หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --ZZZ-1-002ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะในการทำความสะอาดเพดาน ผนัง ประตู หน้าต่างและพื้นภายในอาคารได้ขั้นพื้นฐาน สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคารในขั้นพื้นฐานได้ สามารถทำความสะอาดได้จำกัด โดยมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10121 เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร 1. สำรวจส่วนต่างๆ ภายในอาคารที่จะทำความสะอาด 10121.01 134928
10121 เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร 2. จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร 10121.02 134929
10121 เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร 3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคารได้เหมาะสม 10121.03 134930
10122 ทำความสะอาดส่วนต่างๆภายในอาคาร 1. เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร 10122.01 134931
10122 ทำความสะอาดส่วนต่างๆภายในอาคาร 2. ทำความสะอาดส่วนต่างๆภายในอาคารได้ถูกต้องตามขั้นตอน 10122.02 134932
10123 ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร 1. ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร 10123.01 134933
10123 ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร 2. จัดเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร 10123.02 134934

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  มีทักษะในการเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

2.  มีทักษะในการทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร

3.  มีทักษะในการจัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  มีความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร

2.  มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร)

2.  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคารได้เหมาะสม)

3.  แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดส่วนต่างๆภายในอาคารได้เหมาะสม)

4.  แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ทำความสะอาดส่วนต่างๆภายในอาคารได้ถูกต้องตามขั้นตอน)

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.  แบบสัมภาษณ์ (ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดส่วนต่างๆภายในอาคารได้เหมาะสม)

2.  แบบสัมภาษณ์ (จัดเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนต่างๆภายในอาคารได้ถูกต้อง)

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง)  วิธีการประเมิน

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์

3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ

N/A

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1.  ส่วนต่างๆ ที่ต้องทำความสะอาดภายในอาคาร  ประกอบด้วย  เพดาน ฝาผนัง หน้าต่าง ประตู พื้น

2.  วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร

2.1  เพดาน ได้แก่ ไม้กวาดหยากไย่ชนิดมีด้าม ผ้าปิดปากจมูก ถังขยะ ที่ตักผง

2.2  ฝาผนัง ได้แก่  ไม้กวาดขนไก่  แปรง ผ้า ฟองน้ำ

2.3  หน้าต่าง ประตู  ได้แก่ ไม้กวาดขนไก่ ผ้า ฟองน้ำ  แปรงพลาสติก น้ำยาเช็ดกระจก     

2.4  พื้น  ได้แก่ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้ถูพื้น  ไม้กวาดทางมะพร้าว  แปรงกาบมะพร้าว น้ำยาขัดพื้น

2.5  เครื่องดูดฝุ่นใช้แทนไม้กวาดเกือบทุกประเภท โดยเลือกใช้หัวเครื่องดูดฝุ่นให้เหมาะสม

3.  การทำความสะอาดเพดาน

3.1  ก่อนกวาดเพดาน ควรปิดปากจมูกด้วยผ้า เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าจมูก

3.2  กวาดเพดาน ใช้ไม้ปัดหยากใย้จากด้านบนสู่ด้านล่าง จากด้านในสู่ด้านนอก ถ้ามีหยากไย่ใช้ไม้กวาดหยากไย่กวาด

3.3  กวาดพื้นด้วยไม้กวาดดอกหญ้าจากด้านในสู่ด้านนอก เพื่อเก็บเศษผงที่ลงสู่พื้น ใช้ที่ตักผงตักใส่ถังขยะ

4.  การทำความสะอาดฝาผนัง

4.1  กวาดด้วยไม้ปัดขนไก่

4.2  ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดๆ เช็ดให้ทั่ว ถ้าเป็นฝาผนังซีเมนต์ขัดเรียบ กระเบื้องเคลือบใช้ฟองน้ำเช็ดด้วยน้ำยาขัดหรือผงซักฟอก เช็ดให้สะอาดอีกครั้งด้วยน้ำสะอาด

5.  การทำความสะอาดประตู หน้าต่าง

5.1  ปัดฝุ่นด้วยไม้กวาดขนไก่

5.2  ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด เช็ดให้ทั่ว ถ้าเป็นประตู หน้าต่างกระจก ใช้น้ำยาเช็ดกระจก แล้วเช็ดด้วยผ้าแห้ง

5.3  ถ้าประตู หน้าต่างมีมุ้งลวดให้ถอดมุ้งลวดออกแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำผสมผงซักฟอกขัดด้วยแปรงพลาสติก

6.  การทำความสะอาดพื้น

6.1  พื้นไม้ กวาดด้วยไม้กวาดดอกหญ้าหรือไม้ม็อบดันฝุ่นให้สะอาด แล้วถูด้วยไม้ถูพื้นที่ชุบน้ำบิดหมาดๆ

6.2  พื้นกระเบื้อง กวาดด้วยไม้กวาดดอกหญ้าหรือไม้ม็อบดันฝุ่นให้สะอาด แล้วถูด้วยไม้ถูพื้นที่ชุบน้ำบิดหมาดๆ ถ้าพื้นสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือผงซักฟอกและทำความสะอาดเฉพาะที่สกปรก ไม่ควรใช้น้ำยาราดโดยตรงบนพื้นกระเบื้อง เพราะจะทำให้ส่วนที่เคลือบไว้หลุดออกมา

6.3  พื้นหินขัด พื้นซีเมนต์ขัดเรียบ กวาดด้วยไม้กวาดดอกหญ้าหรือไม้ม็อบดันฝุ่นให้สะอาด แล้วถูด้วยไม้ถูพื้นที่ชุบน้ำบิดหมาดๆ ถ้าพื้นสกปรกมากควรล้างด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือผงซักฟอก แล้วใช้แปรงไนลอนขัดถูและกวาด ให้สะอาดด้วยไม้กวาดทางมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง

6.4  พื้นกระเบื้องยางหรือเสื่อน้ำมัน ถ้าสกปรกมากควรขัดถูด้วยน้ำผสมผงซักฟอก แล้วใช้ผ้าซับน้ำผงซักฟอก ควรระวังไม่ให้พื้นกระเบื้องถูกน้ำมากเพราะจะทำให้กระเบื้องร่อนและหลุดจากพื้น

7.  หลักการปัดกวาด

7.1  กวาดจากที่สูงมาหาที่ต่ำคือกวาดจากเพดาน ฝาผนัง หลังตู้ แล้วจึงกวาดพื้น เพราะถ้ากวาดจากที่ต่ำ ก่อนเมื่อกวาดที่สูงกว่าจะทำให้ฝุ่นผงตกสู่พื้น ต้องเสียเวลากวาดใหม่

7.2  เมื่อทำการกวาดต้องกวาดไปข้างหน้า โดยกวาดฝุ่นผงไปกองไว้ในที่เดียวกันแล้วจึงตักเศษผงทิ้ง ถ้าเป็นที่กว้างให้กวาดไปเป็นแถบ รวมฝุ่นผงเป็นหย่อมๆ แล้วโกยใส่ที่ตักผง

7.3  กวาดจากด้านในออกด้านนอกและขณะกวาดไม่ควรยกปลายไม้กวาดสูงเกินไป จะทำให้ฝุ่นกระจาย

7.4  ขณะทำการกวาด เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าจมูก เข้าปาก ผู้กวาดควรอยู่เหนือทิศทางลม

7.5  ถ้าบริเวณที่มีฝุ่นหนามาก เมื่อทำการกวาดควรใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นแทนไม้กวาด  เพราะว่าการดูดฝุ่นจะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายน้อยกว่าการกวาด

8.  หลักการเช็ดถู

8.1  ก่อนการเช็ดถูพื้น ควรปัดกวาดเศษผง ฝุ่นออกให้หมด

8.2  เช็ดถูบริเวณที่อยู่สูงก่อนการเช็ดถูส่วนที่อยู่ต่ำ เช่น เช็ดถูหลังตู้ก่อนตัวตู้ เช็ดถูตู้ก่อนเช็ดโต๊ะ เช็ดโต๊ะก่อนเช็ดพื้น

8.3   ถูจากส่วนหน้าเข้าหาตัว โดยถูถอยหลัง เพื่อป้องกันรอยด่างจากการเหยียบพื้นที่ถูแล้วและยังไม่แห้ง

8.4  ใช้ผ้าที่ซับน้ำได้ดีและไม่มีละออง เช่น ผ้าขนหนู ผ้าฝ้าย ขณะถูต้องหมั่นซักผ้าบ่อยๆ

9.  การดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดส่วนต่างๆ ภายในอาคาร

9.1  ไม้กวาดขนไก่หลังจากใช้เสร็จแล้ว ต้องสะบัดฝุ่นออกให้หมด แล้วแขวนไว้ในที่เหมาะสม ไม่เกะกะ หรือมองดูรกรุงรังและไม่เปียกชื้น

9.2  ไม้กวาดดอกหญ้า  ควรทำที่แขวนโดยแขวนให้สูงกว่าพื้นเล็กเล็กน้อย จะทำให้ปลายไม้กวาดไม่หักงอ ทำให้ไม่เสียรูปทรง เวลากวาดจะกวาดได้สะดวก

9.3  ไม้กวาดหยากไย่ เมื่อใช้เสร็จแล้วควรดึงหยากไย่ที่ติดอยู่กับไม้กวาดออกให้หมดและนำไปเก็บโดยตั้งพิงไว้กับฝาผนัง ให้ปลายไม้ด้านที่กวาดอยู่ด้านบน

9.4  เครื่องดูดฝุ่น ควรทำความสะอาดตามคู่มือการใช้อย่างเคร่งครัด เพื่อจะช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานที่สุด

9.5  ฟองน้ำหลังใช้แล้วต้องล้างให้สะอาด บีบน้ำออกและผึ่งให้แห้ง

9.6  แปรงไนล่อน  เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องใช้น้ำฉีดล้างให้สะอาดแล้วแขวนตากไว้

9.7  ผ้าถูพื้นชนิดต่างๆ  ต้องซักให้สะอาด สะบัดหรือบีบไล่เศษผงออกให้หมด แขวนไว้โดยให้ปลายเหนือจากพื้นเล็กน้อย เพื่อให้แห้งและไม่วางหรือแขวนตากฝน เพราะจะทำให้ด้ามเป็นสนิมและผุกกร่อนได้ง่าย              

10.  การดูแลรักษาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร  

10.1  สารซักฟอก หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้งและให้พ้นมือเด็ก

10.2  น้ำยาล้างจาน หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท วางในที่หยิบใช้ได้สะดวก

10.3  น้ำยาขัดและผงขัด หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท วางในที่หยิบใช้ได้สะดวกแต่ให้พ้นมือเด็ก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์

3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ