หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบอาหารอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --ZZZ-4-005ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบอาหารอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการเลือกใช้ภาชนะและเครื่องมือในการประกอบอาหาร วิธีการเก็บล้างทำความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30131 เลือกใช้ภาชนะและเครื่องมือในการประกอบอาหาร 1. ใช้ภาชนะได้เหมาะสมกับวิธีการปรุงอาหาร 30131.01 135243
30131 เลือกใช้ภาชนะและเครื่องมือในการประกอบอาหาร 2. ใช้เครื่องมือได้ถูกต้อง 30131.02 135244
30132 เก็บล้าง ทำความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือได้ถูกวิธีและปลอดภัย 1. แยกประเภทวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ 30132.01 135245
30132 เก็บล้าง ทำความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือได้ถูกวิธีและปลอดภัย 2. ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ แต่ละประเภท 30132.02 135246
30132 เก็บล้าง ทำความสะอาดและจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือได้ถูกวิธีและปลอดภัย 3. จัดเก็บได้ถูกต้องตามหมวดหมู่ 30132.03 135247

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้ภาชนะและเครื่องมือในการประกอบอาหารได้อย่างเหมาะสม

2. ทักษะการทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือแต่ละประเภท

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องการจัดประเภทวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ใช้เครื่องมือได้ถูกต้อง)

2.    แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (แยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์ เครื่องมือแต่ละประเภท)

3.    แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (จัดเก็บได้ถูกต้องตามหมวดหมู่)

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบสัมภาษณ์  (เลือกใช้ภาชนะเหมาะสมกับการปรุงอาหารแต่ละชนิด)

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง)  วิธีการประเมิน

1. การทดสอบการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ

N/A

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1. ภาชนะที่ใช้ในการปรุงอาหาร  มีหลายรูปแบบและผลิตจากวัสดุหลายชนิด  จึงควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการปรุงอาหารแต่ละชนิด

ทองเหลือง  กระจายความร้อนได้เร็วและทั่วถึง ไม่ทำให้อาหารติดภาชนะ

อลูมิเนียม   ไม่เหมาะสมสำหรับใส่อาหารที่มีรสเปรี้ยว เค็ม เพราะจะทำให้ภาชนะถูกกัดกร่อน รสชาติและสีของอาหารเปลี่ยน

ภาชนะเคลือบ  เหมาะสำหรับอาหารที่มีรสจัด เปรี้ยว เค็ม แต่ต้องระวังไม่ให้มีรอยกะเทาะหรือแตก เพราะจะทำให้อาหารเปลี่ยนรส สี และเกิดการบูดเน่า

สแตนเลส ระวังในการใช้ครั้งแรกต้องล้างทำความสะอาดคราบน้ำมัน และน้ำยาขัดเงาออก ไม่ควรใช้แผ่นขัด     2.  เครื่องมือ  สิ่งอำนวยความสะอาดในการปรุงอาหารเช่น  มีด  เขียง ครก  เตา  กระทะ  หม้อ มีด  มีหลายชนิด  เช่น  มีดหั่น  มีไว้สำหรับหั่นเนื้อ หั่นผัก ผลไม้ มีลักษณะปลายแหลม  บางคม  ยาวประมาณ 8 – 10 นิ้ว มีด้ามจับเหมาะมื้อ

มีดปอก   มีลักษณะปลายแหลม บาง น้ำหนักเบา มีหลายขนาดไว้สำหรับปอกผลไม้

มีดสับ     เป็นมีดที่มีน้ำหนักมาก มีขนาดใหญ่กว่ามีดอื่นๆ มีไว้สำหรับสับอาหาร เช่น สับเนื้อสัตว์

การเลือกใช้มีด ควรดูที่มีความคม ด้ามมีดทนทาน แข็งแรง และดูแลรักษาง่าย

การเก็บรักษาทำความสะอาดหลังการใช้งาน จัดเก็บเมื่อแห้งสนิท เก็บในที่มิดชิดพ้นมือเด็ก

เขียง      ใช้เป็นที่รองรับการหั่น  สับอาหาร  ใช้คู่กับมีด

การเลือกใช้  เลือกที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง  ไม่มีรอยแตกร้าว

การเก็บรักษาทำความสะอาดก่อนและหลังการใช้งาน  ก่อนการจัดเก็บต้องให้เขียงแห้งสนิทเพื่อป้องกันการขึ้นรา

ครก     ใช้สำหรับโขลกส่วนผสมของอาหารหรือเครื่องปรุงให้ละเอียด มีทั้งครกหินและครกดินเผา

การเลือกใช้  ครกหิน ควรใช้สำหรับการโขลก ส่วนผสมที่มีหลายชนิด  เช่น  น้ำพริกแกง  เลือกรูปทรงที่ไม่บิดเบี้ยว   สากที่ใช้ควรทำจากหินเช่นกัน  ส่วนครกดินเผา  ใช้สำหรับบุบวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหาร  เช่น  ตำส้มตำ ควรเลือกที่มี รูปทรงไม่บิดเบี้ยว ก้นลึก สากที่ใช้ทำจากไม้

การเก็บรักษา  ทำความสะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง  คล่ำให้แห้งสนิทก่อนเก็บ

เตา     เตาหุงต้มมีหลายประเภท เช่น เตาถ่าน เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า

การเลือกใช้ เลือกขนาดหัวเตาให้เหมาะสมกับภาชนะ

การเก็บรักษา เตาถ่าน ต้องดับถ่านให้เรียบร้อย เมื่อใช้งานเสร็จ

เตาแก๊ส     หลังการใช้งานต้องปิดวาล์วถังแก๊สให้สนิท ทำความสะอาดหัวแก๊สทุกครั้งหลังใช้งาน

เตาไฟฟ้า ปิดสวิทซ์  ปลดปลั๊ก ทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จทิ้งไว้ให้เย็น จึงเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

กระทะ     ใช้สำหรับการทอด หรือผัดอาหาร

การเลือกใช้ เลือกขนาดให้เหมาะสมกับปริมาณอาหาร มีด้ามจับเพื่อสะดวกในการผัดหรือทอด ทนต่อการใช้งาน  และไม่แตกหักง่าย

การเก็บรักษา ทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน

หม้อ      มีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีการนำไปใช้งานแตกต่างกันตามลักษณะและคุณภาพ

การเลือกใช้ เลือกที่คุณภาพคงทน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการประกันคุณภาพขนาดเหมาะสมกับจำนวนสมาชิก

การเก็บรักษา ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน จัดเก็บเป็นระเบียบ  

1.  ประเภทวัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือ  หมายถึง  วัสดุที่นำมาผลิตเป็นอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆเช่น  แก้ว   เหล็ก  เงิน  อลูมิเนียม  พลาสติก  ทองเหลือง

2.  การทำความสะอาดและจัดเก็บ  วัสดุ  อุปกรณ์แต่ละประเภท

เครื่องเงิน   ใช้น้ำมะขามเปียกหรือน้ำมะนาวขัด ล้างด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ ล้างน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งก่อนเก็บ

ทองเหลือง  ขัดด้วยน้ำมะขามเปียกหรือน้ำยาขัดทองเหลือง ล้างน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งก่อนเก็บ

เครื่องเคลือบ  ห้ามใช้แผ่นใยขัดจะทำให้เกิดรอย ล้างทำความสะอาดผึ่งให้แห้ง

อลูมิเนียม   ล้างด้วยแผ่นใยสำหรับขัดกับน้ำยาล้างจาน ล้างน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งเพื่อให้เงางาม ถ้าไม่เช็ดจะเป็นจุดด่าง

สแตนเลส   ไม่ควรใช้แผ่นใยขัดจะทำให้เกิดรอยขีดข่วน ล้างน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งก่อนเก็บ

แก้ว          ใช้ฟองน้ำพร้อมน้ำยาล้างจาน ล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง ผึ่งให้แห้ง

พลาสติก    ทำความสะอาดโดยใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาล้างจาน ล้างน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งก่อนเก็บ

ไม้         ทำความสะอาดทันทีเมื่อใช้งานเสร็จ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดผึ่งให้แห้ง ไม่ควรเก็บในที่อับชื้น

3.  การจัดหมวดหมู่  คือการจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ ตามประเภท เพื่อป้องกันการกระทบ การแตกหัก หรือทำให้เกิดรอย โดยแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ดังนี้

-  ประเภทเครื่องแก้ว

-  ประเภทโลหะ

-  ประเภทพลาสติก

-  ประเภทไม้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การทดสอบการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ