิธีการ การปฏิบัติ ในการแก้ไขความถูกต้องเนื้อหาและความสละสลวยของงานแปลรูปเล่ม และยกตัวอย่างลักษณะการทำงาน จากแฟ้มสะสมงาน  กล่าวคือ รูปเล่มของงานแปลที่ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว

    นักแปลระดับ 6 ให้ข้อมูล เทคนิค วิธีการ การปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ ข้อควรระมัดระวัง ความใส่ใจ ในการแก้ไขความถูกต้องเนื้อหา  ความสละสลวยของภาษาปลายทางที่แปล ตลอดจนความแตกต่างของการขัดเกลางานของงานแปลรูปเล่ม และยกตัวอย่างลักษณะการทำงาน จากแฟ้มสะสมงาน  กล่าวคือ รูปเล่มของงานแปลที่ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

        1) แบบสัมภาษณ์

        2) แฟ้มสะสมผลงาน ผลงานที่ได้จัดทำ และเอกสารประกอบการทำงาน

        3) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ