หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมห้องต่างๆ ให้พร้อมในการใช้งาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --ZZZ-2-002ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมห้องต่างๆ ให้พร้อมในการใช้งาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะในการทำความสะอาดอาคารและมีความรู้ความสามารถในการจัดเตรียมห้องรับแขก ห้องนอนและห้องครัวให้พร้อมใช้งาน สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบในระหว่างการทำความสะอาด โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี เครื่องมือและข้อมูลพื้นฐานภายใต้การควบคุมแนะแนวของผู้บังคับบัญชา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10141 จัดเตรียมห้องรับแขก 1. เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องรับแขก 10141.01 134943
10141 จัดเตรียมห้องรับแขก 2. ทำความสะอาดห้องรับแขกตามขั้นตอน 10141.02 134944
10142 จัดเตรียมห้องนอน 1. ทำความสะอาดห้องนอนตาม ขั้นตอน 10142.01 134945
10142 จัดเตรียมห้องนอน 2. ดูแลรักษาสิ่งของในห้องนอนให้พร้อมใช้งาน 10142.02 134946
10143 จัดเตรียมห้องครัว 1. ทำความสะอาดห้องครัวได้ถูกต้องตามขั้นตอน 10143.01 134947
10143 จัดเตรียมห้องครัว 2. ดูแลรักษาความสะอาดและความปลอดภัย 10143.02 134948

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  มีทักษะในการจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องต่างๆ ภายในอาคาร

2.  มีทักษะในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องต่างๆ ภายในอาคาร

3.  มีทักษะในการทำความสะอาดห้องห้องต่างๆ ภายในอาคาร

4.  มีทักษะในการจัดตกแต่งห้องต่างๆ ภายในอาคาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  มีความ รู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอาคาร

2.  มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องรับแขก)

2.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดห้องรับแขกตามขั้นตอน)

3.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดห้องนอนตามขั้นตอน)

4.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดห้องครัวไดถูกต้องตามขั้นตอน)

5.  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (ดูแลรักษาความสะอาดและความปลอดภัย)

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.  แบบสัมภาษณ์ (ดูแลรักษาสิ่งของในห้องนอนให้พร้อมใช้งาน)                                                                                          

2.  แบบสัมภาษณ์ (ดูแลรักษาความสะอาดและความปลอดภัย)

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

N/A

วิธีการประเมิน

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์

3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ

N/A

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1. ห้องรับแขก

1.1  วัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องรับแขก ได้แก่ ไม้กวาดขนไก่ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดหยากไย่ ผ้าสะอาด ไม้ถูพื้น  ถังน้ำ ถุงมือยาง ฟองน้ำ   ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดจมูกและปาก น้ำยาและผงทำความสะอาด

1.2  ขั้นตอนการทำความสะอาดห้องรับแขก

 -   เพดาน ฝาผนังใช้ไม้กวาดหยากไย่ปัดเอาใยแมงมุม ตามมุมหรือเพดานสัปดาห์ละครั้ง

-  โต๊ะ เก้าอี้รับแขก ใช้ไม่กวาดขนไก่และผ้าสะอาดปัดฝุ่น เช็ดถูทุกวัน

-  ภาพติดฝาผนัง ทำความสะอาดด้วยไม้กวาดขนไก่

-  วิทยุและโทรทัศน์ ควรปัดฝุ่นและเช็ดด้วยผ้าแห้งทุกวัน

-  หนังสือ จัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

2.  ห้องนอน คือ ห้องสำหรับพักผ่อนหลับนอน

2.1  ขั้นตอนการทำความสะอาดห้องนอน พื้นห้อง ฝ้าเพดาน ประตู หน้าต่าง ควรปัดกวาดเช็ดถูอย่างสม่ำเสมอ สำหรับของที่ยกหรือเลื่อนได้ ก็ควรยกหรือเลื่อนเมื่อทำความสะอาดทุกครั้ง

-  เตียงนอนหรือเครื่องนอนต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมออย่าให้มีฝุ่นเกาะ ใต้เตียงต้องให้สะอาด และทุกครั้งที่ตื่นนอนควรจัดเก็บ มุ้ง หมอน ผ้าห่มให้เรียบร้อยแล้วใช้ผ้าคลุมเตียงคลุมทับอีกครั้งหนึ่งเพื่อช่วยให้เรียบร้อยน่าอยู่ยิ่งขึ้นและป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองหรือฝุ่นผงตกลงบนที่นอนด้วย

-  หน้าต่างห้องนอน ควรเปิดในตอนเช้าทุกวันเพื่อให้ภายในห้องนอนและที่นอนได้รับแสงแดด เป็นการผึ่งผ้าปูที่นอนไปในตัวและเป็นการถ่ายเทอากาศในห้องนอนให้ปลอดโปร่งด้วย

-  ม่านหน้าต่างและม่านประตู ควรเปลี่ยนออกซักรีดให้สะอาดตามเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยจนดำสกปรกเกินไป

2.2  ดูแลรักษาส่วนต่างๆ และสิ่งของในห้องนอนให้สวยงามและสะอาดอยู่เสมอ ดังนี้

-  เก็บที่นอน หมอนมุ้ง พับผ้าห่ม ปัดที่นอนและคลุมเตียงด้วยผ้าคลุมให้เรียบร้อยทุกวัน

-  จัดตู้โต๊ะให้เป็นระเบียบ และเช็ดถูให้สะอาด

-  ขณะทำความสะอาดควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

-  มุ้งลวด ควรทำความสะอาด โดยปัดฝุ่นประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

-  พื้นห้อง ควรกวาดและถูกทุกวันเหมือนพื้นอาคารบริเวณอื่นๆ

3. ห้องครัว ห้องครัวหรือห้องอาหารจัดเป็นห้องที่สำคัญของตัวอาคาร โดยปฏิบัติดังนี้

3.1  ขั้นตอนการทำความสะอาดห้องครัว

-  ควรใช้ฟองน้ำหรือผ้าสะอาดชุบน้ำยาทำความสะอาดผนังหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ

-  พื้นห้องครัว ควรทำความสะอาดทุกครั้งที่ประกอบอาหารเสร็จและเช็ดถูโต๊ะประกอบอาหาร เตาให้สะอาด  ควรทำความสะอาดพื้นครัวและขัดหรือเช็ดถูโต๊ะประกอบอาหาร เตาให้สะอาดอย่าง     ละเอียดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

-  ตู้กับข้าวควรแยกสิ่งของที่เก็บไว้ในตู้เป็นพวกๆ อย่าปะปนกันสิ่งของที่ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น พริกแห้ง น้ำปลา น้ำมันควรเก็บไว้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้

-  ถ้วยชาม เมื่อทำความสะอาดแล้วควรผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำเก็บไว้ในที่มิดชิดอย่าคว่ำจานตลอดคืน เพราะกลางคืนอาจมีหนูหรือแมลงอื่นๆ ออกมาหาอาหารแล้วปีนป่ายบนจาน ทำให้ภาชนะที่ล้างไว้สกปรกและติดโรคบางอย่างได้

-  ถังขยะ ควรปิดฝาให้มิดชิด เศษขยะต่างๆ ที่เหลือใช้แล้วควรเก็บแยกประเภทขยะทั่วไปลงถังและ เมื่อมีเศษขยะมากพอควรนำเศษขยะไปฝังหรือเผาให้หมดหรือนำไปวางไว้ตามจุดก่อนให้รถขยะของเทศบาลมารับไปก็ได้ อย่าทิ้งให้เป็นบ่อเกิดเชื้อโรคต่างๆ

3.2  ดูแลรักษาความสะอาดและความปลอดภัย

-  เตาแก๊ส ควรปิดวาล์ว และทำความสะอาดทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ

-  เครื่องใช้ในครัวต่างๆ ต้องล้างให้สะอาดและคว่ำให้แห้ง โดยเฉพาะจานชาม ช้อนส้อม ควรใช้ผ้าสะอาดคลุมเพื่อป้องกันหนูและแมลงสาบ

-  โต๊ะและตู้กับข้าว โต๊ะในห้องครัวใช้สำหรับประกอบอาหาร หลังใช้งานควรจัดเก็บและทำความสะอาดทุกครั้ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์

3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ