หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แปลตามลักษณะของโครงสร้างไวยากรณ์

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-4-016ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แปลตามลักษณะของโครงสร้างไวยากรณ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2643  นักแปล ล่าม และนักภาษาศาสตร์อื่นๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถวเคราะห์ลักษณะโครงสร้างไวยากรณ์ และเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ของภาษาทั้งต้นทางและปลายทาง เพื่อใช้ในการแปลงานต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาไทยดีมาก และมีความสนใจด้านงานแปล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20203.01 วิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างไวยากรณ์ 1.1 อ่านงานต้นฉบับให้ละเอียดรอบคอบ 20203.01.01 17556
20203.01 วิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างไวยากรณ์ 1.2 วิเคราะห์โครงสร้างไวยากรณ์ของภาษาต้นฉบับอย่างถูกต้องครบถ้วน 20203.01.02 17557
20203.01 วิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างไวยากรณ์

1.3 แปลและเรียบเรียงจากภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล

20203.01.03 178884
20203.02 วิเคราะห์เครื่องหมายวรรคตอน (Punctuations) 2.1 อ่านวิเคราะห์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ของภาษาต้นฉบับอย่างถูกต้องละเอียดรอบคอบ 20203.02.01 17558
20203.02 วิเคราะห์เครื่องหมายวรรคตอน (Punctuations) 2.2 แปลงานต้นฉบับให้เป็นภาษาฉบับแปลอย่างถูกต้องและละเอียดรอบคอบตามงานต้นฉบับ 20203.02.02 17559

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. วิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างไวยกรณ์ของภาษาต้นฉบับอย่างถูกต้องและละเอียดรอบรอบ เช่น รูปกาล (Tenses) พจน์ (Parts of speech) เป็นต้น

    2. สามารถวิเคราะห์เครื่องหมายวรรคตอนและการใช้เครื่องหมายของภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปลอย่างละเอียดรอบคอบ

    3. สามารถเขียนถอดความจากภาษาต้นฉบับให้ตรงถูกต้องตามความหมาย และสอดคล้องกับลักษณะภาษาฉบับแปล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. หนังสือ ตำรา เอกสารอ้างอิง เกี่ยวกับโครงสร้างไวยากรณ์ของภาษาต้นฉบับและฉบับแปล

    2. ตำรา หนังสือ เอกสารอ้างอิง ในการสืบค้น เรื่องเครื่องหมายวรรคตอนและการนำไปใช้

    3. ความสามารถในการค้นคว้า เลือกใช้ เพื่อแปลและเรียบเรียงภาษา

    4. ความสามารถในการใช้ทักษะการเรียนเรียงและเขียนจากภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล

    5. ความสามารถในการใช้ทักษะการเขียนจากภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    - ไม่มี -



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบภาคปฏิบัติ ใช้ใบสั่งงานแปลและแบบสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    แปลตามลักษณะไวยากรณ์ ของนักแปลระดับ 4 และ 5 แตกต่างกันที่ความซับซ้อนของลักษณะงานและเนื้อหาในงานต้นฉบับ ตามลักษณะประเภทของงานแปล ได้แก่

    นักแปลระดับ 4 งานแปลทั่วไป วิเคราะห์ระดับไวยากรณ์ของภาษาต้นฉบับงานภาษาอังกฤษที่ต้องการแปลอย่างละเอียดถูกต้อง และถ่ายทอดตามลักษณะไวยากรณ์ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

    นักแปลระดับ 5 งานแปลสารคดี วิเคราะห์ระดับไวยากรณ์ของภาษาต้นฉบับงานภาษาอังกฤษที่ต้องการแปลอย่างละเอียดถูกต้อง และถ่ายทอดตามลักษณะไวยากรณ์ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และต้องคำนึงถึงความเข้าใจในบริบทของคำเฉพาะทางที่สามารถเข้าใจได้ สื่อความเป็นภาษาไทยให้ตรงกับความของภาษาต้นฉบับงานแปลบันเทิงคดี วิเคราะห์ระดับไวยากรณ์ของภาษาต้นฉบับงานภาษาอังกฤษที่ต้องการแปลอย่างละเอียดถูกต้อง และถ่ายทอดตามลักษณะไวยากรณ์ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และต้องคำนึงถึงความเข้าใจในบริบททางวัฒนธรรม ยุคสมัย กาละ เทศะ สิ่งแวดล้อม สถานที่ สถานการณ์ คำเรียกขานสรรพนาม ที่เข้าใจได้ สื่อความเป็นภาษาไทยให้ตรงกับความของภาษาต้นฉบับ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

1) ใบสั่งงานแปล

2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน  



ยินดีต้อนรับ