หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --ZZZ-3-004ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะความรู้ ในการรีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ  ต้องการความสามารถในการแยกประเภทผ้า  การเลือกใช้อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์สำหรับรีดผ้าเพื่อรีดผ้าได้ถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20221 แยกประเภทของผ้าเหมาะสมกับการรีดด้วยเตารีดไอน้ำ 1. แยกประเภทของผ้าได้เหมาะสมกับระดับความร้อนของเตารีดไอน้ำ 20221.01 135217
20221 แยกประเภทของผ้าเหมาะสมกับการรีดด้วยเตารีดไอน้ำ 2. ระบุคุณสมบัติของผ้าที่ทนความร้อนต่อการีดได้ 20221.02 135218
20221 แยกประเภทของผ้าเหมาะสมกับการรีดด้วยเตารีดไอน้ำ 3. อธิบายความหมายของสัญลักษณ์การรีดผ้าที่จะนำไปปฏิบัติ 20221.03 135219
20222 เลือกใช้อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์สำหรับรีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ 1. เลือกใช้อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์สำหรับรีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ 20222.01 135220
20222 เลือกใช้อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์สำหรับรีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ 2. ศึกษาฉลากผลิตภัณฑ์สำหรับรีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ 20222.02 135221
20223 รีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ ตามขั้นตอน 1. ศึกษาคู่มือการใช้เตารีดไอน้ำ 20223.01 135222
20223 รีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ ตามขั้นตอน 2. เลือกระดับความร้อนของเตารีดไอน้ำที่เหมาะสมกับชนิดของเสื้อผ้า 20223.02 135223
20223 รีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ ตามขั้นตอน 3. รีดส่วนประกอบของเสื้อผ้าตามลำดับ 20223.03 135224

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  ทักษะการใช้ความร้อนของเตารีดไอน้ำในการรีดผ้าแต่ละชนิด

2.  ทักษะการใช้อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์สำหรับรีดผ้า

3.  ทักษะการรีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของผ้า

2.  ความรู้เกี่ยวกับความหมายของสัญลักษณ์การรีดผ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)    

1.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (แยกประเภทของเสื้อผ้าได้เหมาะสมกับระดับความร้อนของเตารีดไอน้ำ)

2.  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (เลือกใช้อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์สำหรับรีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ)

3.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (รีดส่วนประกอบของเสื้อผ้าตามลำดับ)

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.  แบบสัมภาษณ์ (ระบุคุณสมบัติของผ้าที่ทนความร้อนต่อการรีดได้)

2.  แบบสัมภาษณ์ (อธิบายความหมายของสัญลักษณ์การรีดผ้าที่จะนำไปปฏิบัติ)

3.  แบบสัมภาษณ์ (อธิบายความหมายฉลากผลิตภัณฑ์สำหรับรีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ)

4.  แบบสัมภาษณ์ (อธิบายคู่มือการใช้เตารีดไอน้ำ)

5.  แบบสัมภาษณ์ (เลือกระดับความร้อนของเตารีดที่เหมาะสมกับชนิดของเสื้อผ้า)

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง)  วิธีการประเมิน

1. การทดสอบการปฏิบัติงาน

2. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ

N/A

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.  คุณสมบัติของผ้า ดังนี้

1.1  เสื้อผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย  ผ้าไหม  ผ้าลินิน  เนื้อผ้าหนาปานกลาง  จะรีดด้วยระดับความร้อนปานกลาง  หากเป็นผ้าเนื้อหนาจะรีดด้วยระดับความร้อนสูง

1.2  เสื้อผ้าจากใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าโพลีเอสเตอร์  ผ้าเทโทรอน  ผ้าเดครอน  จะไม่ทนต่อความร้อน  ควรรีดด้วยระดับความร้อนอ่อนถึงปานกลาง

2.  ระดับความร้อน  คืออุณหภูมิของเตารีดที่ให้ความร้อนเหมาะสมกับชนิดของผ้า

3.  อุปกรณ์ที่ใช้ในการรีดผ้า

3.1  เตารีดไอน้ำ   เป็นเตารีดสมัยใหม่  มีราคาแพงกว่าเตารีดไฟฟ้าธรรมดา  เตารีดไอ้น้ำจะพ่นไอน้ำออกมาขณะรีด  สะดวกในการรีดจะรีดได้เร็ว

3.2  ที่รองรีด  ใช้สำหรับรีดผ้าเป็นโต๊ะรีดที่พับเก็บได้ มีแบบยืนรีดและแบบนั่งรีด

3.3  หมอนรองรีด  ใช้รีดส่วนประกอบของตัวเสื้อ  หรือตะเข็บที่มีส่วนโค้งเว้า ควรเลือกใช้หมอนรองรีดให้มีขนาด  เหมาะกับตะเข็บที่จะรัด

3.4  กระบอกฉีดน้ำ  ใช้สำหรับฉีดน้ำบนเสื้อผ้า เช่นน้ำยารีดผ้าเรียบ  น้ำยาอัดกลีบ

4.  ผลิตภัณฑ์สำหรับรีดผ้า

4.1 น้ำยารีดผ้าเรียบ  ใช้ฉีดก่อนรีดผ้า เพื่อช่วยทำให้ผ้าที่รีดเรียบและมีกลิ่นหอม

4.2  น้ำยาอัดกลีบ  ใช้สำหรับฉีดผ้า เพื่อเพิ่มความแข็งของผ้าเป็นพิเศษ

5.  รีดผ้า  คือการทำให้ผ้าเรียบโดยใช้ความร้อนจากเตารีดไอน้ำ  โดยการรีดทับผ้าทีละส่วน  และรีดไถไปมาตรงบริเวณที่ต้องการรีดให้เรียบร้อย

6.  ส่วนประกอบของเสื้อผ้า  คือการรีดผ้าให้เรียบจากส่วนที่รีดยากก่อน  เช่น ไหล่  ปก  กระเป๋า

7.  ระดับความร้อน  คืออุณหภูมิของเตารีดที่ให้ความร้อนเหมาะสมกับชนิดของผ้า

8.  เตารีดไอน้ำ  คือเตารีดที่พ่นไอน้ำร้อนออกมาขณะรีดผ้า

9.  ขั้นตอนการรีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ

9.1  ตรวจสอบป้ายสัญลักษณ์การดูแลรักษาเสื้อผ้า  เหมาะสำหรับการรีดหรือไม่

9.2  แยกประเภทเสื้อผ้าก่อนรีด

3.9  เติมน้ำที่ตัวเตารีดไอน้ำ ตามคำแนะนำการใช้

9.4  ปรับอุณหภูมิเตารีดให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า

9.5  รีดส่วนประกอบของเสื้อจากส่วนที่รีดยากก่อน เช่น แขน ไหล่ ปก กระเป๋า แล้วรีดบริเวณด้านหน้า ด้านหลัง ตามลำดับ

9.6  เมื่อรีดผ้าเสร็จแล้วควรถ่ายน้ำออกจากเตารีดเพราะจะเกิดตะกรันที่จะเกาะรูพ่นไอน้ำ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การทดสอบการปฏิบัติงาน

3.  การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ