หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำความสะอาดห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ และการจัดเครื่องใช้ในห้องน้ำ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --ZZZ-1-002ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำความสะอาดห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ และการจัดเครื่องใช้ในห้องน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้มีทักษะในทำความสะอาดห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์และการจัดเครื่องใช้ในห้องน้ำขั้นพื้นฐาน สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้จำกัด โดยมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10131 เลือกวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ 1. กำหนดงานที่จะทำความสะอาดภายในห้องน้ำ 10131.01 134935
10131 เลือกวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ 2. เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ได้เหมาะสม 10131.02 134936
10131 เลือกวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ 3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ได้เหมาะสม 10131.03 134937
10132 ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ 1. เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ 10132.01 134938
10132 ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ 2. ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ตามขั้นตอน 10132.02 134939
10132 ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ 3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ด้วยความระมัดระวัง 10132.03 134940
10133 จัดเครื่องใช้ในห้องน้ำ 1. แยกประเภทเครื่องใช้ในห้องน้ำ 10133.01 134941
10133 จัดเครื่องใช้ในห้องน้ำ 2. จัดวางเครื่องใช้ในห้องน้ำได้ถูกต้องเหมาะสม 10133.02 134942

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  



1.  มีทักษะในการเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ

2.  มีทักษะในการทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์

3.  มีทักษะในการจัดวางเครื่องใช้ในห้องน้ำ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะการใช้งานของวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องน้ำ

2.  มีความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์

3.  มีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ได้เหมาะสมกับลักษณะงานทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ได้เหมาะสม)

2. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ได้เหมาะสม)                                                 

3. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ได้เหมาะสม)

4.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์ได้ถูกต้องตามขั้นตอน)                                                               

(ข)  หลักฐานความรู้  (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์ (กำหนดงานที่จะทำความสะอาดภายในห้องน้ำ)

2. แบบสัมภาษณ์ (แยกประเภทเครื่องใช้ในห้องน้ำได้ถูกต้อง)

3. แบบสัมภาษณ์ (จัดวางเครื่องใช้ในห้องน้ำได้ถูกต้องเหมาะสม)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง)  วิธีการประเมิน

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์

3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ

N/A                            

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

ห้องน้ำ คือ ห้องที่สมาชิกใช้ร่วมกันเป็นประจำ ตลอดจนแขกผู้มาเยี่ยมเยือน

เครื่องสุขภัณฑ์ หมายถึง  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการชำระล้างให้เกิดสุขอนามัย

1.  ลักษณะงานที่จะทำความสะอาดในห้องน้ำ

1.1  งานทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์

1.2  งานทำความสะอาดผนังห้องน้ำ

1.3  งานทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ

2. การเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดห้องน้ำ

2.1  เครื่องสุขภัณฑ์ แผ่นหรือแปรงใยสังเคราะห์ เช่น แปรงไนล่อน แผ่นขัดใยสังเคราะห์  

2.2  พื้นห้องน้ำ แผ่นหรือแปรงใยสังเคราะห์ เช่น แปรงไนล่อน แผ่นขัดใยสังเคราะห์

2.3  ผนังห้องน้ำ แผ่นหรือแปรงใยสังเคราะห์ เช่น แปรงไนล่อน แผ่นขัดใยสังเคราะห์ อุปกรณ์อื่นๆ ถังน้ำ ถุงมือยาง ขันน้ำ ฟองน้ำ ผ้าสะอาด ผ้าปิดจมูกและปาก รองเท้ายางหรือรองเท้าบูทยาง

3.  การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์

3.1  สารซักฟอก ใช้งานตามที่ระบุในฉลาก

3.2  น้ำยาขจัดคราบและน้ำยาดับกลิ่นฆ่าเชื้อ ใช้ทำความสะอาดพื้น ขัดสุขภัณฑ์ตามที่ระบุไว้ในฉลาก

3.3  น้ำยาเช็ดกระจก ใช้กำจัดคราบสกปรกต่างๆ บนกระจก ก่อนใช้ควรอ่านข้อแนะนำวิธีใช้ในฉลากที่ติดบนผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยและสุขภัณฑ์ไม่เสียหายชำรุด

4.  ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร

4.1 ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ให้เหมาะสมกับงานทำความสะอาด

4.2  ขณะปฏิบัติงานควรสวมถุงมือยาง และรองเท้าบูทยาง ภายหลังจากการใช้หรือหยิบจับควรล้างถุงมือยาง  รองเท้าบูทยาง และมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง

4.3  ระวังอย่าให้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม และห้ามรับประทาน

5. หลักในการทำความสะอาดห้องน้ำ

5.1 สะอาด แห้ง และมีกลิ่นหอม นำถังขยะ กระดาษชำรา และผลิตภัณฑ์ใช้ทำความ สะอาดร่างกายที่อยู่ภายในห้องน้ำออก

5.2 ความสะอาดจากบนลงล่างและด้านในออกด้านนอก

5.3  ทำความสะอาดบริเวณที่ยากก่อนโดยเฉพาะซอกมุม

5.4  เช็ด ถู ไปในทิศทางเดียวกัน

5.5  ใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับวัสดุและพื้นผิวที่จะทำความสะอาด

6.  ขั้นตอนการทำความสะอาดห้องน้ำ

6.1  ฝาผนังห้องน้ำ เพดานและหน้าต่าง ใช้ไม้กวาดเหยากใย่กวาดหยากไย่และตัวแมลงที่ติดอยู่ออกให้หมด และถ้าสกปรกเป็นคราบควรใช้น้ำสบู่หรือผงซักฟอกขัดถูให้สะอาด โคมไฟหรือหลอดไฟ ใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด

6.2  พื้นห้องน้ำ พื้นกระเบื้อง ส่วนใหญ่คราบสกปรกและเชื้อราดำมักจะเกิดขึ้นในห้องน้ำที่อับชื้น โดยเฉพาะบริเวณร่องยาแนวกระเบื้องหรือมุมห้องที่มีน้ำขัง ควรทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำเพื่อขจัดคราบดำๆ สกปรก ที่อยู่ตามร่องกระเบื้องแล้วใช้แปรงขัดออก ปูนเปลือยคุณสมบัติของปูนเปลือยนั้นไม่เหมือนกระเบื้อง ทำให้เกิดตะไคร่น้ำได้ง่ายกว่าจึงต้อง หมั่นทำความสะอาดและดูแลรักษาให้แห้งอยู่เสมอในจุดที่เกิดตะไคร่น้ำ ให้ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำบนพื้นผิวปูนเปลือยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกทิ้งไว้ให้แห้ง

7.  การทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์

7.1  อ่างล้างหน้า ใช้ฟองน้ำเช็ดถูแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอาจจะใช้น้ำยาทำความสะอาดผสมน้ำในอัตราส่วนที่แนะนำในฉลาก นำมาขัดล้างอ่างล้างหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด

7.2  หัวก๊อกน้ำต่างๆ ส่วนมากจะทำด้วยโครเมียม ควรเช็ดน้ำให้แห้งใช้ผ้าชุบน้ำยาขัดถูให้เงางาม

7.3  ราวพาดผ้า ใช้ผ้าชุบน้ำยาขัดทำความสะอาด

7.4  โถสุขภัณฑ์ใช้แปรงขนอ่อนชุบน้ำยาล้างโถสุขภัณฑ์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ขัดเบาๆ จนคราบสกปรกออกหมดแล้ว ด้วยน้ำสะอาด

    8.  ประเภทเครื่องใช้ในห้องน้ำ   

8.1  เครื่องใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น สบู่ล้างมือ ผ้าเช็ดมือ กระดาษชำระ พรหมเช็ดเท้า

8.2  เครื่องใช้ในการทำความสะอาดห้องน้ำ เช่น น้ำยาล้างโถสุขภัณฑ์ น้ำยาเช็ดถูพื้น

9.  การจัดวางเครื่องใช้ในห้องน้ำ

9.1  เครื่องใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย

-  สบู่ ยาสระผม ควรจัดวางไว้ตรงบริเวณอ่างอาบน้ำหรือใกล้กับฝักบัวเพื่อความสะดวกในการหยิบใช้

-  แปรงสีฟัน  ยาสีฟันควรจัดวางไว้บริเวณอ่างล้างหน้าด้านใดด้านหนึ่งเพื่อสะดวกในการหยิบใช้และมองดูสวยงาม

9.2  เครื่องใช้ในการทำความสะอาดห้องน้ำ

-  การจัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดห้องน้ำ ควรล้างให้สะอาดผึ้งให้แห้งก่อนนำไปเก็บในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ดี ส่วนน้ำยาและผงขัดควรปิดฝาให้สนิทและเก็บในที่เย็นไม่มีแสงแดด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์

3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ