หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือกใช้ ดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดภายในอาคาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ --ZZZ-1-001ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือกใช้ ดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดภายในอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพแม่บ้าน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ ใช้ทักษะในการทำความสะอาดภายในบ้านและมีความรู้ในการเลือกใช้ ดูแลรักษา จัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในบ้านได้ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้จำกัด โดยมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพแม่บ้าน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10111 แยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดภายในอาคาร 1. แบ่งลักษณะงานทำความสะอาด ภายในบ้าน 10111.01 134918
10111 แยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดภายในอาคาร 2. บอกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์และ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในบ้าน 10111.02 134919
10111 แยกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดภายในอาคาร 3. อธิบายลักษณะการใช้งานของวัสดุ- อุปกรณ์แต่ละประเภท 10111.03 134920
10112 ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดภายในอาคาร 1. เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ใน การทำความสะอาดภายในอาคาร 10112.01 134921
10112 ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดภายในอาคาร 2. ใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดภายในบ้าน 10112.02 134922
10113 ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดภายในอาคาร 1. ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดภายในบ้านได้ถูกต้อง 10113.01 134923
10113 ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ ทำความสะอาดภายในอาคาร 2. จัดเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในบ้านได้ถูกต้อง 10113.02 134924
10114 มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำความสะอาดภายในอาคาร 1. เตรียมความพร้อมก่อนการทำความสะอาดภายในอาคาร 10114.01 134925
10114 มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำความสะอาดภายในอาคาร 2. ใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ด้วยความระมัดระวัง 10114.02 134926
10114 มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำความสะอาดภายในอาคาร 3. ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคารตามคำแนะนำที่ติดมากับผลิตภัณฑ์ 10114.03 134927

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

(ก)  ความรู้ก่อนหน้าที่จำเป็น  (Pre-requisite Knowledge)

N/A             

(ข)  ทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น  (Pre-requisite Skill)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  ทักษะการเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายในอาคาร

2.  ทักษะการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร

3.  ทักษะการจัดเก็บวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร

2.  ความรู้เกี่ยวกับการความปลอดภัยในการใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (อธิบายลักษณะการใช้งานของวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดแต่ละ ประเภทได้)

2. แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคารได้ถูกต้อง)

3. แบบทดสอบการปฏิบัติงาน (ใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคารได้ถูกต้อง)

4. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (ใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ด้วยความระมัดระวัง)

5. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคารตามคำแนะนำที่ติดมากับผลิตภัณฑ์)

6. แบบสังเกตการปฏิบัติงาน (เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคารได้ถูกต้อง)

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์ (แบ่งลักษณะงานทำความสะอาดภายในอาคารได้ถูกต้อง)

2. แบบสัมภาษณ์ (บอกประเภทวัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดภายในอาคารได้)

3. แบบสัมภาษณ์ (ดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ทำความสะอาดภายในอาคารได้ถูกต้องเหมาะสม)

4. แบบสังเกต (เตรียมความพร้อมก่อนการทำความสะอาดภายในอาคาร)

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง)  วิธีการประเมิน

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์

3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.  ลักษณะงานทำความสะอาดภายในอาคาร ได้แก่ การปัดกวาด การเช็ดถู การขัด

2.  ประเภทของวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำความสะอาดภายในอาคาร

2.1  อุปกรณ์สำหรับปัดและกวาด ได้แก่ ไม้กวาดขนไก่ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดเสี้ยนตาลหรือ  ไม้กวาดหยากไย่ และเครื่องดูดฝุ่น

2.2  อุปกรณ์สำหรับขัด  ได้แก่ แผ่นขัด แปรงพลาสติก แปรงไนลอน แปรงกาบมะพร้าว แปรงทองเหลือง

2.3  อุปกรณ์สำหรับเช็ดถู ประเภทเช็ดถูได้แก่ ผ้าถูพื้น ฟองน้ำ  ไม้ถูพื้นถังน้ำ และกะละมัง

3.  ลักษณะการใช้งาน

3.1  ไม้กวาดขนไก่ ใช้สำหรับปัดฝุ่นตามชั้นวางของ หลังตู้หรือตามเฟอร์นิเจอร์ โดยต้องใช้ในบริเวณที่แห้งเท่านั้น

3.2  ไม้กวาดดอกหญ้า ใช้สำหรับกวาดพื้นที่แห้งและเรียบ เช่น พื้นไม้ พื้นซีเมนต์ขัดเรียบ พื้นหินขัด พื้นกระเบื้อง  

3.3  ไม้กวาดเสี้ยนตาล ชนิดที่มีด้ามยาว หรือไม้กวาดหยากไย่ ใช้กวาดที่สูง ใช้สำหรับกวาดหยากไย่บนเพดานหรือกวาดบริเวณที่อยู่ไกลและเอื้อมไม่ถึง

3.4  เครื่องดูดฝุ่น ใช้แทนไม้กวาดเกือบทุกประเภท โดยเลือกใช้หัวเครื่องดูดฝุ่นให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นผิวที่จะทำความสะอาด

3.5  แผ่นขัด ใช้ขัดถูคราบสกปรกที่พื้นกระเบื้อง  เครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ ใช้ร่วมกับน้ำยาขัดหรือผงขัด

3.6  แปรงพลาสติก ชนิดมีด้ามใช้ขัดโถส้วมหรือขัดอื่นๆ ชนิดด้ามสั้นใช้ทำความสะอาดของใช้ที่ทำด้วยผ้าหรืออื่นๆ

3.7  แปรงไนลอนใช้ปัดฝุ่นละอองบนเสื้อผ้า หรือเครื่องใช้ที่ทำจากหนัง เช่น กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น

3.8  แปรงกาบมะพร้าว ใช้ขัดมุ้งลวด พื้นไม้  พื้นกระเบื้อง  พื้นซีเมนต์ที่ไม่ต้องการให้เห็นรอยขัดถู

3.9  แปรงทองเหลืองใช้ขัดพื้นไม้ พื้นซีเมนต์หรือพื้นที่สกปรก

3.10  ผ้าถูพื้นใช้เช็ดถูอาคารหรือเครื่องเรือนต่างๆ

3.11  ฟองน้ำ  ใช้ซับน้ำออกจากเครื่องใช้หรือเช็ดถูคราบสกปรก

3.12  ไม้ถูพื้น ใช้ถูพื้นต่างๆ ภายในอาคาร

3.13   ถังน้ำและกะละมังใช้ใส่น้ำเพื่อซักล้างและทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ

4.  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร ได้แก่ สารซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาขัดและผงขัด

4.1  สารซักฟอก ใช้งานตามที่ระบุในฉลาก เช่น ใช้ทำความสะอาด ซักล้างทั่วไป

4.2  น้ำยาล้างจาน  ก่อนใช้ควรศึกษาฉลากและพิจารณาถึงส่วนผสมและคุณสมบัติให้เหมาะสม                                            

4.3  น้ำยาขัดและผงขัด ใช้ทำความสะอาดพื้น ขัดภาชนะตามที่ระบุไว้ในฉลาก

5.  หลักการใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดอาคาร   

5.1  ต้องปลอดภัยในการทำงาน

5.2  ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่าย พลังงานไฟฟ้า และน้ำ

5.3  มีขั้นตอนการใช้งานและบำรุงรักษาง่าย ไม่ซับซ้อน

5.4  มีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน

5.5  ทำจากวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

6.  การดูแลรักษาวัสดุ-อุปกรณ์ทำความความสะอาดภายในอาคาร

6.1  ไม้กวาดขนไก่ หลังจากใช้เสร็จแล้ว ต้องสะบัดฝุ่นออกให้หมด แล้วแขวนไว้ในที่เหมาะสม                                               

6.2  ไม้กวาดดอกหญ้า  ควรทำที่แขวนโดยแขวนให้สูงกว่าพื้นเล็กน้อย ทำให้ปลายไม้กวาดไม่หักงอ                                        

6.3  ไม้กวาดทางมะพร้าว  ล้างให้สะอาด เก็บในที่ร่มและแห้ง โดยการแขวนหรือวางราบกับพื้น วางตั้ง                                     

6.4  ไม้กวาดเสี้ยนตาล ควรดึงหยาบไย่ที่ติดอยู่ออกให้หมด เก็บโดยตั้งพิงกับผนัง ให้ปลายอยู่ด้านบน                              

6.5  เครื่องดูดฝุ่น ควรทำความสะอาดตามคู่มือการใช้อุปกรณ์เพื่อจะช่วยยืดอายุการใช้งาน                         

6.6  แผ่นขัด ฟองน้ำหลังใช้แล้วต้องล้างให้สะอาดบีบน้ำออกและผึ่งให้แห้ง    

6.7  ผ้าถูพื้นชนิดต่างๆ ต้องซักให้สะอาด สะบัดหรือบีบไล่เศษผงออกให้หมดแขวนไว้โดยให้ปลายเหนือจากพื้น เพื่อให้แห้งและไม่วางหรือแขวนตากฝน เพราะจะทำให้ด้ามเป็นสนิมและผุกกร่อนได้ง่าย

7.  การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร

7.1  สารซักฟอก หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้งและให้พ้นมือเด็ก

7.2  น้ำยาล้างจาน หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท  วางในที่หยิบใช้ได้สะดวกแต่ให้พ้นมือเด็ก                                                                

7.3  น้ำยาขัด ผงขัด  หลังจากการใช้งานปิดฝาให้สนิท  วางในที่หยิบใช้ได้สะดวกแต่ให้พ้นมือเด็ก

8.  เตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติงาน       

8.1  เตรียมความพร้อมร่างกาย

-  สวมเสื้อผ้ามิดชิด รัดกุมสะดวก เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน

-  ใส่อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ได้แก่ เสื้อคลุม ถุงมือยาง หมวกคลุมผม และผ้าปิดจมูกให้เรียบร้อย

-  การป้องกันร่างกาย เช่น สวมถุงมือ รองเท้าบูท สวมหน้ากาก

8.2  เตรียมความพร้อมอุปกรณ์

-  เลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์ที่ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น

-  ขณะปฏิบัติงานต้องใช้วัสดุ-อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง

-  เตรียมถังน้ำและใส่น้ำสะอาด พร้อมผ้าสำหรับการเช็ดทำความสะอาด                    

9.  ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในอาคาร

9.1  ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ให้เหมาะสมกับงานทำความสะอาด

9.2  ขณะปฏิบัติงานควรสวมถุงมือยาง และรองเท้ายาง ภายหลังจากการใช้หรือหยิบจับ

9.3  ระวังอย่าให้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม

9.4  ห้ามทิ้งผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำหรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ำ คูคลอง แหล่งน้ำ

10.  หลักการเลือกและใช้วัสดุ-อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดอาคาร

10.1  ต้องปลอดภัยในการทำงาน

10.2  ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน ค่าใช้จ่าย พลังงานไฟฟ้า และน้ำ

10.3  มีขั้นตอนการใช้งานและบำรุงรักษาง่าย ไม่ซับซ้อน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.  การสังเกตการปฏิบัติงาน

2.  การสัมภาษณ์

3.  การทดสอบการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ