หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --ZZZ-1-002ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการบำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร กระบวนการคิดและปฏิบัติที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือและข้อมูลที่เกี่ยวช้องภายใต้การแนะแนวชองผู้บังคับบัญชา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10231 ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคาร 1. ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้าและสวนได้อย่างถูกต้อง 10231.01 135163
10231 ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคาร 2. ขั้นตอนในการบำรุงรักษาสนามหญ้าและสวน 10231.02 135164
10231 ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคาร 3. ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง 10231.03 135165
10232 ดูแลรักษาบริเวณรั้วประตูและถนนเข้าอาคาร 1. จำแนกประเภทของรั้วประตูได้อย่างถูกต้อง 10232.01 135166
10232 ดูแลรักษาบริเวณรั้วประตูและถนนเข้าอาคาร 2. ขั้นตอนในการบำรุงรักษารั้วประตูและถนนเข้าอาคาร 10232.02 135167
10233 กำจัดขยะมูลฝอย 1. จำแนกประเภทของขยะ 10233.01 135168
10233 กำจัดขยะมูลฝอย 2. จัดเก็บได้อย่างถูกต้อง 10233.02 135169
10233 กำจัดขยะมูลฝอย 3. กำจัดขยะได้อย่างถูกต้อง 10233.03 135170

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการบำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร   มีทักษะในการเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงาน ที่รับผิดชอบมีทักษะด้านความปลอดภัยการสื่อสารด้วยภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ หรือภาษาในประเทศอาเซียน และมีทักษะพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ความเข้าใจในหลักการ วิธีการ ในการบำรุงรักษาและดูแลบริเวณอาคาร   มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความเข้าใจในภาษาต่างประเทศหรือภาษาในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคารได้)

2. แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ใช้วัสดุอุปกรณ์ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง)

3. แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (จำแนกประเภทของขยะ)

4. แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (จัดเก็บได้อย่างถูกต้อง)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์ (ขั้นตอนในการบำรุงรักษาสนามหญ้าและสวน)

2. แบบสัมภาษณ์ (จำแนกประเภทของรั้วประตูได้อย่างถูกต้อง)

3. แบบสัมภาษณ์ (ขั้นตอนในการบำรุงรักษารั้วประตูและถนนเข้าอาคาร)

4. แบบสัมภาษณ์ (กำจัดขยะได้อย่างถูกต้อง)    

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง)  วิธีการประเมิน

1.การสัมภาษณ์

2.การทดสอบการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ดูแลสนามหญ้าและสวนในบริเวณอาคาร

1.1  วัสดุ-อุปกรณ์ดูแลสนามหญ้าและสวน ประกอบด้วย  กรรไกรตัดหญ้า เครื่องตัดหญ้า ไม้กวาด ทางมะพร้าว บุ้งกี้ กรรไกรตัด เลื่อยตัดแต่งกิ่ง

1.2  ขั้นตอนในการบำรุงรักษาสนามหญ้าและสวน

1.2.1 ตัดแต่งไม้พุ่มต่างๆ ในบริเวณอาคารให้เสร็จสิ้นก่อนตัดหญ้าเสมอ เก็บกวาดกิ่งใหญ่ ออกให้หมด ส่วนเศษใบเล็กๆ น้อยๆ ที่ตกอยู่ในสนามหญ้า พอเครื่องตัดหญ้าตัดผ่าน เครื่องที่มีกล่องเก็บหญ้าจะดูดเก็บเศษใบไม้เหล่านี้ไปได้

1.2.2 เดินสำรวจสนามให้รอบ ดูว่ามีเศษอิฐเศษหินหลงมาอยู่ในสนามหญ้าของเราหรือไม่ ถ้าเจอก็เก็บออกให้หมด

1.2.3 เวลาที่เหมาะสำหรับการตัดหญ้าประมาณบ่ายสามโมง เพราะเป็นเวลาที่ใบหญ้าถูกแดดจนน้ำค้างแห้งดีแล้ว ใบหญ้าที่ยังชื้นจะตัดยากกว่าใบหญ้าที่แห้ง

1.2.4 หลังการตัดหญ้าเมื่อตัดหญ้าในสนามเสร็จ อย่าปล่อยให้เศษหญ้าหลงเหลืออยู่ในสนามใช้ไม้กวาดทางมะพร้าว กวาดใส่บุ้งกี๋

1.3  การปรับปรุงสวน

1.3.1 ไม้กระถาง หากพบว่าดินปลูกในกระถางเหลือน้อยลง จำเป็นจะต้องเติมดินลงในกระถางหรือไม้กระถางนั้นเจริญเติบโตเกินกว่าจะอยู่ในกระถางเดิมได้ ก็ควรจะเปลี่ยนกระถางหรือย้ายไม้นั้นลงปลูกในดินหรือทำการเปลี่ยนไม้กระถางใหม่

1.3.2 พรรณไม้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เถาเลื้อย เมื่อเจริญเติบโตจนเบียดกัน ต้องแยกออกบางต้นหรือตัดแต่งให้ได้ขนาดที่ต้องการ หากจุดใดพรรณไม้ตายไปก็ควรจะหาพรรณไม้นั้นๆ มาปลูกทดแทน หรือจะเปลี่ยนแปลงเป็นไม้ชนิดอื่นก็อาจทำได้ ทั้งนี้ต้องพิจารณาความเหมาะสมของพรรณไม้นั้นๆ ด้วย

1.4  ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง

1.4.1 ก่อนทำการตัดหญ้าให้ตรวจสอบว่าไม่มีวัตถุแปลกปลอมอยู่ในสนามหญ้า อย่างเช่น ของเล่น ท่อนไม้หรือก้อนหิน

1.4.2 ต้องมั่นใจว่าใบมีดของเครื่องตัดหญ้าที่คุณใช้มีความคมอยู่ตลอดเวลา ทุกครั้งที่ใช้

1.4.3 ห้ามตรวจสอบเครื่องตัดหญ้าขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่

1.4.4 ห้ามใช้มือหรือเท้าเขี่ยเศษหญ้าออกจากเครื่องตัดหญ้าขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ให้ทำเมื่อปิด     เครื่องแล้วเท่านั้น

1.4.5 ก่อนใช้จะต้องมั่นใจว่าเครื่องป้องกันไม่หลุดหาย

1.4.6 ถ้าจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมอื่น ต้องปิดเครื่องตัดหญ้าก่อนทุกครั้ง

1.4.7 สวมชุดป้องกัน เช่น แว่นตา กางเกงขายาวและถุงมือ ไม่ควรใส่รองเท้าฟองน้ำ

2. ดูแลรักษาบริเวณรั้ว ลาน ถนน ทางเดิน และรั้วอาคาร

2.1.  ประเภทของวัสดุพื้นผิวของอาคารสถานที่ ประกอบด้วยวัสดุหลายอย่างที่แตกต่างกันตามประโยชน์ใช้งาน เช่น คอนกรีต ปูนซีเมนต์ ไม้ โลหะ หินอ่อน (แผ่น)

2.2  ขั้นตอนการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณรอบอาคาร ใช้วิธีการ เครื่องมือและอุปหรณ์ ตลอดจนวัสดุต้องทำความสะอาดให้เหมาะสมกับพื้นผิว รั้วแต่ละประเภท

2.2.1 เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุทำความะสอาดให้พร้อมทำความสะอาด

2.2.2 ทำความสะอาดเบื้องต้นก่อน โดยใช้ไม้กวาดอ่อนหรือไม้กวาดทางมะพร้าว ปัดกวาดเศษดิน ฝุ่น หิน ใบไม้หรือเศษขยะอื่นๆ เก็บและนำไปทิ้งในที่กำหนด

2.2.3 ทำความสะอาดคราบสกปรกหรือรอยเปื้อนที่ติดแน่น ตะไคร่น้ำ เชื้อรา ด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุทำความสะอาดที่เหมาะสมกับพื้นผิวแต่ละชนิด ดังนี้

2.2.3.1 วัสดุไม้

2.2.3.1.1 ใช้ผ้านุ่มๆ ชุบน้ำผสมสบู่จางๆเช็ดก็เพียงพอ อย่าใช้น้ำมาก เพราะจะทำให้ผิวเป็นรอยด่างอย่าใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียหรือแอลกอฮอลล์กับไม้เด็ดขาด

2.2.3.1.2 ใช้แลคเกอร์เคลือบผิวก็จะให้ความเงางาม ใช้น้ำมัน บำรุงรักษาผิว เช่น Teak Oil หรือ Oil Stain ควรทาทุก 3 เดือน

2.2.3.1.3 รั้วไม้นั้นมีศัตรูที่คอยทำลายความแข็งแรงตรวจตราอยู่สม่ำเสมอว่ามีบริเวณไหนที่ได้รับความเสียหายให้ทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่โดยทันที

2.2.3.2 วัสดุปูน หรือคอนกรีต และไม้เฌอร่า

2.2.3.2.1 วัสดุปูนหรือคอนกรีต

1) ราดน้ำให้เปียกจากนั้นใช้ฝงซักฟอกอุตสาหกรรมราดให้ทั่ว

2) ขัดคราบด้วยแปรงที่มีขนแข็งๆ ขัดให้สะอาด

3) ล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งหรือฉีดล้างด้วยน้ำที่มีแรงดันสูง (High-Pressure) ทิ้งไว้จนแห้งข้อควรระวังในการใช้สารเคมีในการขจัดคราบ กรดไฮโดรคลอริคเจือจาง, ฝงซักฟอกอุตสาหกรรมหรือสารทำความสะอาดอื่นที่มีสารเคมีเป็นองค์ประกอบหลัก สามารถทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ ถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้องอ่านขั้นตอนการเตรียมสารละลายและคำเตือนของผู้ผลิตสารเคมีอย่างละเอียดก่อนใช้ปฏิบัติตามข้อแนะนำความปลอดภัยและอัตราการผสมในการผสมสารเคมีควรเจือจางกรดด้วยการเติมกรดลงในน้ำที่เตรียมไว้ โดยไม่ควรเติมน้ำไปเจือจางกรดสวมเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม และควรปฏิบัติงานในที่ที่มีอากาศถ่ายเท  กรดสามารถทำลายพื้นผิวของคอนกรีตได้ ในการใช้จึงจะต้องเจือจางก่อนและล้างทำความสะอาดทันทีหลังจากการใช้งาน

2.2.3.2.2 วัสดุไม้เฌอร่า

1) ใช้ผ้านุ่มๆชุบน้ำผสมสบู่จางๆเช็ด

2) ฉีดน้ำล้างทำความสะอาด ถูพื้นให้แห้ง เป็นวัสดุที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม่มีปัญหาเรื่องของแมลงกินไม้ แต่ความยืดหยุ่นจะน้อยกว่ารั้วไม้จริง ถ้าเกิดการกระแทกแรงๆ สามารถหักได้  ควรระวังป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกกับรั้วโดยตรงไม่ควรใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง ประเภทใช้ทำความสะอาดสุขภัณฑ์หรือห้องน้ำ เพราะจะทำให้พื้นไม้เทียมเกิดรอยด่างเสียหายไม่สามารถแก้ไขได้

2.2.3.3 วัสดุโลหะ ได้แก่ เหล็ก อัลลอยด์ สแตนเลส

2.2.3.3.1 เหล็ก

1) ทำความสะอาดรั้วเหล็กด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำมันสน

2) ขัดสนิมและคราบสีเก่าออกด้วยแปรงลวดทองเหลือง เกรียงเหล็ก และกระดาษทรายจนถึงเนื้อโลหะ

3) เช็ดด้วยผ้าสะอาดแล้วรอให้แห้งสนิท

4) ทาสีรองพื้นแดงกันสนิม 2 รอบทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

2.2.3.3.2 อัลลอยด์

1) ล้างด้วยน้ำสบู่ ฉีดด้วยน้ำสะอาดจนหมดคราบแล้วเช็ดด้วย ผ้า จนแห้งสนิทรั้วอัล ลอยด์มีความคงทนสูงเนื่องจากไม่เป็นสนิม สีที่เคลือบไว้นั้นก็ป้องกันฝุ่นหรือ ความชื้นได้ดีสีที่จะซีดเก่าไปตามกาลเวลาต้องดูแลทาสีใหม่ในเวลาที่เหมาะสม ห้ามกระแทกหรือโดนอะไรแรง

2.2.3.3.3 สแตนเลส

1) ทำความสะอาดทันทีที่พบรอยเปื้อนและฝุ่น

2) ใช้น้ำสะอาดล้างและเช็ดให้แห้งด้วยผ้าเนื้อนุ่มหรือกระดาษชำระแผ่นใหญ่เมื่อใช้กรดทำความสะอาด ควรใช้มาตรการป้องกันและระมัดระวังอย่างเหมาะสมขั้นตอนการขจัดคราบต่างๆ เช่น รอยเปื้อน : น้ำมัน คราบน้ำมัน : ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน / ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างออกด้วยสบู่ /ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง สิ่งที่ไม่ควรทำกับพื้นผิวสแตนเลส

- อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของคลอไรด์ ( Chlorides) และ เฮไลด์ (Helides) เช่น โบรไมน์ (Bromine) ไอโอดีน (Iodine) และ ฟลูออรีน (Fluorine)

- อย่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดสแตนเลส

- อย่าใช้กรดไฮโดรคลอริค (HCI) ในการทำความสะอาด เพราะจะทำให้เกิดการกัดกร่อน แบบรูเข็มและแบบเป็นรอยร้าวได้ อย่าใช้ปริมาณสบู่และผงซักฟอกมากเกินไปในการทำความสะอาด เพราะอาจทิ้งคราบไว้บนพื้นผิวได้อย่าทำความสะอาดส่วนที่มีคราบฝังแน่นในขั้นตอนเดียว ควรทำความสะอาดเบื้องต้นก่อนขจัดคราบฝังแน่น

2.3.ขั้นตอนการทำความสะอาดถนน

2.3.1 กวาดด้วยไม้กวาดดอกหญ้าให้สะอาด

2.3.2 ถูด้วยไม้ถูพื้นที่ชุบน้ำบิดหมาดๆ

2.3.3 ถ้าพื้นสกปรกมากควรล้างด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือผงซักฟอก

2.3.4 แล้วใช้แปรงทองเหลืองขัดถูและกวาดให้สะอาดด้วยไม้กวาดทางมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง

2.3.5 พื้นที่ผ่านการใช้งานและขาดการดูแลรักษามานาน ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบเข้มข้นขจัดคราบสกปรก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสัมภาษณ์

2. การทดสอบการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ